จิตเกษมในยุคชาวศิวิไลซ์

ทันทีที่เกิดมาลืมตาดูโลก เราก็ต้องผจญ กับภัยต่าง ๆ นานา ที่พร้อมจะเอาให้ถึงตาย อยู่ทุกวินาทีเหมือนว่ายน้ำท่ามกลางความมืด อยู่กลางทะเลมหาโหด http://winne.ws/n23854

1.4 พัน ผู้เข้าชม
จิตเกษมในยุคชาวศิวิไลซ์

ภัยทั้งหลายเหล่านี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

          1. ภัยภายใน พอเกิดมาเราก็มีภัย ชนิดนี้มาผจญคอยดักอยู่ตลอดเวลา ข้างหลัง คือ ชาติภัยภัยจากการเกิด ข้างขวา คือ ชราภัยภัยจากความแก่ ข้างซ้าย คือ พยาธิภัย ภัยจากความเจ็บ ข้างหน้า คือ มรณภัยภัยจากความตายภัยเหล่านี้รุมล้อมเราทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง ทุกด้านเลยทีเดียวใคร ๆ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้

          2. ภัยภายนอก มีอยู่นับไม่ถ้วน เช่น ภัยจากคน อาทิสามีร้ายภรรยาเลว ลูกดื้อ เพื่อน ไม่ดีคนพาล คนเกเร นับไม่ถ้วน ภัยจาก ธรรมชาติเช่น น้ำท่วมแผ่นดินไหว ภูเขาไฟ ระเบิด ฟ้าผ่า ภัยจากบาปกรรมตามทัน ถูก ล้างผลาญทุกรูปแบบอาทิเคยเบียดเบียน สัตว์ก็ทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย พิการ เคยโกหกไว้ มากก็ทำให้ความจำเลอะเลือนเคยไปลักขโมย โกงเขาเขาจับได้ก็ถูกขังคุกลงโทษ การที่เราต้องตกอยู่ท่ามกลางวงล้อม ของภัยทั้งหลายที่ดิ้นไม่หลุดเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดก็ยังต้องรับทุกข์รับภัยกันอยู่ไม่รู้ กี่แสน กี่ล้าน ๆ ชาติมาแล้วทั้งนี้เพราะถูกผูก ด้วย “โยคะ” ซึ่งแปลว่า เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ มีอยู่ 4 ประการได้แก่

     1. กามโยคะ คือ ความยินดีพอใจ ในกามคุณอยากฟังเพลงเพราะ ๆ อยากกิน อาหารอร่อย ๆได้สวมใส่เสื้อผ้าสวย ๆ นุ่มนวล สวมสบายอยากเห็นรูปสวย ๆ ได้สัมผัสที่ นุ่มนวลความใคร่ทั้งหลายเหล่านี้เป็นเหมือน เชือกเกลียวแรกที่ผูกมัดตัวเราไว้

      2. ภวโยคะ คือ ความยินดีพอใจใน รูปฌานและอรูปฌานคนที่พ้นเชือกเกลียวแรก พ้นกามโยคะมาได้ก็มาเจอเชือกเกลียวที่ 2 นี้ คือ เมื่อได้เจอความสุขจากการที่ใจเริ่มสงบ ทำสมาธิจนได้รูปฌานหรืออรูปฌานก็พอใจ ยินดีติดอยู่ในความสุขจากอารมณ์ของฌาน ตายไปก็ไปเกิดเป็นรูปพรหมหรืออรูปพรหม ซึ่งก็ยังไม่พ้นภัยหมดบุญก็ต้องลงมาเกิดเจอภัย กันอีกนี้เป็นเหมือนเชือกเกลียวที่ 2

     3. ทิฏฐิโยคะ คือ ความยึดถือความคิด เห็นที่ผิด ๆ ของตนเอง เช่นเห็นว่าพ่อแม่ไม่มี พระคุณต่อตนบ้างเห็นว่าโลกนี้โลกหน้าไม่มี จริงบ้างเห็นว่าตนเองจะพ้นทุกข์ได้ด้วยการ บวงสรวงอ้อนวอนบ้างใจยังมืดอยู่ ยังไปหลง ยึดความเห็นผิด ๆ อยู่ สิ่งนี้เลยเป็นเหมือน เชือกเกลียวที่3

      4. อวิชชาโยคะ คือ ความไม่รู้แจ้งใน พระสัทธรรมความสว่างของใจยังไม่พอยังไม่ เห็นอริยสัจ 4 ไม่เห็นทางพ้นทุกข์พ้นภัย นี้ก็ เป็นเหมือนเชือกเกลียวที่4 ทั้ง 4 อย่างนี้เป็นเหมือนเชือก 4 เกลียว ที่ผูกมัดตัวเราไว้กับภพทำให้ต้องเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏสงสารโดยไม่รู้จบสิ้น ทำให้ต้อง มาพบกับภัยทั้งหลายดิ้นกันไม่หลุดทีเดียว

 

จิตเกษมในยุคชาวศิวิไลซ์

      จิตเกษมคืออะไร ? เกษมแปลว่าปลอดภัยพ้นภัย สิ้นกิเลส มีความสุข จิตเกษมจึงหมายถึง สภาพจิตที่หมด กิเลสแล้วโยคะเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ เชือก ทั้ง 4เกลียวได้ถูกฟันขาดสะบั้นโดยสิ้นเชิง จิตเป็นอิสระเสรีทำให้คล่องตัวไม่ติดขัด ไม่ อึดอัดอีกต่อไป ไม่มีภัยใด ๆ มาบีบคั้นได้อีก จึงมีความสุขอย่างแท้จริงพ้นจากการเวียนว่าย ตายเกิดผู้ที่จะมีจิตเกษมได้อย่างแท้จริง คือ ผู้ที่มีใจจรดนิ่งแช่อิ่มอยู่ในนิพพานตลอดเวลา ซึ่งได้แก่พระอรหันต์นั่นเองซึ่งจิตของพระ- อรหันต์นั้น นอกจากจะหมดกิเลสแล้ว ก็ยัง ทำให้มีความรู้ความสามารถพิเศษอีกหลาย ประการ เช่นวิชชา 3 วิชชา 8 อภิญญา 6 ปฏิสัมภิทาญาณ4

 

           เมื่อความบริสุทธิ์เข้ามาแทนที่ ภัยต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นภัยภายใน หรือภายนอก 

                                                 "ก็จะมลายหายสูญไป"

      สวดธรรมจักรด้วยจิตเกษม ในการสวดธรรมจักรนั้น ต้องสวด อย่างถูกหลักวิชชา คือ สวดด้วยจิตเกษม ปราศจากธุลีซึ่งลักษณะของจิตดังกล่าว เป็น ลักษณะจิตของผู้ที่มีจิตใจสูงส่ง อยู่เหนือโลก อยู่เหนือการครอบงำของกิเลสเป็นจิตที่สะอาด บริสุทธิ์ และจิตเช่นนี้จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้นการรวมตัวสวดธรรมจักรของทุกคนทั่วโลก ตามหลักวิชชาเช่นนี้คือ การทำจิตของผู้สวดให้เป็นจิตเกษมชั่วขณะ แม้จะยังไม่ถึงขั้นเป็น จิตของพระอรหันต์แต่จิตนั้นก็จะเป็นอิสระ มี ความบริสุทธิ์ และมีอานุภาพมากพอที่จะทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม บรรยากาศ รวมถึงสภาพจิตใจโดยรวมของ มนุษย์ เมื่อความบริสุทธิ์เข้ามาแทนที่ภัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยภายในหรือภายนอกก็จะมลาย หายสูญไป และยุคชาวศิวิไลซ์ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นศีลและธรรมจะเกิดขึ้น เราก็จะมีความสุข สดชื่นเบิกบานมีจิตเกษมสำราญกันถ้วนหน้า ทุกคน

ขอบคุณบทความจาก หนังสืออยู่ในบุญ

ขอบคุณภาพจากเว็บ https://pixabay.com

แชร์