ชาวพุทธต้องรู้! ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ59 ก่อนลงประชามติ รับหรือไม่รับ!

ร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ฉบับลงประชามติ ไม่เขียนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ตัดเรื่องการเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาออก อีกทั้งการนับถือศาสนาต้อง"ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ" http://winne.ws/n5802

1.2 พัน ผู้เข้าชม

ร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ไม่ได้เขียน "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" แม้มีการพยายามยื่นรายชื่อสนับสนุน1 แสนรายชื่อ แต่มีนวัตกรรมใหม่เขียนสั่งให้รัฐสนับสนุนพุทธเถรวาท

สำหรับประเด็นเสรีภาพในการนับถือศาสนาร่างรัฐธรรมนูญ ของ กรธ. รับรองเสรีภาพทั้งการนับถือศาสนาการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ไว้ในมาตรา 31โดยมีเหตุผลที่อาจเป็นข้อจำกัดเสรีภาพได้สามประการ คือ 

1) ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย 

2) ต้องไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ 

3) ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

หากย้อนดูประเด็นเสรีภาพในการนับถือศาสนาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับตั้งแแต่ฉบับที่ประกาศใช้เมื่อ10 ธันวาคม2475 เป็นต้นมารวมทั้งรัฐธรมนูญฉบับปี 2540 และ2550 ต่างก็เขียนไว้คล้ายกันแต่กำหนดเหตุผลที่เป็นข้อจำกัดเสรีภาพไว้เพียงสองประการเท่านั้น คือ 1) ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง2) ต้องไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 

ดังนั้นเหตุผลที่จะจำกัดเสรีภาพทางศาสนา ว่าต้องไม่เป็น อันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ จึงเป็นเรื่องใหม่ที่มีขึ้นเป็นครั้งแรกในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

นอกจากนี้ยังมีประเด็นข้อสังเกตว่า รัฐธรรมนูญที่เขียนรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาตั้งแต่ฉบับปี 2492 เป็นต้นมาล้วนเขียนหลักการในวรรคสองไว้คล้ายกันทุกฉบับทำนองว่าบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐลิดรอนสิทธิหรือต้องเสียประโยชน์เพราะเหตุที่นับถือศาสนาแตกต่างจากบุคคลอื่น แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ กรธ.ไม่ได้เขียนหลักการนี้ไว้ด้วย

 ข้อมูลและภาพประกอบจาก www.ilaw.or.th

ชาวพุทธต้องรู้! ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ59 ก่อนลงประชามติ รับหรือไม่รับ!
แชร์