หัวใจของพระพุทธศาสนา คืออะไร

ร็อบ : ผมแปลกใจว่า ทำไมพระพุทธศาสนาจึงเริ่มด้วยทุกข์ ดูออกจะมองโลกในแง่ร้าย! ทิม : ถ้าผมเจ็บหนัก แล้วพูดกับคุณว่า "โอ ทำไมผมต้องเผชิญภัยความทุกข์" เช่นนี้ คุณจะคิดว่าผมมองโลกในแง่ร้ายไหมครับ หรือผมพูดความจริง... http://winne.ws/n19107

2.4 พัน ผู้เข้าชม
หัวใจของพระพุทธศาสนา คืออะไรแหล่งภาพจาก YouTube

หัวใจของพระพุทธศาสนาคืออะไร

ทิม : ร็อบ อ่านหนังสือพวกนี้หมดแล้วหรือครับ

ร็อบ : จบแล้วครับ ผมเอามาคืนคุณเพื่อจะได้ยืมเล่มใหม่

ทิม : ตกลงครับ เลือกเอาตามสบาย

ร็อบ : ทิม หัวใจพระพุทธศาสนาคืออะไรครับ ผมแปลกใจที่ไม่ได้พบการกล่าวถึงหมวดธรรมที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนาในหนังสือธรรมะพวกนี้เลย

ทิม : อันที่จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสว่า ธรรมะหมวดไหนเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นธรรมะหลายเรื่อง เช่นอริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท โอวาทปาฏิโมกข์ ความไม่ประมาท จึงได้รับการยกย่องจากนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาให้เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า เพราะเหตุที่พวกเราไม่เข้าใจอริยสัจ 4 จึงทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารเป็นเวลาเนิ่นนาน นอกจากนี้ในปฐมเทศนานี้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของอริยสัจ 4 ทั้งยังปรากฏว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เคยตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนี้อีกเลย นอกจากตรัสขยายความโดยละเอียดในหลายรูปแบบ

หัวใจของพระพุทธศาสนา คืออะไร

ร็อบ : คุณเลยคิดว่า อริยสัจ 4 เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา

ทิม : ถูกแล้วครับ

ร็อบ : อริยสัจ 4 มีอะไรบ้างครับ

ทิม : อริยสัจ 4 ประกอบด้วย ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีดับทุกข์ 

ร็อบ : ผมแปลกใจว่า ทำไมพระพุทธศาสนาจึงเริ่มด้วยทุกข์ ดูออกจะมองโลกในแง่ร้าย!

ทิม : ถ้าผมเจ็บหนัก แล้วพูดกับคุณว่า "โอ ทำไมผมต้องเผชิญภัยความทุกข์" เช่นนี้ คุณจะคิดว่าผมมองโลกในแง่ร้ายไหมครับ 

ร็อบ : ไม่เลยครับ คุณพูดความจริง ความเจ็บไข้ก่อให้เกิดควาทุกข์หนักหนา

ทิม : ใครจะสามารถหลีกเลี่ยงความเจ็บไข้ได้บ้าง ใครจะสามารถหลีกเลี่ยงความชราได้บ้าง ใครจะสามารถหลีกเลี่ยงความเศร้าโศกและความตายได้บ้าง ไม่มีเลย ไม่มีใครหลีกเลี่ยงความทุกข์ได้ ด้วยเหตุนี้ ผมอยากจะกล่าวว่าพระพุทธศาสนาไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายหรือแง่ดี แต่มองตามความเป็นจริง!

ร็อบ : จริงครับ ย่ิ่งอยู่ในวัฏสงสารเน่ิ่นนานไปเท่าไร เราก็ย่ิงเผชิญกับทุกข์มากขึ้น

ทิม : อันที่จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงแสดงแต่ความทุกข์ แต่ได้ทรงชี้ด้วยว่า ตัณหาคือต้นเหตุสำคัญแห่งความทุกข์ ท้ายที่สุด พระพุทธองค์ยังได้ตรัสแสดงด้วยว่า จะดับตัณหาได้อย่างไร เมื่อดับตัณหาได้สิ้นเชิงแล้ว ความทุกข์ย่อมดับ ถ้าเราพิจารณาอริยสัจ 4 ให้ดี จะเห็นว่า ประเด็นสำคัญของธรรมะเรื่องนี้คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล อริยสัจข้อ 2 เป็นเหตุของข้อ 1 อริยสัจ ข้อ 4 เป็นเหตุของข้อ 3

ร็อบ : อริยสัจ ข้อ 1 กับ ข้อ 3 เป็นผลของอริยสัจข้อ 2 และข้อ 4 ตามลำดับ

ทิม : ใช่แล้วครับ คุณมองเห็นไหมว่า หัวใจที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาคือเรื่องของเหตุและผล และอยู่ตรงหัวใจของอริยสัจ 4

ร็อบ : ครับ ผมเห็นด้วยกับการวิเคราะห์ของคุณ ขอบคุณมากนะทิม

ทิม : ด้วยความยินดีครับ


แปลและเรียบเรียงโดย อ.สุวณีย์ ศรีโสภา

แชร์