ประเภทของการโกหก

การโกหกเป็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นบาปและควรละเว้น แต่หลายคนอาจเคยมีความคิดว่า ถ้าพูดความจริงแล้วจะทำให้เกิดความเสียหาย แต่ถ้าพูดโกหกแล้วจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น แบบนี้จะผิดหรือไม่ และการพูดความจริงแต่พูดไม่หมดนั้นบาปหรือไม่ โกหกแบบไหนถึงจะไม่ผิด http://winne.ws/n23845

4.5 พัน ผู้เข้าชม
ประเภทของการโกหก

            ประเภทที่ 1 คือการโกหกเพื่อรักษาน้ำใจ หรือ “ White Lies ” หรือ“ โกหกสีขาว ” หมายถึง โกหกด้วยเจตนาถนอมความรู้สึกคนอื่น เกรงว่าถ้าบอกความจริงไปคนฟังโดยเฉพาะคู่รักหรือภรรยาอาจรับไม่ได้ แล้วจะเสียใจหรือพาลโกรธไปเลยคำถามยอดฮิต เช่น

            ถามว่า “ ฉันอ้วนไหม ” ตอบว่า “ ไม่อ้วนหรอก ” จริง ๆ คิดว่าคำว่าท้วมยังห่างไกลด้วยซ้ำไป

พอตอนลองเสื้อ “ ชุดนี้สวยมั้ย ” ตอบว่า “ เออ...ดี สวยดี ” จริง ๆไม่ชอบเลย

           ถามว่า “ ชอบของขวัญที่ซื้อไปให้หรือเปล่า ” ตอบว่า “ อ๋อ...ชอบมากเลย ” บางทียังไม่ได้แกะกล่องด้วยซ้ำ แถมบางคนจำไม่ได้อีกว่ากล่องไหน

           ถามว่า “ กับข้าววันนี้อร่อยมั้ย ” ตอบว่า “ เอ้อ...อร่อยดี ในใจคิดว่าสงสัยน้ำปลาหกใส่ หรือเผลอไปหยิบเกลือแทนน้ำตาล ”

ทุกอย่างที่ตอบแบบอัตโนมัติเหล่านั้นไม่ได้เป็นคำตอบจากใจ แต่เป็นคำตอบเพื่อรักษามารยาท ไม่ตอบตรงไปตรงมามนุษย์เราเลยโกหก White lies กันมาก

            ประเภทที่ 2 คือ การโกหกเพื่อปกป้องตนเอง เพื่อเอาตัวรอด เช่น กลัวความผิดกลัวถูกทอดทิ้ง กลัวเสียเกียรติ กลัวการเผชิญหน้า กลัวการผิดหวังเป็นต้น

           การโกหกบางครั้ง ถึงขั้นโยนความผิดให้ผู้อื่นแม้กระทั่งการเป็นพยานในศาล บางทีเพื่อปกป้องตนเองเลยไปพูดใส่ความผิดให้คนอื่นเรื่องนี้เป็นลักษณะติดมาตั้งแต่เด็ก ถ้าผู้ใหญ่เข้มงวดมากเกินไปเด็กจะโกหกเพื่อปกป้องตนเองมากขึ้นเรื่อย ๆ

            ประเภทที่ 3 คือ โกหกเพื่อหลีกเลี่ยงความลำบาก ความเดือดร้อนหรือคนอื่นมาขอความช่วยเหลือ เช่น

            ถาม “ พรุ่งนี้ว่างไหม ” ตอบ “ ไม่ว่าง ติดธุระ ” ที่จริงว่างแต่ไม่อยากไปด้วย

            ถาม “ มีเงินไหม ” ตอบ “ ไม่มี ” ที่จริงมี แต่ไม่อยากให้ยืมเพราะกลัวไม่ได้คืน

            ถาม “ ช่วยทำงานชิ้นนี้ให้หน่อยได้ไหม ” ตอบ “ ติดประชุม ” หรือ “ ติดนัด ” ที่จริงไม่อยากทำ

            ถาม “ เจ้านายไปประชุมต่างจังหวัดกับใคร ” ตอบ “ ไม่ทราบ ” หรือ “ ไม่ได้ไปกับใคร ” หรือที่จริงทั้งรู้ทั้งเห็นว่าไปกับใคร

  •  

        

ประเภทของการโกหก

          ประเภทที่ 4 คือ โกหกเพื่อหลีกเลี่ยงการสนทนาที่ยาวนานบางครั้งไม่อยากไปฟังคนมานั่งวิพากษ์วิจารณ์กัน เลยอ้างเหตุปวดท้องอ้างต้องรีบไปทำงานด่วน อ้างติดนัดใครต่อใครไว้จริง ๆเป็นการหลีกเลี่ยงแต่เป็นเทคนิคที่เขามองว่าเป็นการโกหก

           ประเภทที่ 5 โกหกเพื่อเข้าสังคมเพื่อยกระดับฐานะตนเองให้คนในสังคมยอมรับ

           ประเภทที่ 6 คือ โกหกเพื่อหวังผลประโยชน์เพื่อให้ตนเองได้รับการยอมรับ หรือ ได้รับความไว้วางใจ รักษาผลประโยชน์ตนเองไว้ให้ได้งาน ได้ธุรกิจทำนองนี้

           ประเภทที่ 7 คือ โกหกเพื่อโน้มน้าวใจคนเป็นคำโกหกที่เรียงร้อยมาอย่างดีทำให้ผู้ฟังเกิดการคล้อยตามเพื่อหวังผลประโยชน์ตนเอง

           ประเภทที่ 8 คือ โกหกเพื่อยืนยันความคิดของตนเองบางคนปักใจเชื่อว่าความคิดของตนเองถูกต้อง มีความยึดมั่นในความคิดตนเองมากเกินไปเลยสรรหาคำพูดมาสนับสนุนความคิดของตนเอง ไม่ยอมรับความผิดพลาด

           ประเภทที่ 9 คือ โกหกตนเองส่วนใหญ่คนจะโกหกตนเองก่อนโกหกคนอื่น หมายถึง หลอกตนเอง เช่น สูญเสียคนรักไปโกหกตนเองว่ายังไม่สูญเสีย สิ่งที่เกิดขึ้นไม่จริงเพื่อหวังคลายความทุกข์ไปชั่วขณะ ก็เลยโกหกตนเอง สุดท้ายก็โทษตนเอง

           เมื่อชีวิตนี้หลีกเลี่ยงการโกหกยากถ้าไม่อยากให้เด็กหรือลูกเราเป็นคนโกหก ก็อย่าไปไล่จี้หาความผิดเขาทำให้เขาต้องปกป้องตนเอง นั่นคือ ความผิดพลาดครั้งใหญ่

 

ขอบคุณบทความจาก หนังสือ "อย่ามโนรักแท้มันใหญ่มาก "

ขอบคุณภาพจากเว็บ https://pixabay.com

แชร์