พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเป็นประธาน ในการประชุมใหญ่เพื่อร่วมทำผ้ากฐิน ในสมัยพุทธกาล

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบจึงพร้อมด้วยพระภิกษุ ๕๐๐ รูป เสด็จไปประทับเป็นประธานในวันนั้น พระอสีติมหาสาวก ก็ไปร่วมประชุมช่วยทำผ้ากฐิน พระมหากัสสปะนั่งอยู่ต้นผ้า พระสารีบุตร นั่งอยู่ท่ามกลางผ้า พระอานนท์นั่งอยู่ปลายผ้า http://winne.ws/n19665

3.8 พัน ผู้เข้าชม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเป็นประธาน ในการประชุมใหญ่เพื่อร่วมทำผ้ากฐิน ในสมัยพุทธกาลขอบคุณภาพจาก baifernhaha.blogspot.com

       เมื่อพระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากตรากตรำของพระภิกษุเหล่านั้น ต่อมาจึงเรียกประชุมสงฆ์และยกเรื่องราวของพระภิกษุทั้ง ๓๐ รูปนั้นเป็นเหตุ แล้วจึงทรงมีพระบรมพุทธานุญาตตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาว่าให้พระภิกษุที่จำพรรษาครบไตรมาส (๓ เดือน) ให้รับผ้ากฐินเสียก่อน ทั้งนี้เพราะว่าแม้ออกพรรษาแล้วก็ตามฝนก็ยังไม่หมดเสียทีเดียว ถ้าไม่มีความจำเป็นมากก็ให้อยู่รับผ้ากฐินเสียก่อนแล้วจึงเดินทางไปยังที่อื่น แล้วทรงกำหนดเวลาอันเป็นเขตของกฐินไว้ว่าตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ สามารถรับผ้ากฐินได้ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือประมาณไม่เกิน ๑ เดือน หลังจากออกพรรษา

      โดยความเป็นจริงแล้วเรื่องผ้ากฐินนั้นเป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์อย่างเดียวในการทำผ้า เมื่อพระภิกษุไปได้ผ้ามาจากที่ต่าง ๆ แล้วนำมารวมกันเย็บให้เป็นผืนเดียวแล้วตกลงกันว่าจะมอบจีวรชุดนี้ให้แก่พระภิกษุรูปใด (ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้นผ้าส่วนใหญ่เป็นผ้าบังสุกุล หรือผ้าที่พิจารณามาจากผ้าห่อศพ ผ้าจึงมีจำนวนน้อยและหายากการจะทำเป็นจีวรจึงทำได้เพียงผืนเดียว) และยอมมอบผ้าที่ทำเป็นจีวรนั้นให้แก่พระภิกษุที่มีผ้าเก่าที่สุดนำไปใช้นุ่งห่ม

       ในธรรมบทภาค ๔ กล่าวว่าในครั้งพุทธกาลมีการประชุมใหญ่ในการทำผ้า เมื่อครั้งพระอนุรุทธะได้ผ้าบังสุกุลมา จะทำจีวรเปลี่ยนผ้าครองสำรับเก่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบจึงพร้อมด้วยพระภิกษุ ๕๐๐ รูป เสด็จไปประทับเป็นประธานในวันนั้น พระอสีติมหาสาวก ก็ไปร่วมประชุมช่วยทำผ้ากฐิน พระมหากัสสปะนั่งอยู่ต้นผ้า พระสารีบุตร นั่งอยู่ท่ามกลางผ้า พระอานนท์นั่งอยู่ปลายผ้า พระภิกษุสงฆ์ช่วยกันกรอด้ายสำหรับเย็บ พระบรมศาสดาทรงสนเข็ม พระโมคคัลลานะเป็นผุ้อุดหนุนกิจการทั้งปวงประชาชนต่างนำสิ่งของไปถวาย เมื่อผ้าทำเสร็จแล้ว จึงมีการประชุมสงฆ์ทำสังฆกรรมเกี่ยวกับผ้ากฐิน ต่อมาด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ของสังคมในอินเดีย มีผู้ศรัทธานำผ้ากฐินมาถวาย แต่ไม่ปรากฏนามว่าผู้ใดเป็นผูู้้ได้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรกที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระบรมพุทธานุญาต

ผ้าที่ควรทำเป็นผ้ากฐินมี ๕ ชนิด คือ

๑. ผ้าใหม่

๒. ผ้าเทียมใหม่

๓. ผ้าเก่า

๔. ผ้าบังสุกุล

๕. ผ้าตกตามร้าน

ไทยธรรมที่ถวายในกฐิน

       ไทยธรรม คือ เครื่องที่เป็นบริขารสำหรับถวายเป็นบริวารของกฐิน ในครั้งพุทธกาลก็มุ่งประโยชน์ทางพระวินัยเป็นหลัก จึงนำแต่ผ้าไปถวายเท่านั้น เมื่อเสร็จแล้วจึงไปจัดการฉลองกาลกฐินในภายหลัง แต่ในปัจจุบัน เป็นที่นิยมกันทั่วไปว่าการทอดถวายกฐินจะต้องมีบริวารบริขารด้วย จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับศรัทธาของผู้ถวาย หรือบางทีก็เป็นปัจจัย เพื่อที่จะได้นำไปก่อสร้างซ่อมแซมทำนุบำรุง ศาสนสถานแก่การใช้ประโยชน์ทางพระพุทธศาสนา

อานิสงส์ของผู้ทอดถวายผ้ากฐิน

- กิติสัทโท เป็นผู้มีชื่อเสียงฟุ้งขจรขจายไปทั่วสารทิศ

- ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา ถวายกำลังแก่สมณะสงฆ์ดำรงพระศาสนา

- ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ตามพระวินัยซึ่งเป็นไปตามพระบรมพุทธานุญาต

- เป็นการรักษาประเพณีที่ดีงามไว้มิให้เสื่อมสูญไป

- เป็นการบูชาพุทธโอวาทของพระบรมศาสดา

- ได้ชื่อว่าบำเพ็ญมหาบุญ

- เป็นปัตตานุโมทนามัย

- ทำทรัพย์และชีวิตให้มีสาระ

- เป็นการสร้างความสามัคคีในระหว่างพุทธบริษัท

- เป็นการสั่งสมทุนคือบุญกุศลไว้ในภายภาคหน้า

- เป็นการสร้างทางไปสวรรค์และนิพพานให้แก่ตนเอง


อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.phuttha.com/คลังความรู้/ความรู้ทั่วไป/กฐิน

ผ้ากฐินพร้อมไทยธรรม-บริวารกฐิน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเป็นประธาน ในการประชุมใหญ่เพื่อร่วมทำผ้ากฐิน ในสมัยพุทธกาลขอบคุณภาพจาก ธรรมจักร

ไทยธรรม-บริวารกฐิน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเป็นประธาน ในการประชุมใหญ่เพื่อร่วมทำผ้ากฐิน ในสมัยพุทธกาลขอบคุณภาพจาก tong9
แชร์