ทำไม ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีมากนับพระองค์ไม่ถ้วน

กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากกว่าเมล็ดทรายเหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ http://winne.ws/n19697

2.6 พัน ผู้เข้าชม

จักรวาล มีเขาพระสุเมรุต้้งตรงกลาง มีทวีปทั้ง 4 ล้อมรอบ

ทำไม ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีมากนับพระองค์ไม่ถ้วนแหล่งภาพจาก กัลยาณมิตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถาผมค้นคำที่คิดว่าน่าจะใกล้เคียงที่สุด "อมตนิพพานนี้ อันพระอริยเจ้าเป็นอันมากได้บรรลุมาแล้ว" 

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า 

      ดูกรพราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป ฯพราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม ฯ[๔๓๖] พ. อาจอุปมาได้ พราหมณ์ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า 

       ดูกรพราหมณ์ แม่น้ำคงคานี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใดเมล็ดทรายในระยะนี้ไม่เป็นของง่ายที่จะกำหนดได้ว่า เท่านี้เมล็ด เท่านี้ ๑๐๐ เมล็ดเท่านี้ ๑,๐๐๐ เมล็ด หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เมล็ด 

       ดูกรพราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากกว่าเมล็ดทรายเหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น 

      ดูกรพราหมณ์ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ (ที่มา : http://84000.org/tip...6&A=4869&Z=4896)

      จากประโยคที่ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอายตนนิพพาน มากกว่าเมล็ดทรายในท้องพระมหาสมุทรทั้ง ๔ ให้เราลองเทียบกับกัปหนึ่ง ๆ ดูจะพบว่า กัปหนึ่ง ๆ นั้นยาวนานมาก แต่วัฏสงสารยิ่งยาวนานกว่า จนหาเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลายไม่ได้ นั่นย่อมแปลว่า แม้แต่พระพุทธเจ้าที่บังเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตก็หาเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ มากมายจนนับประมาณไม่ได้ เพราะวัฏสงสารนี้ช่างยาวนานจนนับไม่ได้ ดังนั้นการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มากตามความยาวนานของวัฏสงสารนี้ไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าเพียง 27 พระองค์ ที่บังเกิดขึ้นในเวลา 11 กัป แต่ในวัฏสงสารนี้กัปที่เกิดขึ้นมาแล้ว นับไม่ถ้วน (พระพุทธเจ้า 27 พระองค์ก่อนและพระพุทธเจ้าในอนาคตหลังพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน   http://www.winnews.tv/news/19278 )

ที่น่าตกใจคือ มหาสมุทรทั้ง 4 ที่ว่านี่ไม่ใช่ pacific, india, arctic, atlantic นะ

      แต่เป็นมหาสมุทรที่กั้นทวีปทั้ง 4 ตามโครงสร้างของจักรวาล นี้นะ เรื่องภพภูมิต่าง ๆ ก็มีกล่าวไว้ในหนังสือ 31 ภพภูมิในไตรภูมิพระร่วงมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโน่นแล้ว (อ้างอิงจาก : http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=4241)

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : 

พระพุทธเจ้า 27 พระองค์ก่อนและพระพุทธเจ้าในอนาคตหลังพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน http://www.winnews.tv/news/19278

: ความหมายของ อสงไขย , กัป , มหากัป , พุทธันดร คืออะไร...?   http://www.winnews.tv/news/19702

: ความหมายของ สุญกัป อสุญกัป สารกัป มัณฑกัป วรกัป สารมัณฑกัป ภัทรกัป คืออะไร ..? 

http://www.winnews.tv/news/19714

ภาพภพสาม คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ

ทำไม ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีมากนับพระองค์ไม่ถ้วนแหล่งภาพจาก มหาวิทยาลัย ธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย - DOU

ไตรภูมิพระร่วง เล่าเรื่องภูมิทั้ง 3 อันเป็นที่อยู่ของสัตว์โลก

ทำไม ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีมากนับพระองค์ไม่ถ้วน

หนังสือไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือสำคัญสมัยกรุงสุโขทัยที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน    เป็นวรรณคดีทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก  เดิมเรียกว่า "เตภูมิกถา หรือไตรภูมิกถา"  ในการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๕๕  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็น "ไตรภูมิพระร่วง" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยให้คู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วง

ผู้แต่ง  พระมหาธรรมราชาที่  ๑ (พระยาลิไท)

ความมุ่งหมาย  

๑. เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา  เป็นการเจริญธรรมความกตัญญู

๒. เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรมและช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาไว้ให้ยั่งยืน

ลักษณะการแต่ง    แต่งเป็นร้อยแก้ว

เนื้อหาสาระ  เริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี  ต่อไปมีบานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง  วันเดือนปีที่แต่ง  บอกชื่อคัมภีร์   บอกความมุ่งหมายในการแต่ง  แล้วจึงกล่าวถึงภูมิทั้ง  ๓  ว่า  "อันว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมจะเวียนวนไปมาและเกิดในภูมิ  ๓  อันนี้แล"  คำว่า  "ไตรภูมิ"  แปลว่า  สามแดน  คือ  กามภูมิ  ,  รูปภูมิ  ,  และอรูปภูมิ   ทั้ง  ๓  ภูมิแบ่งออกเป็น  ๘  กันฑ์  คือ

๑. กามภูมิ  มี  ๖  กัณฑ์  คือ

   ๑.๑. นรกภูมิ  เป็นแดนนรก

   ๑.๒. ดิรัจฉานภูมิ  เป็นแดนของสัตว์ที่เจริญตามขวาง

   ๑.๓. เปตภูมิ  เป็นแดนของเปรตที่เคยเป็นมนุษย์และทำความชั่วเกิดเป็นเปรต

   ๑.๔. อสุรกายภูมิ  เป็นแดนของยักษ์มารหรือผีที่หลอกมนุษย์ให้ตกใจกลัว

   ๑.๕. มนุสสภูมิ  เป็นแดนของมนุษย์

   ๑.๖. ฉกามาพจร  เป็นแดนของเทวดาที่ยังเกี่ยวข้องในกาม  มี  ๖ ชั้น  คือ   จาตุมหาราชิก  ,   ดาวดึงส์  , ยามะ   , ดุสิต  , นิมมานรดี  , ปรนิมมิตวสวดี

๒. รูปภูมิ มี  ๑  กัณฑ์   คือ  รูปาวจรภูมิ  เป็นแดนของพรหมที่มีรูป  แบ่งเป็น  ๑๖  ชั้น     ตามภูมิธรรม  เรียกว่า  โสฬสพรหม

๓. อรูปภูมิ มี  ๑  กัณฑ์  คือ  อรูปาวจรภูมิ  เป็นแดนของพรหมไม่ใช่รูปพรหม แบ่งเป็น ๔ ชั้น

สำหรับผู้ปฏิบัติตอนเป็นมนุษย์ได้ฌาน ทั้ง 4 ระดับ 

ทำไม ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีมากนับพระองค์ไม่ถ้วน

คุณค่า    ๑. ด้านศาสนา       

       ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสืออ่านยาก ตั้งแต่สมัยสุโขทัยตลอดมาจนกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น    ผู้ที่นำไตรภูมิไปสู่ชาวบ้านก็คือพระสงฆ์   และนำไปโดยการเทศนา   ทำภาษายากให้เป็นภาษาง่ายที่ชาวบ้านเข้าใจได้    โดยเฉพาะเนื้อเรื่องนั้นมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษ   การเกิดการตาย   เกี่ยวกับโลกทั้งสาม  (ไตรภูมิ)   ซึ่งทำให้คนสมัยกรุงสุโขทัยเข้าใจเรื่องชีวิตของตนเองว่าเกิดมาอย่างไร  ตายแล้วไปไหน  โลกที่อยู่ปัจจุบันและโลกหน้าเป็นอย่างไร

ทำไม ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีมากนับพระองค์ไม่ถ้วน

ตัวอย่างในไตรภูมิพระร่วง   

 ผลแห่งการทำบาป

        "คนผู้ใดกล่าวคำร้ายแก่สมณพราหมณ์ผู้มีศิลและพ่อแม่และผู้เฒ่าผู้แก่ครูปาทยาย  คนผู้นั้นตาย  ไปเกิดในนรกอันได้ขื่อว่า  สุนักขนรกนั้นแล  ในสุนักขนรกนั้นมีหมา  ๔  สิ่ง  หมาจำพวกหนึ่งนั้นขาว  หมาจำพวกหนึ่งนั้นแดง  หมาจำพวกหนึ่งนั้นดำ  หมาจำพวกหนึ่งนั้นเหลือง  และตัวหมาผู้นั้นใหญ่เท่าช้างสารทุกตัว  ฝูงแร้งแลกาอันอยู่ในนรกนั้นใหญ่เท่าเกวียนทุกตัว  ปากแร้งแลกาแลตีนนั่น  เทียรย่อมเหล็กแดงลุกเป็นเปลวไฟอยู่มิได้เหือดสักคาบ  แร้งแลกาหมาฝูงนั้นเทียรย่อมจิกแหกหัวอกขบตอดคนทั้งหลายในนรกด้วยบาปกรรมของเขานั้น  แลมิให้เขาอยู่สบายแลให้เขาเจ็บปวดสาหัส  ได้เวทนาพ้นประมาณ  ทนอยู่ในนรกอันชื่อสุนักขนรกนั้นแล"

อ้างอิงจาก : http://thaipoemhistory.blogspot.com/2013/02/blog-post_2613.html

แชร์