น้ำตา.. บางทีก็ดีเหมือนกัน

การหลั่งน้ำตาเป็นกลไกสำคัยอย่างหนึ่งของร่างกาย มาดูกันว่าบทบาทหน้าที่สำคัญที่แท้จริงของ "น้ำตา" คืออะไร http://winne.ws/n19246

2.4 พัน ผู้เข้าชม
น้ำตา.. บางทีก็ดีเหมือนกันขอขอบคุณภาพประกอบจาก : www.matichon.co.th

การหลั่งน้ำตาเป็นกลไกสำคัยอย่างหนึ่งของร่างกาย มาดูกันว่าบทบาทหน้าที่สำคัญที่แท้จริงของ "น้ำตา" คืออะไร 

หน้าที่สำคัญของน้ำตามีหลายประการ ได้แก่ การเคลือบให้ผิวกระจกตาเรียบ เพื่อให้เป็นพื้นผิวที่เหมาะสำหรับการมองเห็น การขับล้างสิ่งแปลกหลอมจากเยื่อบุตา หรือกระจกตาในกรณีที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอยู่ในตาจะรู้สึกได้ ชัดเจนในช่วงที่มีฝุ่นผงเข้าตา ทำให้เกิดน้ำตาไหลออกมามาก การช่วยหล่อลื่นเปลือกตาเวลาที่มีการกระพริบตา นอกจากนี้ยังช่วยนำออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์ของกระจกตาและยังมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อโรคด้วย เมื่อมีคุณค่ามากมายขนาดนี้ลองมารู้จักน้ำตาเพิ่มขึ้นอีกหน่อยดีกว่า

น้ำตาที่ดูใสใส อย่างนี้ แท้จริงมีส่วนประกอบ 3 ส่วนด้วยกันคือ 

1. ส่วนที่เป็นไขมัน เป็นชั้นที่อยู่ผิวบนสุด ไขมันนี้ได้จากต่อมที่สร้างไขมันเรา เรียกว่า "Meibomian Gland" ชั้นไขมันนี้จะมีหน้าที่ในการป้องกันการระเหยของน้ำตา ทำให้น้ำตาคงอยู่ในตานานขึ้นโดยปกติชั้นนี้จะบางมาก ทำให้ไม่เห็นสีของชั้นไขมันนี้ 

2. ชั้นกลางเป็นชั้นที่เป็นน้ำ ซึ่งสร้างจากต่อมน้ำตาทำหน้าที่ให้อ๊อกซิเจนกับกระจกตา 

3. ชั้นที่อยู่ในสุดติดกับกระจกตา มีลักษณะที่เป็นเมือก(Mucs) ชั้นนี้เป็นส่วนที่สร้างจากเซลล์เยื่อบุของเยื่อบุตา ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นกับกระจกตา 

ทั้ง 3 ส่วนที่ประกอบในน้ำตา มีความสำคัญที่แตกต่างกัน แต่ล้วนทำงานสอดประสานกัน หากขาดชั้นใดชั้นหนึ่งจะทำให้เกิดอาการผิดปกติของตา 

โดยปกติน้ำตาถูกสร้างออกมาอยู่ตลอดเวลา หลายคนอาจคิดว่าน้ำตาสร้างเฉพาะตอนที่เราร้องไห้ น้ำตาที่ออกมามากในช่วงอารมณ์เศร้า หรือเจ็บปวดศรีษะเรียกว่า reflex tear เกิดจาการสั่งของระบบประสาท เมื่อมีการกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม อีกทั้งในกรณีมีฝุ่นผงเข้าตาหรือการอักเสบของเยื่อบุตา แต่โดยปกติคนเราจะมีการสร้างน้ำตาโดยต่อมอยู่บริเวณเยื่อบุตาอยู่แล้ว 

กรณีมีความผิดปกติในการสร้างน้ำตา ทำให้มีการสร้างน้ำตาน้อยกว่าปกติ ได้แก่ ในผู้ป่วยที่ขาดไวตามินเอ ความผิดปกติของเยื่อบุตาที่ทำให้เครียด หรือกระจกตา นอกจากนี้สาเหตุที่ทำให้มีการสร้างน้ำตาน้อยกว่าปกติ คือสาเหตุมาจากความเครียด โดยเฉพาะในสตรีในวัยหมดประจำเดือนผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการตาแดง ซึ่งมีระดับของฮอร์โมนโพรแลกตินลดลงอย่างรุนแรง เนื่องมาจากต่อมน้ำตาหลั่งน้ำตามาหล่อลื่นได้ไม่เพียงพอ ผู้ที่มีอาการเช่นนี้ความสามารถในการหลั่งน้ำตาอาจเสียไปบ้าง ทำให้หลั่งน้ำตาได้ช้า แม้จะเกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ 

และด้วยเหตุผลนี้คนไข้บางรายจึงรักษาอาการตาแห้ง โดยวิธีคิดถึงเรื่องที่สะเทือนอารมณ์ จนน้ำตาไหลออกมา และนี่ก็คงนับได้ว่าเป็นประโยชน์อีกประการหนึ่งของน้ำตาคือ ใช้รักษาโรคทางกายบางโรคได้

ขอขอบคุณข้อมูจาก : 

www.siangtai.com/opticalphuket/article6.htm 

www.learners.in.th/blogs/posts/419529 , http://www.todayhealth.org

แชร์