ประวัติข้าวมธุปายาสและการกวนข้าวทิพย์ เป็นมาอย่างไร ?

ก่อนพุทธกาล (๒๖๓๒) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ได้เสด็จออกทรงผนวช ได้เสวยข้าวทิพย์ของนางสาวสุชาดา บุตรีมหาเศรษฐีแห่งบ้านเสนานิคม ก่อนแต่งงานได้ไปบนกับเทวดาที่ต้นไทรว่า ขอให้ได้แต่งงานกับชายที่มีสกุลและฐานะเสมอกัน http://winne.ws/n19676

1.2 หมื่น ผู้เข้าชม
ประวัติข้าวมธุปายาสและการกวนข้าวทิพย์ เป็นมาอย่างไร ?ขอบคุณภาพจาก สำนักข่าวทีนิวส์

ข้าวมธุปายาส (ข้าวสุกหุงด้วยนมโคจืดด้วยน้ำผึ้ง) 

       ก่อนพุทธกาล (๒๖๓๒) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ได้เสด็จออกทรงผนวช ได้เสวยข้าวทิพย์ของนางสาวสุชาดา บุตรีมหาเศรษฐีแห่งบ้านเสนานิคม ก่อนแต่งงานได้ไปบนกับเทวดาที่ต้นไทรว่า ขอให้ได้แต่งงานกับชายที่มีสกุลและฐานะเสมอกันและได้บุตรคนแรกเป็นชาย ต่อมานางก็สมปรารถนา จึงได้จัดแจงรีดน้ำนมจากแม่โค การรีดนมจากแม่โควันนั้นรีดง่ายเกินคาด แม้ว่าลูกโคไม่ได้กินนมในวันนั้น เมื่อนำภาชนะเข้าไปรอง กลับมีน้ำนมไหลออกมาเอง นางสุชาดาจึงจัดแจงปรุงข้าวมธุปายาสไปแก้ขนที่ต้นไทร นางสุชาดาได้พบพระมหาบุราคิดว่าเป็นเทวดา จึงทำพิธีแก้บนถวายภัตตาหารมื้อแรกที่พระองค์เสวยข้าวมธุปยาส (ข้าวทิพย์) แล้วตรัสรู้

      ในวันนั้นพระมหาบุรากลับจากเที่ยวภิขาจารแต่เช้าได้ประดับอยู่ ณ โคนต้นไทรนั้น นางสุชาดาพบเข้าสำคัญว่าเป็นเทวดา จึงได้นำข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย เมื่อพระองค์ได้รับแล้ว ก็เสด็จขึ้นทำข้าวมธุปายาสหรือข้าวทิพย์นั้นได้ ๔๙ ก้อน เสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองเสียในแม่น้ำ ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ จากโสตถิยพราหมณ์ แล้วเสด็จขึ้นโพธิมณฑลประทับที่ใต้ต้นโพธิพฤกษ์ ได้บรรลุพระสัพพัญญูตญาณเป็นพระพุทธเจ้า ในวันเพ็ญวิสาขปุณมี ทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ บริเวณโพธิมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ วัน คือพุทธคยาในประเทศอินเดีย

ประวัติตามศิลาจารึก ๑ วัดพระเชตุพนฯ

      กล่าวถึงชาวรามัญหุงข้าวทิพย์บูชาเทวดาผู้มีฤทธิ์เดช ๕ องค์ แต่คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ได้กล่าวถึงการกวนข้าวทิพย์เอาไว้ มีแต่การหุงข้าวมธุปายาส เมื่อตกมาเป็นพิธีไทยแล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ รสนิยมคนไทย

      ข้าวทิพย์นี้ เนื่องมาจากข้าวมธุปายาสของพราหมณ์หุงรับประทานกันไม่มีกำหนดแน่นอน เช่น นางสุชาดาหุงไปถวายพระพุทธเจ้าในวันวิสาขะ เดือน ๖  แม้ในอรรถกาธรรมบทก็กล่าวถึงข้าวมธุปายาสไว้หลายเรื่อง เช่น มิคารเศรษฐี พ่อสามีของนางวิสาขา บริโภคข้าวมธุปายาสอันมีน้ำน้อย และในมัคลัตถทีปนีได้กล่าวถึงเศรษฐีขี้เหนียวหุงข้าวมธุปายาสบริโภคเองก็ไม่ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าหุงรับประทานเมื่อไหร่ แต่ข้าวมธุปายาสของพราหมณ์ก็ไม่มีสิ่งของที่ใช้ในการกวนมากมายเหมือนข้าว ทิพย์ของบ้านเรา ข้าวทิพย์เราถือกันว่าเป็นอาหารที่มีรสอร่อยคล้ายของทิพย์ (เทวดา) เมื่อกวนเสร็จแล้วก็แจกจ่ายกันบริโภคเพื่อระงับโรคภัยไข้เจ็บในร่างกายเพราะ ก่อนรักษาและนำทิพโอชามาเจือลงในสิ่งของที่จะกวน กับอาราธนาพระสงฆ์ให้ตั้งเมตตาจิตเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อให้เกิดสิริสวัสดิมงคลแก่ผู้รับประทานข้าวทิพย์ จึงถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจพระปริตรและเทวานุภาพ

พระราชพิธีการกวนข้าวทิพย์

      การกวนข้าวทิพย์นี้ ได้ประกอบพิธีกวนกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้มีการกวนข้าวทิพย์ขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ท่าน ครั้งต่อมาในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ การกวนข้าวทิพย์ละเว้นไป เพิ่งจะมากวนกันใหม่ในรัชกาลที่ ๔ และได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งของในการกวนหลายอย่างเท่าที่จะหาได้ในขณะ นั้น โดยมีส่วนผสมต่างๆ มากมายหลายอย่าง มากถึง ๖๐ กว่าชนิด เช่น ถั่วงา, ลูกเดือย, ข้าวฟ่าง, ข้าวเม่า, เผือก, มัน, ผลไม้นานาชนิด และนมเนย เป็นต้น  การกวนข้าวทิพย์เนื่องในพระราชพิธีนั้น จะกระทำในเดือน ๑๐ เป็นงาน ๓ วัน เริ่มแต่แรม ๑๓ ค่ำเป็นต้นไป เวลาบ่ายนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ในโรงพิธี สาวพรหมจารี ที่มาฟังพระเจริญพระพุทธมนต์จะต้องนุ่งขาวห่มขาวนั่งในฉาก มีสายสิญจน์โยงมงคลเหมือนอย่างเจ้านายทำพิธีโสกันต์ (โกนจุก) ทรงจุดรูปเทียน เครื่องนมัสการแล้วอาลักษณ์อ่านคำประกาศสาระสำคัญในคำประกาศมีใจความว่า

      “การกวนข้าวทิพย์เป็นพระราชพิธีเคยทำมาแต่โบราณ ขอให้พระสงฆ์ซึ่งเจริญพระพุทธมนต์มีจิตตั้งมั่นด้วยเมตตา ยึดเอาคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่พึ่งและด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยอันเป็นนิ รัตสัยบุญเขต ขอให้เกิดสวัสดิมงคลและระงับโรคภัยแก่ผู้ได้รับพระราชทานข้าวทิพย์นี้ขอให้ เทพยดาจงนำสุราอมฤตมาเจือโปรยปรายให้คุ้มกันสรรพอันตรายทุกประการฯ ต่อไปนี้เป็นคำอธิษฐานว่าด้วยอำนาจพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชกุศลที่ทรงบำเพ็ญในเวลานี้ ขอให้ทรงพระเจริญ พระชนมายุยืนนาน เป็นที่เกรงขามแก่เหล่าศัตรูและขอให้ฝนตกเพียงพอ งามในเวลาที่ข้าวออกรวงผลไม้ต่าง ๆ”

       เมื่อจบคำประกาศ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ วันแรกสวดเจ็ดตำนาน วันที่ ๒ สวดสิบสองตำนาน วันที่ ๓ สวดธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร และสวดมหาสมัยสูตร รุ่งขึ้นถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ วันที่ ๓ ซึ่งตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ หลังจากที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์แล้วก็ถวายอดิเรกถวายพระพรลากลับ ต่อจากนั้นพระราชทานน้ำมหาสังข์ใบมะตูมและทรงเจริญสาวพรหมจารีทั้งหมด เฉพาะเจ้านายฝ่ายในตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป ส่วนสาวพรหมจารีที่เป็นหม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวงหรือธิดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระราชทานน้ำด้วยพระเต้าและท้าวนางก็นำสาวพรหมจารีนั่งกวนข้าวทิพย์ซึ่งอยู่ ในพระบรมมหาราชวังนั้น

      ในโรงพิธีนั้นมี ๑๐ เตา สำหรับตั้งกระทะเรียงตามยาวเป็น ๘ เตา สำหรับกวนข้าวทิพย์อีก ๒ เตา อยู่ด้านสกัดสำหรับกวนกระยาสารท หน้าเตาทั้ง ๘ นั้น ตั้งม้าวางโต๊ะตะลุ่มถุงเครื่องกวนข้างหลังเอายกพื้นต่ำกว่ากระทะหน่อยหนึ่ง สำหรับสาวพรหมจารีนั่งกวนกระทะคู่ ตามเสาแขวนหิ้งตั้งเทวรูปมีรูป เทียน ดอกไม้ บูชาตามทิศอันเป็นหน้าที่ของมหาดเล็กต้องออกไปจุดธูปเทียนที่บูชาเทวดา ที่ต้นแถวตั้งเครื่องบูชาพานถมด้วยแก้วเครื่องทองน้อยสำหรับบูชา มีขวดน้ำส้ม นม เนย ตั้งอยู่ด้วย ผู้กวนข้าวทิพย์ทุกคนนั่งสวมมงคลนั่งประจำที่แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงริน น้ำพระมหาสังข์ลงในกระทะแล้วทรงเจิมพายที่พาดอยู่ปากกระทะๆ ละ ๒ พาย ด้วยยันต์มหาอุณาโลมทุกเล่มแล้ว ทรงรินน้ำในพระเต้าศิลาจารึกอักษรและพระเต้าเทวปี ต่อไปทั่วทุกกระทะ โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอทรงรินน้ำส้มและเติมเนยตามไปจนตลอดทั้ง ๒ กระทะ 

       เสร็จแล้วพวกท้าวปลัดเทียบวิเศษ ซึ่งประจำกระทะจึงเทถุงเครื่องที่จะกวนลงไปในกระทะ มีกะทิและน้ำตาลซึ่งเคี่ยวได้ที่แล้วสาวพรหมจารีจับพายลงมือกวน ประโคมแตสังข์ ฆ้องชัย พิณพาทย์ มโหรี พระมหาราชครูพิธีรดน้ำสังข์ทุกกระทะแล้วก็เสด็จขึ้น พอเสร็จ พระราชดำเนินกลับ พวกฝีพายก็มากวนต่อไป ส่วนกระยาสารทอีก ๒ กระทะ ก็กวนพร้อมกันไป ผู้ที่จะได้รับพระราชทานข้าวทิพย์ก็คือ ฝีพายผู้ที่กวน คนหนึ่งๆ ควักไปได้เต็มใบพาย รุ่งเช้าเสด็จออกถวายภัตตาหารพระสงฆ์แล้วพระราชทานข้าวทิพย์แก่พระบรมวงศานุ วงศ์และข้าราชตามศักดิ์

อ่านเพ่ิมเติมได้ที่: https://www.phuttha.com/คลังความรู้/ความรู้ทั่วไป/ประวัติข้าวมธุปายาส

ประวัติข้าวมธุปายาสและการกวนข้าวทิพย์ เป็นมาอย่างไร ?เชียงรายโฟกัส
ประวัติข้าวมธุปายาสและการกวนข้าวทิพย์ เป็นมาอย่างไร ?เชียงรายโฟกัส
ประวัติข้าวมธุปายาสและการกวนข้าวทิพย์ เป็นมาอย่างไร ?Sanook! News
ประวัติข้าวมธุปายาสและการกวนข้าวทิพย์ เป็นมาอย่างไร ?หนังสือพิมพ์ ไทย เสรี
แชร์