ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนพระพุทธศาสนาประพันธ์โดย พระมหาธรรมราชาลิไทย กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย มีเนื้อหาเรื่องนรก สวรรค์ เพื่อสั่งสอนประชาชนให้เข้าใจพระพุทธศาสนาและช่วยกันดำรงรักษาพระพุทธศาสนาไว้ให้มั่นคงตลอดไป http://winne.ws/n3428

6.5 หมื่น ผู้เข้าชม
ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็น ไตรภูมิพระร่วง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระร่วงจ้าแห่งกรุงสุโขทัยให้คู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วง 
                 หอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับไตรภูมิพระร่วงมาจากจังหวัดเพชรบุรี เป็นใบลาน ๑๐ ผูก จารด้วยอักษรขอมในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหาช่วย วัดปากน้ำ (วัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ ในปัจจุบัน) เป็นผู้จาร หอพระสมุดวชิรญาณ ได้ถอดความออกเป็นอักษรไทย โดยมิได้แก้ไขถ้อยคำไปจากต้นฉบับเดิม

ผู้แต่ง
                 พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นหลังจากที่ทรงผนวชแล้ว และขึ้นครองราชย์ได้ ๖ ปี ประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๖
                 พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพญางัวนำถม จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดมหาธาตุ พ.ศ. ๑๙๓๕ หลักที่ ๘ ข. ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อพญาเลอไทสวรรคต ใน พ.ศ. ๑๘๘๔ พญางัวนำถมได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาพญาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า พญาลิไท หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๑ เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๑๙๑๑ 
                 พญาลิไท ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงอาราธนาพระเถระชาวลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย ได้สละราชสมบัติออกทรงผนวชที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก พญาลิไททรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ทรงสนพระทัยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก และทรงพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วง ตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวง และสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ที่ฝีมือการช่างงดงามเป็นเยี่ยม 
                    งานพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถาศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงและศิลาจากรึกวัดศรีชุม เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กล่าวถึงเหตุการณ์และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ การผนวชที่วัดป่ามะม่วง เป็นต้น

จุดมุ่งหมายการแต่งหนังสือ

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

จุดมุ่งหมายในการแต่ง มี ๒ ประการ

                    ๑. เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมกตัญญูประการหนึ่ง

                    ๒. เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม เข้าใจพุทธศาสนา และช่วยกันดำรงพระพุทธศานา ไว้ให้มั่นคง

ลักษณะคำประพันธ์
                  ร้อยแก้ว ประเภทความเรียงสำนวนพรรณนา

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

เนื้อหาไตรภูมิพระร่วง
                 ไตรภูมิพระร่วง มีเนื้อเรื่องเริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี มีบานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง วันเดือนปีที่แต่ง ชื่อคัมภีร์ต่าง ๆ บอกจุดมุ่งหมายในการแต่ง แล้วจึงกล่าวถึงภูมิทั้ง ๓ คำว่า เตภูมิ หรือ ไตรภูมิ แปลว่า สามแดน คือ กามภูมิ รูปภูมิอรูปภูมิ ทั้ง ๓ ภูมิ แบ่งออกเป็น ๘ กัณฑ์ (กัณฑ์ = เรื่อง,หมวด,ตอน)แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ความไม่แน่นอนทั้งมนุษย์และสัตว์รวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ความเปลี่ยนแปลงนี้กวีไทยเรียกว่า “ อนิจจลักษณะ ”ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถา / เตภูมิกถา หมายถึงเรื่องราวของโลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ 


                 ๑. กามภูมิ คือ โลกของผู้ที่ยังติดอยู่ในกามกิเลส แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ได้แก่  สุคติภูมิ และอบายภูมิ
                               ๑.๑ สุคติภูมิ ได้แก่
                               ๑.๑.๑ มนุสสภูมิ (โลกมนุษย์ )
                               ๑.๑.๒ สวรรคภูมิ (ฉกามาพจรภูมิ)
                                       ๑.๑.๒.๑ จาตุมหาราชิกา
                                       ๑.๑.๒.๒ ดาวดึงส์
                                       ๑.๑.๒.๓ ยามา
                                       ๑.๑.๒.๔ ดุสิต
                                       ๑.๑.๒.๕ นิมมานรดี
                                       ๑.๑.๒.๖ ปรนิมมิตวสวัตดี

                              ๑.๒ อบายภูมิ ได้แก่
                              ๑.๒.๑ นรกภูมิ (มี ๘ ขุม )

          นรกแบ่งเป็นขุม ๆ ตามอำนาจของกรรมที่เหล่าสัตว์โลกได้กระทำไว้บันดาลให้เกิดขึ้น  นรกขยายตัวออกไปไม่สิ้นตามจำนวนของสัตว์นรก   นรกแบ่งออกตามอำนาจของกรรม มี  ๘  ขุม แต่ละขุมจะมีนรกบริวาร/นรกบ่าว หรืออุสสทนรก ด้านละ  ๔  ขุม  รวม ๑๖ ขุม   และมีนรกเล็ก เรียกว่า ยมโลก อยู่ภายนอกด้านละ ๑๐ ขุม  สำหรับโลกันตนรกอยู่
นอกกำแพงจักรวาล  
                                                  (๑) อุสสทนรก   ๑๒๘  ขุม
                                                  (๒) ยมโลก   ๓๒๐  ขุม
                                                  (๓) โลกันตนรก  ๑  ขุม

                              ๑.๒.๒ ดิรัจฉานภูมิ

                              ๑.๒.๓ เปรตภูมิ

                              ๑.๒.๔ อสูรกายภูมิ                        

นรกขุมที่ ๑ นรกไม่มีวันตาย

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

 ขุมที่ ๑  สัญชีพนรก (ขุมนรกไม่มีวันตาย)  

           ลักษณะ  พื้นเหล็กหนาถูกเผาไฟจนลุกโชน  มีขอบทั้ง ๔ ด้าน มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล  ระหว่างไฟจะมีสรรพวุธต่าง ๆ เช่น  หอก ดาบ ฆ้อน ถูกเผาไฟจนลุกแดงและคมจัด  สัตว์นรกวิ่งพล่าน เท้าเหยียบไฟ  ร่างกายถูกเผา  สรรพวุธฟัน แทง สับ ทุบ  สัตว์นรกเจ็บปวดทรมาน ร้องครวญครางดิ้นเร่า ๆ  ร่างกายสัตว์นรกฉีกขาด แล้วมาต่อกันใหม่โดยทันที  ทรมานต่อไปไม่มีวันตาย

                                                  อายุขัย   ๕๐๐ ปี   ๑ วัน =  ๙ ล้านปีมนุษย์  

            ความผิดบาปคือ   เป็นโจรปล้นทำลายทรัพย์สิน  ผู้มีอำนาจข่มเหงผู้ต่ำต้อยกว่า

นรกขุมที่ ๒ นรกด้ายดำ

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

ขุมที่ ๒  กาฬสุตตะนรก (ขุมนรกด้ายดำ) 

       ลักษณะ   มีกำแพงและพื้นเหล็กถูกเผาไฟลุกโชน นายนิริยบาลจะจับเอาสัตว์นรกนอนลง  ใช้เส้นบรรทัดที่ทำด้วยสายเหล็กแดงลูกเป็นไฟ มาดีดร่างกายของสัตว์นรก  ตามยาวบ้าง  ตามขวางบ้าง  แล้วนำเลื่อยบ้าง ขวานบ้าง มีดโต้บ้าง มาสับ ฟัน เลื่อยตามรอยที่ดีดไว้  ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส  

                                               อายุขัย   ๑,๐๐๐ ปี   ๑ วัน  =  ๓๖ ล้านปีมนุษย์ 

                                  ความผิดบาปคือ   ฆ่านักบวช  ภิกษุ สามเณร  ผู้ทุศีล อลัชชี

นรกขุมที่ ๓ นรกภูเขาขยี้กาย

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

                                             ขุมที่ ๓  สังฆาฏนรก (ขุมนรกภูเขาขยี้กาย) 

         ลักษณะ   มีกำแพงและพื้นเหล็กถูกเผาไฟลุกโชน  มีภูเขาเหล็กลุกเป็นไฟ ๒ ลูก  กลิ้งไปมาเข้าหากันบดขยี้ร่างสัตว์นรกจนแหลกเหลว แล้วฟื้นขึ้นมาใหม่  รับทุกข์ทรมานต่อไป  สัตว์นรกตนใดวิ่งหนี  ก็จะถูกนายนิริยบาลตีบ้าง แทงบ้าง ฟันบ้าง ตลอดเวลา  

                                                    อายุขัย   ๒,๐๐๐ ปี    ๑ วัน  =  ๑๔๕  ล้านปีมนุษย์

                                  ความผิดบาปคือ  เป็นพรานนก  พรานเนื้อ  หรือพวกที่ชอบทรมาน เบียดเบียนสัตว์ที่ตนใช้ประโยชน์ เช่น วัว ควาย โดยขาดความเมตตาสงสาร

นรกขุมที่ ๔ นรกแห่งเสียงหวีดร้อง

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

                                                   ขุมที่ ๔  โรรุวะนรก ( ขุมนรกแห่งเสียงหวีดร้อง )

         ลักษณะ   มีกำแพงเหล็ก ๔ ด้าน ไฟลุกโชน ยิ่งลึกยิ่ร้อน ตรงกลางขุมมีดอกบัวเหล็ก  กลีบเหล็กมีไฟพุ่งออกมาตลอดเวลา สัตว์นรกถูกบังคับให้ขึ้นไปอยู่ในดอกบัว  กรรมทำให้สัตว์นรกยืนขึ้นแล้วก้มตัวลงกลีบบัวงับหนีบสัตว์นรก ส่วนหัวถึงคาง  ขาถึงข้อเท้า มือถึงข้อมือ  ไฟเผาร่างอยู่ตลอดเวลา สัตว์นรกเจ็บปวดทรมานส่งเสียงร้องครวญครางดังยิ่งนัก
                                                  อายุขัย   ๔,๐๐๐ ปี    ๑ วัน  =  ๕๗๖  ล้านปีมนุษย์
                                    ความผิดบาป  พวกเมาสุราอาละวาด ทำร้ายร่างกาย  พวกเผาไม้
ทำลายป่า  พวกกักขังสัตว์ไว้ฆ่า  ชาวประมง

นรกขุมที่่ ๕ นรกแห่งเสียงหวีดร้องอย่างหนัก

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

ขุมที่ ๕  มหาโรรุวะนรก ( ขุมนรกแห่งเสียงหวีดร้องอย่างหนัก )

            ลักษณะ   มีดอกบัวขนาดใหญ่  ไฟร้อนจัดยิ่งกว่าขุมก่อน  กลีบบัว

คมเป็นกรดมีอยู่ทั่วไป  ระหว่างช่องว่างมีแหลนหลาว ปักชูปลายแหลม ขึ้นลุกเป็นไฟ  นายนิริยบาล่จะบังคับไล่แทงให้ขึ้นไปบนดอกบัว  สัตว์นรกทั้งหลายร้อน ดิ้นทุรนทุรายไปกระทบกลีบบัว  กลีบบัวบาดตัดร่างสัตว์นรกล่วงลงมา  ถูกแหลนหลาวแทงรับไว้  เนื้อของสัตว์นรกร้อนลุกเป็นไฟหล่นลงสู่พื้น  และมีสุนัขนรกคอยกัดแทะกินจนหมดสิ้น  สัตว์นรกก็จะก่อร่างขึ้นใหม่ รับทุกขเวทนายิ่งกว่า

ร้องโหยหวนดังยิ่งกว่าขุมก่อน  

                                                  อายุขัย   ๘,๐๐๐ ปี    ๑ วัน  =  ๒๓๐๔  ล้านปีมนุษย์

                              ความผิดบาป  พวกลักเครื่องสักการบูชา  ขโมยทรัพย์สมบัติของ

พ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือภิกษุสามเณร นักบวชต่าง ๆ

นรกขุมที่ ๖ นรกแห่งความร้อน

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

ขุมที่ ๖  ตาปะนรก (ขุมนรกแห่งความเร่าร้อน)

            ลักษณะ  กำแพง ๔ ด้าน พื้นเป็นเหล็กแดงฉาน ไฟพลุ่งโชนสว่างมาก  

ไร้เปลว ไฟละเอียดและร้อนจัด  มีแหลนหลาวใหญ่เท่าลำตาล

ไฟลุกโชน  พุ่งมาเสียบสัตว์นรกและเอาขึ้นตั้งไว้  พอไฟไหม้เนื้อหนังหล่น

ลงมา ก็จะถูกสุนัขนรกตัวใหญ่เท่าช้าง เที่ยวไล่กัดแทะจนเหลือแต่กระดูก 

แล้วก็เกิดเป็นสัตว์นรกใหม่  ต้องทุกข์ทรมาน ร้องระงมเซ็งแซ่ไปหมด

                                                  อายุขัย   ๑,๖๐๐ ปี   ๑ วันนรก =  ๙,๒๓๖ ล้านปีมนุษย์

                              ความผิดบาป   พวกเผาบ้านเผาเมือง   เผาโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ             

นรกขุมที่ ๗ นรกแห่งความร้อนอย่างหนัก

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

                                   ขุมที่ ๗  มหาตาปะนรก (ขุมนรกแห่งความเร่าร้อนยิ่ง)
            ลักษณะ   มีไฟคล้ายแสงสว่าง มีความร้อนสูงมาก พุ่งมาจากกำแพง
เหล็กรอบด้านมารวมกันตรงกลาง  มีภูเขาเหล็กตั้งอยู่กลางขุมนรก มีไฟพุ่งเข้าพุ่งออกจนเผาเป็นเหล็กแดงฉาน  นายนิริยบาลบังคับให้สัตว์นรกป่ายปีนขึ้นไปบนยอดเขา  พอใกล้ถึงยอดเขา สัตว์นรกทนไม่ไหว ร่วงหล่นลงมา ก็จะถูกแหลนหลาวที่ปักเอาไว้รอบข้างแทงเข้า  ไฟไหม้ท่วมร่าง
                                                  อายุขัย   ๑/๒  กัป (กัลป์)
                              ความผิดบาป   พวกมิจฉาทิฏฐิบุคคล  เห็นผิดเป็นชอบ  ไม่รู้จักสิ่งดีมีประโยชน์  ปฏิเสธเรื่องบุญ เรื่องบาป เห็นว่าตายแล้วสูญ  ทุกสิ่งทุกอย่างเที่ยง  ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ทำแต่ทุจริตกรรม                                    

ขุมที่ ๘ นรกแห่งความร้อนไม่มีเว้นว่าง

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

                                          ขุมที่ ๘  อเวจีมหานรก (ขุมนรกแห่งร้อนไม่มีเว้นว่าง)

           ลักษณะ   มีกำแพงเหล็กปิดเฉพาะตัวทั้ง ๖ ทิศ  มีหลาวเหล็ก

แทงสัตว์นรกทะลุตรึงร่าง ให้ยืนกางแขนขา  โดยจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา  หน้าไปหลัง  จำนวนหลายสิบเล่ม  จนสัตว์นรกไม่สามารถขยับตัวได้เลยแม้แต่น้อย  ถุกแผดเผาอยู่ตลอดเวลา จนกระดูกแดงฉาน  จำนวนสัตว์นรกในขุมนี้ มีมากกว่าทั้ง ๗ ขุมรวมกัน

                                                  อายุขัย   ๑ กัป (กลัป์)

                               ความผิดบาป   พวกทำบาปหนักที่เป็นอนันตริยกรรม ได้แก่ ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้พระพุทะเจ้าห้อพระโลหิต ทำสังฆเภท คือ ยุยงให้สงฆ์แตกกัน  พวกทำลายพระพุทธรูป  ต้นศรีมหาโพธิ์  พวกติเตียนพระอริยสงฆ์

รูปพรหม อยู่ที่ รูปพรหมภูมิ เรียกว่า พรหม มี ๑๖ ชั้น

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

 ๒. รูปพรหมภูมิ  เป็นดินแดนของพรหม มี ๑๖ ชั้น (โสฬสพรหม )

                            ๒.๑ พรหมปาริสัชชาภูมิ  

                            ๒.๒ พรหมปุโรหิตาภูมิ  

                            ๒.๓ มหาพรหมาภูมิ  

                            ๒.๔ ปริตตาภาภูมิ  

                            ๒.๕ อัปปมาณาภาภูมิ  

                            ๒.๖ อาภัสสราภูมิ  

                            ๒.๗ ปริตตสุภาภูมิ  

                            ๒.๘ อัปปมาณสุภาภูมิ  

                            ๒.๙ สุภกิณหาภูมิ  

                            ๒.๑๐ เวหัปปผลาภูมิ  

                            ๒.๑๑ อสัญญีสัตตาภูมิ  

                            ๒.๑๒ อวิหาภูมิ  

                            ๒.๑๓ อตัปปาภูมิ  

                            ๒.๑๔ สุทัสสาภูมิ  

                            ๒.๑๕ สุทัสสีภูมิ  

                            ๒.๑๖ อกนิฎฐาภูมิ 

อรูปพรหม อยู่ที่ อรูปพรหมภูมิ มี ๔ ชั้น

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

๓. อรูปพรหมภูมิ   เป็นดินแดนของพรหมที่ไม่ใช่รูปพรหม

                    เป็นพรหมที่อุบัติขึ้นเพราะเหตุแห่งการบำเพ็ญอรูปฌานกุศล ฌานที่บังเกิดขึ้นเรียกว่าอรูปฌาน เมื่อตายลงในขณะฌานไม่เสื่อมย่อมบังเกิดในอรูปพรหมภูมิ

                    พรหมในอรูปพรหมภูมิ เมื่อสิ้นอายุ อาจลงมาเกิดในสุคติภูมิ แต่จะไม่เกิดในอรูปพรหมภูมิที่ต่ำกว่า หรือในรูปพรหมภูมิ และจะไม่เกิดในอบายภูมิ ถ้าฌานสูงขึ้นก็จะได้ไปเกิดในภูมิชั้นที่สูงกว่า ตามลำดับความสูงต่ำของอำนาจฌาน ดังนี้

                     ๓.๑ อากาสานัญจายตนภูมิ   ผู้ที่จะมาเกิดในภูมินี้ ต้องเจริญสมถกรรมฐานจนได้ปัญจมฌานมาก่อนแล้ว มาเจริญอรูปฌานที่ ๑ คืออากาสานัญจายตนฌาน ก็จะมาเกิดในอากาสานัญจายตนภูมินี้ มีอายุยืน ๒๐,๐๐๐ มหากัป

                     ๓.๒ วิญญาณัญจายตนภูมิ   พรหมผู้ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนฌาน   เป็นภูมิที่มีความสุขประณีต ละเอียดกว่าอากาสานัญจายตนภูมิ มีอายุยืน ๔๐,๐๐๐ มหากัป

                      ๓.๓ อากิญจัญญายตนภูมิ  พรหม ผู้ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌาน เป็นภูมิที่มีความสุขประณีต ละเอียดกว่าวิญญาณัญจายตนภูมิ มีอายุยืน ๖๐,๐๐๐ มหากัป

                      ๓.๔ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ  พรหม ผู้ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นภูมิที่มีความสุขประณีต ละเอียดกว่าอากิญจัญญายตนภูมิ มีอายุยืน ๘๔,๐๐๐ มหากัป

ไตรภูมิ หรือ ไตรภพ หรือ แดนสาม หรือ ภพสาม คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

จักรวาลและที่ตั้งของภพสาม

ไตรภูมิพระร่วง หนังสือสอนนรก-สวรรค์ในสมัยกรุงสุโขทัย

ทวีปที่มนุษย์อาศัยอยู่มี ๔ ทวีป ได้แก่
                    ๑. อุตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ มีอายุ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี เป็นหนุ่มสาวอยู่เสมอ อาศัยอยู่ตามโพรงไม้ ไม่ต้องทำงานใด ๆ แต่งตัวสวยงาม มีกับข้าวและที่นอนเกิดขึ้นตามใจปรารถนา 
                    ๒. บูรพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออก ของภูเขาพระสุเมรุ มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร มีอายุ ประมาณ ๗๐๐ ปี

                    ๓. อปรโคยานทวีป

                    ๔. ชมพูทวีป
  

อ้างอิง:http://www.kroobannok.com/blog/48850

ขอบคุณภาพจากwww.google.com

แชร์