คนตาย ตายแล้วเกิดใหม่..อะไรไปเกิด ?!?

กรณีที่ไปเกิดเป็นมนุษย์ หากจิตดวงนั้นเกิดเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วตามกรรมมเมื่อหมดกรรมก็จุติจาภพภูมินั้นทันทีจากนั้นกรรมจะหน่วงเหนี่ยวจิตให้ไปสู่สถานที่เกิดของตนเอง http://winne.ws/n24893

3.8 พัน ผู้เข้าชม
คนตาย ตายแล้วเกิดใหม่..อะไรไปเกิด ?!?

 คนเราตาย อะไรตาย ?

ผมว่าคนเราเมื่อเอ่ยถึงความตายก็คงไม่มีใครปรารถนาที่จะได้ยินได้ฟังเพราะความตายเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทั้งผู้ตายและญาติผู้ตาย หรือผู้ที่รักของผู้ที่ตาย งง ? แต่เมื่อว่ากันตามหลักวิชาการแล้วจะพบว่าคนเรานั้น ตายตลอดเวลา 

เรียกว่า เป็น ขณิกมรณะ คือความตายที่เกิดเป็นขณะ ๆ จากการที่ร่างกายเราเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของการเปลี่ยนแปลงตามหลักอนิจจตาที่ว่า สรรพสิ่งไม่เที่ยงแท้ มันมีแปรผันได้ตลอดเวลา

ถามว่าเมื่อเราต้องตายอะไรที่ตาย คำตอบคือ (๑) ร่างกายล่ะที่ตาย (๒) จิตล่ะที่ดับลงจากภวังคจิตธรรมดาเปลี่ยนรูปมาเป็นจุติจิตหรือจุติวิญญาณทันที โดยที่จุติจิตนี้แหละเป็นตัวนำไปเกิด ในกำเนิด ๔ คือ 

อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ และโอปปาติกะ ในทางพระพุทธศาสนาสอนกันมาว่า คนเราตายแล้วเกิดทันที คือ จิตดับเป็นจุติจิตก็คือเกิดทันที ส่วนจะเกิดเป็นอะไรนั้นก็ค่อยไปตามดูในกำเนิด ๔ อย่างนั้น

คนตาย ตายแล้วเกิดใหม่..อะไรไปเกิด ?!?Thaiza.com

@ คนเราตายแล้ว อะไรไปเกิด ?

ผมวกมาถามอีกทีว่าคนเราตายแล้วอะไรไปเกิด คำตอบคืด จิตไปเกิด โดยจิตที่ไปเกิดเรียกว่า จุติจิตที่ออกจากร่างกายแล้วไปเกิด โดยจุติจิตนี้จะล่องลอยไปหาที่เกิดตามอำนาจของกรรมดีกรรมชั่วที่ทำมาตั้งแต่ตอนที่ยังไม่ตาย 

โดยการไปเกิดนั้นไม่ได้หมายความว่าค่อย ๆ ล่องลอยไปเกิดนะครับหากจิตที่ภพภูมิที่ไปอยู่แล้วจิตจะดิ่งไปเลย แต่ที่ยังไม่ทันได้ไปเกิด ยังมาปรากฎตัวให้ญาติๆเห็นนี้ ถือว่าเขาเกิดกันแล้วนะครับคือเกิดเป็นโอปัปปาติกะ 

คือใครก็ตามที่จิตยังห่วงอยู่ กังวลในทรัพย์สินหรือบุตรหลานอยู่ก็จะวนเวียนอยู่ ณ ที่นั้นเป็นสัมภเวสีหรือผู้ที่แสวงหาภพอยู่สรุปจิตที่ไปเกิดก็คือจุติจิตนะครับ ส่วนที่ยังปรากฎตัวให้คนอื่นเห็นอยู่นี้ถือว่า "เขาเหล่านั้นเกิดเป็นโอปัปปาติกะเรียบร้อยแล้ว" 

@ กรณีที่ไปเกิดเป็นมนุษย์  หากจิตดวงนั้นเกิดเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วตามกรรมมเมื่อหมดกรรมก็จุติจาภพภูมินั้นทันทีจากนั้นกรรมจะหน่วงเหนี่ยวจิตให้ไปสู่สถานที่เกิดของตนเอง เช่น กรรมจะได้เกิดเป็นลูกยาจกขอทาน กรรมก็จะหน่วงเหนี่ยวไปหาพ่อแม่ที่มีกรรมเสมอกับตนเอง 

เมื่อไปถึงจุติจิตจะเปลี่ยนรูปทันทีเป็นปฏิสนธิจิตหลังจากนั้นก็เข้าไปรวมกับรูป(กัลละ)ในครรภ์มารดาซึ่งสภาพจิตที่เป็นปฏิสนธิจิตนี้ ภาษาคัมภีร์เรียกว่า "คันธัพพะ" หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณที่มาเกิดเป็นมนุษย์ในครรภ์มารดา เมื่อปฏิสนธิจิตเข้าไปรวมกับรูปแล้วเป็นรูปเป็นนามแล้วจากนั้นก็จะอยู่ในสภาวะของ "ภวังคจิต คือจิตที่นอนนิ่งไม่รับรู้อารมณ์ใด ๆ เลย 

ซึ่งการที่ปฏิสนธิจิตเปลี่ยนรูปมาเป็นภวังคจิตนี้ก็เพื่อที่จะ "รักษาองค์แห่งภพ หรือรักษาชีวิตหรือรักษาจิตเอาไว้ไม่ให้เสียหายนั่นเอง เด็กทารกที่อยู่ในครรภ์ช่วงที่ยังไม่คลอดจะยังไม่มีการคิดหรือเสพอรมณ์จนกว่าเมื่อคลอดมาแล้วขันธ์ ๕ ครับ อวัยวะพร้อมจิตก็จะเริ่มทำงานในการเสพหรือเสวยอารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และจิต เริ่มจากการร้องให้ การรับสัมผัสเมื่อเวลาที่เกิดมา

@ อะไร คือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของการไปเกิดใหม่ ? 

สำหรับสิ่งที่นำมนุษย์ไปเกิดที่ชัดเจนที่สุดก็คือ กรรม ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๓ วัฏฏะ ก็คือ กิเลส กรรม และวิบากซึ่ง กิเลส กรรมและวิบากนี้เป็นกระบวนการทำความดีความชั่วในขณะที่มีชีวิตอยู่ เมื่อตายไปจิตจะเก็บเอารวมๆกันไปไว้ในรูปของ "กรรม"หรือวิบากกรรม 

หรือผลของกรรมดีกรรมชั่วจะถูกนำไปเก็บไว้ที่ ภวังคจิต เมื่อมนุษย์ทำกรรมไว้แล้วและเก็บไว้แล้ว ที่ภวังคจิตนั้น เมื่อเวลาตายไป กรรมส่วนไหนระหว่างกรรมดีหรือกรรมชั่วมันแสดงตัวออกตัวแรงกว่ากัน จิตมนุษย์คนนั้นจะพุ่งไปตามแรงของกรรมนั้นๆ เช่นทำชั่วมากๆก็ได้ไปทุคติภูมิ 

มีนรก เปรต อสูรกาย เป็นต้น ถ้ากรรมดีมีมากกว่าทำมามากกว่ากรรมดีก็จะนำไปสู่ภพภูมิที่ดีหรือสุคติภูมิ ได้แก่ สวรรค์ มนุษย์ เป็นต้น ถ้าทำกรรม กลางๆแรงกว่าดีหรือชั่วก็จะได้ไปเกิดเป็นอมนุษย์ เช่น พญานาค พญาครุฑ กินนร กินรี คนธรรพ์ เป็นต้น จะเห็นว่ากรรมมีผลต่อการเกิดใหม่ของคนเรามาก และกรรมก็อยู่เบื้องหลังของการไปเกิดใหม่ในทุกภพทุกชาติ

คนตาย ตายแล้วเกิดใหม่..อะไรไปเกิด ?!?โพสต์ทูเดย์

@ ทำไมคนเราเกิดมาถึงแตกต่างกัน ?

คำถามนี้ตอบง่ายมาก ที่แตกต่างก็เพราะกรรมครับ ไม่ได้โม้ในคัมภีร์ท่านว่าไว้แบบนี้จริงๆ เช่น ฆ่าสัตว์เป็นนิจ ย่อมทำให้เกิดมาอายุสั้น อิจฉาริษยา คนอื่น เกิดมาทำให้ผิวพรรณไม่ดีขุระ อารมณ์ร้อน โกหก หลอกลวงคนอื่น เกิดมาย่อมถูกหลอกได้ง่ายๆ 

หรือถวายของแก่พระคุณเจ้าด้วยของคุณภาพต่ำๆ เกิดมาย่อมได้ลาภสักการะที่มีมูลค่าน้อย รับปปากว่าจะถวายของมากแต่ถวายของน้อย เกิดมาค้าขายย่อมขาดทุน เป็นต้น คนเราเกิดมาแตกต่างกันเพราะกรรมครับ อย่าคิดมาก

@ ทำไมเราเกิดมาจึงทุกข์มากกว่าคนอื่น

ผมว่ามีคนถามเยอะมากเรื่องนี้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเหตุปัจจัยครับ ไม่ได้เป็นศาสนาแห่งความโลเลหรือโกหกหลอกลวง พระพุทธศาสนาสอนเรื่อง (๑) เหตุ (๒) ปัจจัย (๓) ผลที่เกิดมาจากเหตุปัจจัย 

ดังนั้น การจะตอบคำถามนี้ผมว่าต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเนื้อหาของพระพุทธศาสนาเสียก่อนว่า เนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาสอนอยู่ ๒ เรื่องหลัก คือ (๑) สอนเรื่องกฎธรรมชาติ (๒) สอนเรื่องวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดการไม่เข้าใจในเรื่องกฎธรรมชาติ 

ข้อที่ ๑  สอนเรื่องกฎธรรมชาติ 

คือพระพุทธเจ้าสอนเรื่องกฎสากลของธรรมชาติอยู่ ๓ กฎ คือ 

(๑) กฎแห่งเหตุปัจจัย 

ได้แก่กฎของโลกและจักรวาลนี้ที่ว่าสรรพสิ่งอิงอาศัยกันเกิดตามหลัก "เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ" กฎนี้ชี้ให้เห็นว่าสรรพสิ่งอิงอาศัยกันเกิด ไม่มีผู้สร้างและไม่ได้ถูกสร้าง 

(๒)กฎแห่งความเปลี่ยนแปลง

 คือสอนว่าโลกนี้ไม่เที่ยงแท้แน่นอนตกอยู่ในความเปลี่ยนแปลงเป็นสภาพ คือเปลี่ยนแปลงทุกขณะในรูปแบบของการเกิดดับๆตลอดเวลาไม่มีสิ่งใดคงอยู่ได้เป็นอมตะ ทุกสิ่งตกอยู่ในความเปลี่ยนแปลงแบบ ขณิกวาท 

(๓) กฎแห่งความไม่มีอัตตาตัวตน 

พระพุทธเจ้าทรงสอนถึงความไม่มีแก่นชีวิต หรืออัตตาที่เป็นผู้สร้าง เพราะสรรพสิ่งล้วนตกอยุ่ในกฏข้อที่ ๒ คือความเปลี่ยนแปลงเมื่อทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงไม่มีอะไรในโลกที่เป็นอมตะ และเที่ยงแท้ถาวร และไม่มีแก่นอัตตา ดังนั้น จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นอัตตาตัวตนหรือเป็นเราเป็นเขา เพราะการยึดมั่นกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลานั้นย่อมนำมาซึ่งความทุกข์ กฎ ๓ ข้อนี้ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

ข้อที่ ๒ ทรงสอวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดมาจากความเข้าใจผิดในกฎ คือสอนให้แก้ไขปัญหาอวิชชา นั่นเอง

พระพุทธเจ้าทรงสอน "วิธีการ"ที่จะสามารถนำมาแก้ไขความหลงหรือความเข้าใจผิดในเรื่องของกฎธรรมชาติ คือทรงนำเอาหลัก "อริยสัจ ๔" คือ ทุกข ์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาสอนให้ผู้ที่กำลังหลงไม่เข้าใจในกฎธรรมชาติให้พิจารณาให้เห็น 

(๑) อะไร คือปัญหา (๒) อะไรคือสาเหตุของปัญหา (๓) อะไรที่คาดว่าจะเป็นผลสรุปของการแก้ไขปัญหา และ (๔) อะไรคือมรรควิธีที่จะดำเนินไปสู่การแก้ไขปัญหานั้นๆได้ 

เมื่อนำหลักอริยสัจ ๔ ไปใช้ย่อมสามารถที่จะแก้ไขปัญหาอวิชชาและสามารถเข้าใจโลกได้อย่างแจ่มแจ้งได้

คำตอบ ว่าทำไมเราจึงทุกข์มากกว่าคนอื่นๆ คำตอบนี้แบ่งตอบเป็นข้อๆนะครับ คือ

(๑) ความทุกข์ที่เราว่าทุกข์นั้นเรามองหาสาเหตุของมันได้ดีแล้วหรือยัง หากมองแล้วแต่ไม่เห็นให้นึกย้อนไปถึงเรื่องของกรรม ว่าในชาติก่อนเราอาจจะทำกรรมมามาก อันนี้ไม่ใช่โมเมพูด เพราะพระพุทธศาสนาสอนว่าทุกอย่างย่อมมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ปัญหาที่เกิดกับเรานั้นมันพุ่งเป้ามาที่เราเพียงคนเดียว กรรมเก่า เป็นคำตอบเบื้องต้น

(๒) เราต้องตั้งคำถามกับตัวเราเองว่าเท่าที่เป็นอยู่เราได้ทำหน้าที่ที่เรารับผิดชอบดีแล้วหรือยัง คือเราได้สร้างเหตุใหม่หรือกรรมใหม่ที่จะสามารถลบล้างความผิดเก่าๆได้หรือยัง เช่น เรายากจน เราได้ขยันบ้างหรือยัง เราเรียนไม่รู้เรื่องเราได้พยายามที่จะทำความเข้าใจเเรื่องนั้นหรือยัง เป็นต้น นี่เป็นกรรมใหม่ที่เราจะต้องคิด

(๓) เรามัวแต่มาโทษตัวเองโทษแต่โชคชะตาหหรือโทษกรรมเก่าใช่หรือไม่ ถ้าใช่แสดงว่าเราแก้ปัญหาไม่ถูกทางแล้ว เพราะทางที่ดีของการแก้ไขปัญหาก็คือการแสวงหาทางออกด้วยการริเริ่ม ไม่ใช่แค่การติเตียนตัวเองแต่ต้องปฏิวัติตัวเองใหม่หาแนวทางใหม่แสวงหาสิ่งใหม่ๆให้กับตนเองอย่างไม่ย่อท้อที่สุดผมว่าเราสามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

Cr.Naga King


ขอบคุณภาพและบทความดี ๆจาก

 เฟซบุ๊ก Naga King

แชร์