ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

การใช้ชีวิตประเทศอังกฤษ ควรเตรียมพร้อมในการดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี เพราะไม่ว่าจะเป็น ‘นาฬิกาชีวิต’ ที่ต่างจากเมืองไทย ’สภาพอากาศ’ ที่หนาวเย็น ฝนตกได้ตลอดเวลา และ ‘อาหาร’ ที่หวานมัน หรือไม่ก็จืดสนิท ผิดรสชาติไทยๆ ที่คุ้นเคย http://winne.ws/n23221

948 ผู้เข้าชม
ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

                                “You are what you EAT.” (กินอะไรเข้าไป ก็เป็นอย่างนั้น)

(ภาพ1 : ภาพการ์ตูนจากวรรณกรรมอังกฤษ ‘The Tale of Peter Rabbit’ โดย Beatrix Potter ค.ศ. 1902)

           การใช้ชีวิตประเทศอังกฤษ ควรเตรียมพร้อมในการดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี เพราะไม่ว่าจะเป็น ‘นาฬิกาชีวิต’ ที่ต่างจากเมืองไทย ’สภาพอากาศ’ ที่หนาวเย็น ฝนตกได้ตลอดเวลา และ ‘อาหาร’ ที่หวานมัน หรือไม่ก็จืดสนิท ผิดรสชาติไทยๆ ที่คุ้นเคย

       อาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน กลายเป็นไม่เข้มแข็งที่จิตใจตามไปด้วยแต่หากเราเข้าใจธรรมชาติของสภาพถิ่นใหม่ที่อยู่ และอาหารที่เราจะรับประทานแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรในการปรับตัวเลยค่ะ ในฉบับนี้...จึงขอนำเสนอ เมนูอาหารหน้าตาหลากหลายจากอังกฤษ มาฝากทุกท่านกัน...

           อาหาร การกินในประเทศอังกฤษ ถือว่ารสชาติอาหารคาว ไม่รสจัดเท่าบ้านเรา ออกจะจืด ๆ รสกลาง ๆ หลายอย่างเป็นส่วนผสมจากแป้ง หรือเนื้อ ทอด ๆ มันๆ ...เมนูหนึ่งที่ขึ้นชื่อ เพราะเป็นอาหารจานร้อน ที่มีต้นกำเนิดในอังกฤษ คือ ‘Fish and Chips’ ส่วนผสมได้แก่ เนื้อปลาชุบแป้ง (โดยมักจะเป็นปลา

ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

        ค็อดแอตแลนติก (Atlantic cod) เสิร์ฟพร้อมมันฝรั่งทอด หรือเฟรนช์ฟรายส์ และถั่วอ่อน

(ภาพ2 : Fish and Chips ขอบคุณที่มา http://thaumaturgical.com/english-fish-and-chips-recipe/)

           อีกเมนูแบบฉบับเมืองผู้ดีอังกฤษที่ทำไม่ยาก ทานได้ง่ายๆ ตอนเช้า เรียกว่า‘English Breakfast’ ส่วนผสมได้แก่

ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

เนื้อ ไส้กรอก ไข่ดาว ผัก นำน้ำสลัด

          สำหรับสายสุขภาพ ขอแนะนำเมนูสลัดผัก ทานพร้อมขนมปังใส่เนื้อปลาทอด จะสั่งที่ร้าน หรือทำเอง เพื่อประหยัดเงินก็ได้

ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)
ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

      แต่ถ้าเป็นเมนูของหวาน ที่อังกฤษขึ้นชื่อเรื่องความหวานมาก ๆ ใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของหวาน คงจะถูกใจ เพราะมีช็อคโกแลต หลายแบบ และขนม wewin.100 หลากหลายชนิด รสชาติดี ให้ซื้อได้ทั่วไป แต่ถ้ากินเยอะไป ก็ระวังน้ำหนักขึ้นไม่รู้ตัวนะคะ ^^”

ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)
ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

      ร้านค้าที่ Shopping วัตถุดิบเข้าครัวได้จะเปิดอยู่ทั่วไป มีให้เลือกทั้งเนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมหนาว เดินชมตรวจราคาได้หลายที่ก่อนตัดสินใจ...เวลาไปร้านแบบนี้ พกถุงไปช้อปปิ้งเองด้วยนะ เพราะราคาถุงละ 5 penny

ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)
ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

Review ต้องมา! :

          สำหรับตอนนี้ ขอรีวิวร้านอาหารไทยในนิวคาสเซิล ที่อร่อยโดนใจทั้งไทยและเทศ ใครมาอยู่อังกฤษแล้วคิดถึงรสชาติอาหารไทยบ้านเรา แนะนำว่า ห้ามพลาด

ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)
ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

“ร้าน Thai House Cafe Newcastle” (https://www.facebook.com/ThaiHouseCafe/)อยู่ในตัวเมืองนิวคาสเซิล บริการอาหารไทยทานได้ในร้านหลายเมนู ทั้งทอด ผัด แกง นึ่ง มีเปิดตลาดนัดอาหารไทยภายในร้านทุกวันอาทิตย์ (ร้านปิดวันอังคาร) และนอกจากนั้น ที่สำคัญเจ้าของร้านเป็นคนใจบุญสุนทาน ทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ ที่มาปฏิบัติศาสนกิจในต่างแดนทุกวันจันทร์

 (ภาพ: ตักบาตรอาหารแห้งหน้าร้านอาหาร Thai House, ถวายภัตตาหารทุกวันจันทร์, และตัวอย่างเมนูในร้าน)

ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

       “ร้าน Sriwaree” อยู่ย่านQuayside ริมแม่น้ำTyne เปิดทุกวันอาทิตย์ ในตลาด Newcastle QuaysideSunday Market ขายอาหารประเภทผัดๆ เส้นๆ ขึ้นชื่อ เช่น ผัดไท ที่อร่อยถูกปากแบบวางไม่ลงเลยทีเดียว พิเศษ คือ ใครได้มาแถวนี้จะได้เห็นจุดชมวิว ที่เป็นไฮไลท์ของเมือง เช่น สะพาน

ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)
ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

Tyne Bridge และ Gateshead Millennium Bridge

(ภาพ : ตลาดนัด Quayside Sunday Market เห็นวิวสะพาน Tyne Bridge, ร้าน Sriwaree เป็นรถร้านอาหาร, เมนูขึ้นชื่อ ได้แก่ ผัดไท) 

ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

      นอกจากนี้ ยังมีร้านอาหารไทยอื่นๆ ที่น่ามาลิ้มลอง รวมทั้งอาหารฝรั่งที่พลาดไม่ได้อีกหลายที่ค่ะ

      ขอปิดท้ายช่วงรีวิวด้วย ภาพบรรยากาศชาวอังกฤษ ใจบุญ ทำภัตตาหารเมนูสัญชาติอังกฤษ ถวายพระภิกษุสงฆ์ที่วัดพระธรรมกายนิวคาสเซิล เป็นภาพบรรยากาศที่อบอุ่น ดูแล้วชาวพุทธก็ปลื้มใจตามไปด้วย

ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)
ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)
ไดอารี่จากอังกฤษ ฉบับการเดินทางครั้งแรก (ตอนที่ 2)

(ภาพ :  Debbie และ Pamela ชาวเมืองนิวคาสเซิล ทำมักกะโรนี และสลัดผักพื้นเมือง ถวายพระ)

 

           ...ToWrap up สรุปบทเรียน...

 

          เรารับประทานอาหารเพื่อบำรุงร่างกาย ให้ร่างกายแข็งแรงอยู่ท้อง ไม่หิวโซและมีพละกำลังในการทำงาน เรียน หรือใช้ชีวิต...จิตใจของเราก็ต้องการ การบำรุงรักษา เช่นกัน

          อาหารของจิตใจ คือ พลังงานบริสุทธิ์ที่เรามองไม่เห็น แต่ทำให้เรามีความสุขได้ นั่นคือ ความดี ที่ได้ทำ (หรือในทางพุทธ เรียกว่า ‘บุญ’ นั่นเอง) โดยการเติมอาหารใจนี้ ไม่ได้จำกัดด้วยเชื้อชาติ ภาษา หรือศาสนา เพราะทุกคนล้วนต้องการ ความสุขทางใจทั้งสิ้น

          ดังนั้น หากเราจะดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ก็ควรเลือกอาหารที่รับประทานให้เหมาะสม ให้พลังงานเพียงพอ และพอดี นอกจากนี้ ก็บำรุงอาหารใจ ด้วยการหมั่นทำความดี ทั้งแก่ตัวเอง หรือผู้อื่น.

 

          สำหรับตอนหน้า จะพาไปเจอกับเรื่องราวอะไรในประเทศอังกฤษนั่น โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ :)

ขอขอบคุณไดอารี่จาก Punyar สาวน้อยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ

แชร์