วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ...

ปวดศีรษะเรื้อรังใช่ว่าแค่มีอาการปวดศีรษะเท่านั้น หากแต่เป็นการสะท้อนถึงสภาพความเสื่อมโทรมของร่างกาย ดังนั้น จึงไม่ได้หยุดอยู่แค่การรักษาอาการปวดเป็นครั้งเป็นคราวเท่านั้น แต่ยังเน้นความสำคัญในการขจัดต้นเหตุของการปวดศีรษะเรื้อรังให้หมดสิ้น … http://winne.ws/n20673

1.2 พัน ผู้เข้าชม
วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ...http://www.tlcthai.com/women/wp-content/uploads/old_wb/headline88072.jpg

อาการปวดศีรษะแบบไมเกรน

ไมเกรนเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยแต่พบบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 22-55 ปี ผู้หญิงจะมีโอกาสมากว่าผู้ชาย 3 เท่า  ประมาณ 70-80% ของผู้ป่วยไมเกรนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยมักจะมีอาการดังนี้

1. ปวดตุ้บๆ ที่ขมับ หรือเบ้าตาซีกใดซีกหนึ่งตามจังหวะการเต้นของหัวใจ แต่บางครั้งก็อาจปวดแบบตื้อๆ ก็ได้ อาจปวดแบบสลับข้างหรือปวดพร้อมๆ กันทั้ง 2 ข้าง มักปวดเป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ

2. ก่อนปวด หรือขณะปวดอาจมีอาการตาพร่า ตาลายเห็นแสงว๊อบแว๊บ หรือตามืดมัวไปครึ่งซีก

3. ถ้าปวดรุนแรงก็อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

อาการปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัว

การปวดศีรษะแบบนี้เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยและพบบ่อยหลังมีความเครียด ความกังวล การใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรืออาจมีความแปรปรวนของอารมณ์ โดยมักแสดงอาการดังนี้

– ปวดเหมือนถูกคีมหนีบหรือถูกผ้ารัดไว้แน่นๆ

– มีลักษณะปวดตื้อๆ หนักๆ บางคนอาจปวดจี๊ดบริเวณต้นคอ ท้ายทอย ดวงตาหรือขมับ หรือปวดตื้อไปทั้งศีรษะ

– มักจะปวดในช่วงบ่ายๆ หรือเย็นๆ เวลาหายก็มักจะหายไม่สนิท จะรู้สึกตื้อๆ ที่ศีรษะอยู่บ้างเล็กน้อยซึ่งต่างจากไมเกรนที่ปวดรุนแรง แต่บทจะหายก็ไม่เหลืออาการปวด

อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

เป็นอาการปวดศีรษะที่รุนแรงที่สุด หรือที่เรียกว่าปวดศีรษะแบบอยากฆ่าตัวตาย มักจะพบในผู้ชาย โดยมีอาการดังนี้

1. ปวดตุ๊บๆ บริเวณรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง

2. รู้สึกร้อนแปล๊บที่หน้าผากเหมือนมีมีดร้อนๆ มาทิ่ม

3. มักจะปวดตอนกลางคืน และปวดตรงเวลาทุกวันอาจนานเป็น 10-20 นาที หรือเป็นชั่วโมงบางรายอาจจะปวดเรื้อรังเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน

4. เวลาปวดจะมีอาการรุนแรงจนอยู่เฉยไม่ได้ต้องเดินไปเดินมา ซึ่งต่างจากไมเกรนที่เวลาปวดมักอยากนอนเฉยๆ

อาการปวดศีรษะแบบผสม

คือเป็นทั้งอาการไมเกรนและอาการปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัวหรือแบบอื่นๆ ร่วมกันในเวลาเดียว สาเหตุที่เกิดอาการปวดศีรษะแบบผสมที่พบบ่อยที่สุดคือ

– การใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ หรือเกินขนาด

– ผู้ป่วยที่มีประวัติไมเกรนหรือปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัว หากทานยาแก้ปวดเป็นจำนวนมาก มักจะพัฒนาเป็นการปวดศีรษะแบบผสมเมื่ออายุ 30-40 ปี

วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ...
วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ...

ขอขอบคุณ : หมอแดง ดิ อโรคยา “ช่วยกันทำให้คนป่วยน้อยลง”

http://thearokaya.co.th/web/?p=5969

แชร์