"ท่านคุณานันทะกับการโต้วาทะกอบกู้ศาสนาของพระชาวศรีลังกา" ควรฟังอย่างยิ่ง ได้ปัญญามาก

สามเณรคุณานันทะ รักตัวเอง รักการฝึกฝนตนเองอย่างยิ่งยวดและสอนตนเองได้ว่า เราต้องรับผิดชอบพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่ ได้อุปสมบท มีบุคลิกไม่เหมือนชาวพุทธทั่วไป เป็นการประลองปัญญาโต้วาทะธรรม กันกับศาสนาอื่น ถึง ๕ ครั้ง ในเวลาถึง ๙ ปี http://winne.ws/n20517

2.5 พัน ผู้เข้าชม
"ท่านคุณานันทะกับการโต้วาทะกอบกู้ศาสนาของพระชาวศรีลังกา" ควรฟังอย่างยิ่ง ได้ปัญญามากแหล่งภาพจาก www.dhammakaya.org

“ท่านคุณานันทะ ทำให้พวกศาสนาอื่นหวาดผวาเหมือนนักย่องเบาเห็นพระจันทร์เต็มดวง ลอยเด่นขึ้นมาฉะนั้น”หมายความว่า นักย่องเบานั้นชอบความมืด ยิ่งมืดมากยิ่งชอบ จะได้ย่องเบาไปเอาทรัพย์ของคนอื่นได้ แต่นักย่องเบาจะกลัวแสงสว่าง เพราะฉะนั้น 

เมื่อพระจันทร์เต็มดวงขึ้นมา ก็จะกลัวเจ้าของทรัพย์เขาเห็น เพราะเหตุที่ท่านทำงานพระพุทธศาสนาแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ท่านทำงานหนักโดยไม่หยุดหย่อนเลย จึงอาพาธอยู่เนือง ๆ แม้แพทย์ที่เก่งที่สุดขอให้ท่านวางมือจากการงานเสียบ้าง แต่ท่านก็ไม่ได้ทำตามคำแนะนำของแพทย์เพราะเห็นความสำคัญของงานพระพุทธศาสนามากกว่า

จนกระทั่งวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๓ ท่านจึงได้มรณภาพไปด้วยอาการสงบ เหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวันพลันดับลง ด้วยสิริอายุได้ ๖๗ ปี นับเป็น ๖๗ ปี ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา และอนุชนตราบจนถึงทุกวันนี้ 

เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ของท่านขึ้นที่วัดปทุตตาราม เมืองโคลัมโบ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงคุณความดีของท่าน

ที่มา http://www.dhammakaya.org

ท่านคุณานันทะวัย 12 ขวบ บวชวันนั้น เทศน์วันนั้นเลย เทศน์โต้รุ่ง แต่คนฟังไม่หนีเลย

สามเณรคุณานันทะ รักตัวเอง รักการฝึกฝนตนเองอย่างยิ่งยวดและสอนตนเองได้ว่า เราต้องรับผิดชอบพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่

เมื่อสามเณรอายุได้ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท และเป็นพระภิกษุที่มีบุคลิกไม่เหมือนชาวพุทธทั่วไป มีัลักษณะเป็นพระที่ดี น่าเลื่อมใส เพราะท่านรักพุทธศาสนามากกว่าชีวิต

ใคร ๆ ก็คิดว่า ไม่นาน พุทธศาสนา คงหมดไปจากเกาะศรีลังกา แม้นักเขียนก็เชื่อเช่นนั้น ว่าคงไม่เกินปี ค.ศ.๑๔๔๓ แน่นอน

ประกาศตนเพื่อกอบกู้และปกป้องพระพุทธศาสนา จากการรุกรานจากศาสนาอื่น โดยใช้ปัญญาเป็นอาวุธเป็นประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในศรีลังกา

แล้ววันสำคัญมาถึง เป็นการประลองปัญญาโต้วาทะธรรม กันกับศาสนาอื่น ถึง ๕ ครั้ง ในเวลาถึง ๙ ปี

ครั้งที่ ๑ เดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๔๐๘ ทำให้ชาวพุทธที่เคยท้อแท้ เริ่มมีความหวังในการกอบกู้พระพุทธศาสนาขึ้นมาบ้าง

ครั้งที่ ๒ เดือนสิงหาคม ปี ๒๔๐๘ ทำให้ผู้ฟังทั้งสองศาสนา มาฟังการโต้วาทะธรรมเพิ่มมากขึ้น

ครั้งที่ ๓ เดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๔๐๙ ทำให้ศาสนาอื่นเข็ดขยาดไม่อยากมาตอแยกับท่านอีกอีกถึง 5 ปี

ครั้งที่ ๔ เดือนมกราคม ปี ๒๔๑๔ ทำให้ผู้แทนศาสนาอื่น เข็ดหลาบและกลับปรับปรุงตนเองใหม่

ครั้งที่ ๕ เดือนสิงหาคม ปี ๒๔๑๔ เป็นการโต้วาทะธรรมที่ใหญ่ที่สุด เป็นความเป็นความตายของศาสนา แบ่งเป็น ๒ วัน รวม ๔ รอบ ผลคือศาสนาอื่นพ่ายแพ้ต่อการสนทนาอย่างราบคาบ ไม่กล้าเผชิญหน้ากับท่านอีก ทำให้มีการตีพิมพ์คำโต้เป็นภาษาอังกฤษ ในนิตยสารดังไปทั่วโลก ทำให้ชาวพุทธกลับมาเฉลิมฉลองพิธีวันวิสาขบูชาในพุทธศาสนาได้อีกครั้งในปี ๒๔๒๘ การข่มเหงเบียดเบียนชาวพุทธก็หมดไป

ฟังต่อเต็ม ๆ ได้อรรถรสและปัญญาได้ที่..คลิปนี้ครับ : https://youtu.be/vPHRACXuU2Y

แชร์