ภัย "เสียงดัง" ร้ายกว่าที่คุณเคยคิด..

“ทุกวันนี้จะมีเสียงประสานของจักจั่นเรไรหลายพันตัวดังระงมในหูของฉันตลอดวันตลอดคืน” แต่ทราบไหม อันตรายจากเสียงดัง มีภัยร้ายซ่อนอยู่มากกว่าที่คิด http://winne.ws/n18990

2.3 พัน ผู้เข้าชม
ภัย "เสียงดัง" ร้ายกว่าที่คุณเคยคิด..ขอบคุณจาก : BlogGang.com

“ทุกวันนี้จะมีเสียงประสานของจักจั่นเรไรหลายพันตัวดังระงมในหูของฉันตลอดวันตลอดคืน” แต่ทราบไหม อันตรายจากเสียงดัง มีภัยร้ายซ่อนอยู่มากกว่าที่คิด

หากฟังเผินๆ คุณอาจนึกถึงความสุขสงบท่ามกลางธรรมชาติของพื้นป่าสีเขียวแต่สำหรับ คุณปานชลี สถิรศาสตร์ ศิลปินเซรามิก ผู้ก่อตั้ง ชมรมหรี่เสียงกรุงเทพฯ เสียงเหล่านี้กลับสร้างความทุกข์ทรมานให้เธอเป็นอย่างมาก

เรามาค้นหาคำตอบเรื่องนี้พร้อมๆ กันค่ะเสียงดังใช่ว่าจะเสียงดี

มลพิษจากเสียงรอบตัวเราอาจเป็นเรื่องใกล้ๆ ตัวที่หลายคนมักมองข้ามรวมถึงคุณปานชลี

“เมื่อหลายปีก่อน บ้านใกล้ๆ พากันซ่อมแซมต่อเติมบ้าน เสียงตัดเหล็ก เจาะพื้นและผนังรอบด้าน เป็นเสียงที่ได้ยินแล้วทั้งปวดหูและปวดหัวมาก แม้จะปิดหน้าต่างและเปิดเครื่องปรับอากาศ เสียงก็ยังดังมาก

“พอดีเป็นช่วงที่ต้องเร่งทำงานปั้นเพื่อจัดนิทรรศการ จึงหนีไปไหนไม่ได้เพราะต้องทำงานอยู่ที่บ้านทั้งวัน แถมเสียงเจาะพื้นผนังเป็นเสียงสั่นสะเทือนที่เดินทางเข้าสมองมาโดยผ่านกะโหลกศีรษะ ไม่มีเทคโนโลยีอะไรที่ป้องกันได้

“อยู่มาคืนหนึ่งก็มีอาการหูดับ คือไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เหมือนตกลงไปในหลุมดำ ดิ่งลงไปในเหว อยู่ในถ้ำมืดที่ไม่มีอากาศหายใจ และรู้สึกหายใจไม่ออก คล้ายกับคนใกล้ตาย เป็นภาวะที่น่ากลัวและทรมานมาก

“สักพักก็มีเสียงดังวิ้งๆ ในหู ทีแรกเหมือนจิ้งหรีดร้องในหูตลอดเวลา เป็นกลางดึกจึงไม่ได้ไปหาหมอทันที คิดว่าจะใช้วิธีนั่งสมาธิเยียวยาตัวเอง ตอนนั้นยังไม่มีความรู้เรื่องหูอึง ว่าถ้าเกิดอาการเช่นนี้ต้องรีบไปหาหมอทันทีภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง

“ยิ่งตอนเข้านอน เสียงรบกวนในหูก็จะดังมากขึ้น ถึงแม้จะง่วงนอนมากแต่นอนไม่ได้ ทั้งๆ ที่เคยเป็นคนหลับง่ายเสียงในหูดังขึ้นทุกวัน และกลายเป็นเสียงจักจั่นมาเป็นกองทัพ บางวันก็เหมือนเสียงกลอง นอนไม่หลับอยู่สองอาทิตย์” คุณปานชลีสาธยายสารพัดอาการที่เกิดขึ้นให้ฟัง

ภัย "เสียงดัง" ร้ายกว่าที่คุณเคยคิด..ขอบคุณจาก : sciencedaily.com

เสียงร้ายทำลายสุขภาพ

เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติมากขึ้นมีอาการทนเสียงดังๆ แทบไม่ได้ แม้แต่เสียงปิดเปิดประตูดังๆ หรือเสียงสุนัขเห่าก็รบกวนเธอมาก เธอจึงไปพบคุณหมอซึ่งตรวจพบว่าเธอป่วยด้วย “โรคประสาทหูเสื่อมและมีเสียงกริ่งในหู” หรือ “หูอึง”

คุณหมออธิบายกับเธอว่า หูอึง เป็นอาการได้ยินเสียงรบกวนในหูผิดปกติซึ่งมีอาการแตกต่างกันกว่าสองพันชนิดเช่น เสียงจิ้งหรีด เสียงจักจั่น เสียงระฆัง เสียงลม กระทั่งดังมากเหมือนเสียงกลอง เป็นต้น เสียงดังในหูอาจเป็นตลอดเวลา ซึ่งสร้างความรำคาญและรบกวนอย่างมาก จนผู้ป่วยบางรายนอน

ไม่หลับหรือป่วยเป็นโรคประสาทได้เช่นเดียวกับอาการที่เกิดขึ้นกับเธอ

นอกจากนี้ คุณหมอเสริมต่อว่าเสียงที่ดังมากเกินไปยัง ส่งผลกระทบต่อระบบการได้ยินอื่นๆ ได้แก่ หูตึงหมายถึงการได้ยินไม่ชัดหรือสมรรถภาพการได้ยินลดลง จนถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน เราอาจแบ่งระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินเป็นหูตึงน้อยหูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรงและหูหนวก โดยใช้หน่วยวัดมาตรฐานที่เรียกว่า เดซิเบล เป็นตัวกำหนด

คนปกติจะมีระดับการได้ยินไม่เกิน 25 เดซิเบล ผู้ที่มีปัญหาหูตึงจะมีค่าระดับเสียงที่เริ่มได้ยินเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ และคนหูหนวกจะมีระดับการได้ยินที่มากกว่า 90 เดซิเบล

เวียนหัว เกิดจากความผิดปกติของระบบการทรงตัว ซึ่งเป็นการทำงานของหูชั้นในร่วมกับการทำงานของระบบประสาทและสมอง ถ้าหากได้ยินเสียงดังมากๆ ก็อาจกระทบกระเทือนอวัยวะควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน ทำให้เราเวียนหัวทรงตัวไม่อยู่ บ้านหมุน หรือคลื่นไส้ได้ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นกับคุณปานชลี

คุณปานชลีเล่าถึงฝันร้ายของเธอต่อว่า “นอกจากจะเดินไม่ตรงทาง กะระยะไม่ถูกจนเดินชนโต๊ะเก้าอี้ทั้งวันแล้วยังทนเสียงทุ้มของกลองและเบสไม่ได้เลย เพราะรู้สึกว่ามีแรงกระแทกที่หน้าอก ทำให้เจ็บหัวใจจนน้ำตาร่วง ต้องเที่ยวขอให้คนที่เปิดเพลงเผื่อแผ่ให้คนอื่นช่วยหรี่เสียงลงเสมอ ที่สำคัญ ไม่สามารถเข้าโรงหนังและร้านอาหารที่เปิดเพลงดัง จนต้องงดเดินศูนย์การค้าและต้องใช้ปลั๊กอุดหูหรือเอียร์ปลั๊กตลอดเวลาที่อยู่นอกบ้าน”

คุณปานชลีเคยมีประสบการณ์เลวร้ายจากอาการนอนไม่ได้ติดกันหลายคืนเพราะฟังเสียงดนตรีกระหึ่มจากเทศกาลเฉลิมฉลองใกล้บ้าน?จนมีอาการคลุ้มคลั่งและต้องเข้าบำบัดรักษาโรคประสาทอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 3 ปีแล้วและยังต้องกินยาปรับสารสื่อสมองไตลอดชีวิต

เหมือนเช่นที่คุณหมออธิบายกับเธอในวันนั้นว่า “อันตรายของเสียงยัง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไปและจิตใจ ได้แก่ทำให้มีอาการปวดศีรษะ หงุดหงิด ไม่สบายใจ เกิดความเครียด และอาจเป็นโรคประสาทได้”      อาการทางประสาทที่เธอเคยเป็นคือบุคลิกภาพเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เธอบอกว่า “จากคนที่มีความสุขมากกลายเป็นมีอาการซึมเศร้า หวาดกลัวเสียงดังสมองเหมือนหัวผักกาด มีอาการเหมือนเด็กเล็กๆ ที่ช่วยตัวเองไม่ได้แม้แต่การกินอาหารและติดกระดุมเสื้อผ้า ไม่สามารถเขียนหนังสือได้จบประโยคสูญเสียทักษะในการสื่อสาร ฟังอะไรไม่เข้าใจ และสูญเสียความทรงจำระยะหนึ่ง

“เป็นอาการที่จิตแพทย์อธิบายว่าสารสื่อประสาทลัดวงจรจากความเครียดและกว่าจะพบจิตแพทย์ที่มีความเข้าใจโรค รวมถึงใช้ยาที่เหมาะกับอาการ ก็ต้องทุกข์ทรมานอยู่นานหลายเดือน”

นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ยังมีผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายเช่น โรคกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจบางชนิด?และทำให้ชีพจรเต้นเร็ว

อีกทั้ง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เสียงที่ดังมากๆ จะรบกวนการทำงานและทำให้เสียสมาธิ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ และยังลดประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เราคงไม่ต้องรอให้เกิดฝันร้ายเช่นเดียวกับคุณปานชลีขึ้นกับใครอีกต่อไป เพราะผลกระทบจากพิษภัยเสียงดังที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นเรื่องที่เราสามารถป้องกันได้

ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก : http://www.goodlifeupdate.com/63659/healthy-body/loud/

แชร์