5 เทคนิคช่วยพัฒนาเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อไม่ถูกหลอก

ปัญหาที่พบสำหรับเด็กในปัจจุบัน คือ การเสพสื่อออนไลน์ของเด็กที่ต้องอยู่กับสื่อต่างๆ มากถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน เด็กในยุคปัจจุบันโตมากับเทคโนโลยี http://winne.ws/n21779

2.3 พัน ผู้เข้าชม
5 เทคนิคช่วยพัฒนาเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อไม่ถูกหลอกขอบคุณภาพจาก : Thumbsup

วันที่ 13 ม.ค.2561 นพ.ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล รองโฆษกกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า 

ปัญหาที่พบสำหรับเด็กในปัจจุบัน คือ การเสพสื่อออนไลน์ของเด็กที่ต้องอยู่กับสื่อต่างๆ มากถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน เด็กในยุคปัจจุบันโตมากับเทคโนโลยี เรียนรู้การใช้งานมือถือได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นดาบสองคม ด้านลบ คือ ทั้งภาพ เสียง และการใช้ภาษาในสื่อออนไลน์เต็มไปด้วยคำพูดที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ส่งผลให้เด็กมีอาการก้าวร้าว เก็บตัวอยู่คนเดียว ไม่สุงสิงกับใคร และต้องการให้ตนเองเป็นที่ยอมรับในโลกสังคมโซเชียล

นายชาญยุทธ พรหมประพัฒน์ ผู้อำนวยการกองสุขศึกษา กล่าวว่า การเสพสื่อควรสอนให้รู้ถึงข้อดีข้อเสียในการเสพสื่อ เพิ่มเวลาในการทำกิจกรรมนอกบ้าน นอกเหนือจากการเล่น smart phone บนมือถือ แต่ไม่ใช่ลักษณะของการห้ามเล่นมือถือหรือว่ากล่าวที่ทำให้เกิดการอับอาย ยิ่งเป็นแรงเสริมทำให้เด็กมีอาการก้าวร้าว และทำให้เกิดการต่อต้าน ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรพาเด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

5 เทคนิคช่วยพัฒนาเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อไม่ถูกหลอกขอบคุณภาพจาก : Bangkok Bank SME

นายชาญยุทธ กล่าวว่า วิธีช่วยเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ มี 5 วิธี คือ 

1.รู้จักตั้งคำถามกับสิ่งที่เห็น ไม่เชื่อตามสิ่งที่เห็น เช่น ใครเขียน ความน่าเชื่อถือ เขียนข้อความนั้นเพื่ออะไร เพื่อยอดขาย หรือเพื่อให้คนกดไลก์ 

2.รู้ทันตนเอง คือรู้ทันความคิด ความต้องการของตนเอง คิดก่อนทำทุกครั้ง ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น 

3.แชตบนโลกออนไลน์ไม่ใช่มิตรภาพเสมอไป เพราะมีทั้งมิจฉาชีพ คนดี คนโกง เพื่อน ศัตรู เหมือนสังคมที่เราเดินสวนกัน เพราะทุกคนสามารถสร้างตัวตนใหม่ที่ดีกว่า รวยกว่า นิสัยดีกวา หลอกลวงได้ 

4.คิดก่อนโพสต์ ว่าโพสต์นั้นสร้างความเสียหายต่อตนเอง ส่วนรวม หรือละเมิดสิทธิใครหรือไม่ เพราะส่งไปแล้วจะเรียกคืนไม่ได้ หากคนคัดลอกขอ้ความไปบิดเบือนและส่งต่อจะเกิดความเสียหายผลกระทบที่คาดไม่ถึง และ 

5.เลือกสิ่งที่ดีกับเรา ต้องคิดเสมอว่าดาราไม่ได้ใช้สิ่งที่โฆษณาทุกตัวและสินค้านั้นไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน จำเป็นที่จะต้องซื้อหรือไม่

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.banmuang.co.th/news/education/100147

แชร์