ชาวอินเดียในยุคพุทธกาลที่เกิดอาการ"มึนข้อมูล" แบบเดียวกับบ้านเราตอนนี้

ยุคนั้นมึนข้อมูลทางด้านเจ้าสำนักเจ้าลัทธิที่มีมากถึง ๖๒ ลัทธิ สอนกันประเภทมั่วไปหมด ประเภทว่า " กูถูกมึงผิด " แบบว่าต่างคนต่างสอนกัน จนชาวบ้านในฐานะที่เป็นคนรับข้อมูลข่าวสารเกิดอาการมึนตึ๊บ จึงต้องไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า http://winne.ws/n24152

1.6 พัน ผู้เข้าชม
ชาวอินเดียในยุคพุทธกาลที่เกิดอาการ"มึนข้อมูล" แบบเดียวกับบ้านเราตอนนี้Youtube

ชาวอินเดียในยุคพุทธกาลที่เกิดอาการ

                        "มึนข้อมูล" 

ข้อธรรมะจากเฟซบุ๊กของพระท่านที่ใช้ชื่อว่า นาควีโร ภิกขุ ศิริ ที่ท่านนำเหตุการณ์ในอดีตมาเทียบเคียงกับยุคปัจจุบันเพื่อให้เราท่านได้รู้เท่าทันข่าวลือ

แบบเดียวกับบ้านเราตอนนี้  ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร แต่ยุคนั้นมึนข้อมูลทางด้านเจ้าสำนักเจ้าลัทธิที่มีมากถึง ๖๒ ลัทธิ สอนกันประเภทมั่วไปหมด ประเภทว่า  " กูถูกมึงผิด " แบบว่าต่างคนต่างสอนกัน  จนชาวบ้านในฐานะที่เป็นคนรับข้อมูลข่าวสารเกิดอาการมึนตึ๊บ 

จึงต้องไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าว่า..จะเอาอย่างไรดี ที่สุดก็ทรงแสดงกาลามสูตร ๑๐ ประการเพื่อใช้เป็นกรอบในการเชื่อว่าจะเชื่ออย่างไรไม่เชื่ออย่างไร 

สรุป #กาลามสูตร ๑๐

 ทรงสอนให้พิจารณาให้ดีก่อนว่า...

สิ่งใดเป็นกุศล 

ไม่เป็นอกุศล 

มีประโยชน์

ไม่เป็นโทษ 

เป็นไปเพื่อประโยชน์

เกื้อกูล

เพื่อความสุข...

                   " จึงค่อยเชื่อ.."

#บทความนี้ละเอียดที่สุดเท่าที่มีเผยแพร่เรื่อง 

"#กาลามสูตร"

ชาวอินเดียในยุคพุทธกาลที่เกิดอาการ"มึนข้อมูล" แบบเดียวกับบ้านเราตอนนี้ไทยรัฐ

กาลามสูตร 10

http://www.chatchawan.net/2014/02/kalama-sutta/

สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ

พระพุทธเจ้าแทนที่จะตรัสเหมือนกับสมณพราหมณ์เหล่าอื่นที่เคยพูดมาแล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงสรรเสริญคำสอนของพระองค์ และก็ไม่ทรงติเตียนคำสอนศาสนาของผู้อื่นแต่พระองค์กลับตรัสอีกแบบหนึ่ง การพูดแบบนี้เป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน คือพระองค์ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการโดยตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงฟัง

มา อนุสฺสวเนน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา

มา ปรมฺปราย : อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา

มา อิติกิราย : อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ

มา ปิฏกสมฺปทาเนน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา

มา ตกฺกเหตุ : อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง

มา นยเหตุ : อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา

มา อาการปริวิตกฺเกน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ

มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา : อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน

มา ภพฺพรูปตา : อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้

มา สมโณ โน ครูติ : อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเหตุ 10 ประการนี้

ข้อความประเภทนี้ตรงกับกฎทางวิทยาศาสตร์ เพราะนักวิทยาศาสตร์จะไม่เชื่อถ้าเขายังไม่ได้ ทดสอบหรือพิจารณาเหตุผลให้ปรากฏก่อน และข้อความเช่นนี้ไปตรงกันได้อย่างไรในข้อที่ไม่ให้เชื่อเพราะเหตุ เหล่านี้ ถ้าเช่นนั้นแล้ว เราควรจะเชื่อแบบใดเมื่อปฏิเสธไปหมดเลยทั้ง 10 ข้อ และเราควรจะเชื่ออะไรได้บ้าง

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของเหตุและผลไม่โจมตีศาสนาไม่โจมตีผู้ใด ชี้แต่เหตุและผลที่ยกขึ้นมา อธิบายเท่านั้น   พระพุทธวจนะทั้ง 10 ประการข้างต้นนั้น ท่านทั้งหลายฟังดูแล้วอาจคิดว่า ถ้าใครถือตามแบบ นี้ทั้งหมดก็มองดูว่าน่าจะเป็นมิจฉาทิฎฐิ คือ ไม่เชื่ออะไรเลย แม้แต่ครูของตนเอง แม้แต่พระไตรปิฎกก็ไม่ให้เชื่อ พิจารณาดูแล้ว น่าจะเป็นมิจฉาทิฎฐิ  แต่ก็ไม่ใช่

คำว่า “มา” อันเป็นคำบาลีในพระสูตรนี้ เป็นการปฏิเสธมีความหมายเท่ากับ No หรือ นะ คือ อย่า แต่โบราณาจารย์กล่าวว่า ถ้าแปลว่า อย่าเชื่อ เป็นการแปลที่ค่อนข้างจะแข็งไปควรแปลว่า“อย่าเพิ่งเชื่อ”คือให้ ฟังไว้ก่อน สำนวนนี้ ได้แก่สำนวนแปลของสมเด็จพระพุทธโฆสาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส นักปราชญ์ รูปหนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ แต่บางอาจารย์ให้แปลว่า“อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ” แต่บางท่านแปลตามศัพท์ว่า “อย่าเชื่อ” ดังนั้น การแปลในปัจจุบันนี้จึงมีอยู่ 3 แบบคือ

อย่าเชื่อ

อย่าเพิ่งเชื่อ

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ


ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก

นาควีโร ภิกขุ ศิริ

แชร์