พระ-แพง : เรื่อง “พระ” กับ "ของแพง” ที่คุณต้องรู้!

ได้เวลาพูดเรื่อง “พระ” กับ "ของแพง” อย่างเป็นทางการ...โลกเรามันมีมนุษย์อยู่เผ่าหนึ่ง ซึ่งไม่รู้เป็นอะไร เห็นพระใช้ของแพงทีไร จะอึดอัด กระวนกระวาย รับไม่ค่อยได้ทุกที ยีนอนาถาเข้มข้นเต็มปรี่เหลือเกิน http://winne.ws/n6000

668 ผู้เข้าชม

สื่อเลวบางคนรู้จุดอ่อนนี้ดี เวลาจะใส่ร้ายป้ายสีพระรูปไหน ก็จะตุ่น ขุดคุ้ยรื้อค้นว่าพระรูปนั้นใช้อะไรแพง ๆ หรูหราหรือไม่ ไปสืบมั่ว ๆ แล้วเอามาเขียนชุ่ย ๆ ประเภทจริง 0.7 เท็จ 9.03 แค่นี้พวกมนุษย์โบราณที่แพ้ทางก็ติดกับดัก ฮือออกมาด่าพระกันเป็นพรวนแล้ว

อย่างกรณีสมเด็จนั่นไง รถบุโรทั่งแท้ ๆ แค่ผ่าครึ่งนำเข้าไทย มาตบแต่งให้ดูดีใหม่ สื่อก็พร้อมใจเรียก “เบ้นซ์หรู” ได้แบบไม่อายจิตสำนึกตัวเอง ไอ้ที่พอจะมียางอาย ก็แถมคำว่า “โบราณ” ต่อท้ายมาหน่อย อ่านครั้งแรกก็หลงนึกว่าสภาพเฟอรารี่ หรือลัมโบกินี่อะไรทำนองนั้น ที่ไหนได้ นี่มันรถสมัยเทียดพ่อทวดนี่หว่า ขับก็ไม่ได้ เก่าจนไม่แน่ใจ ว่าสมัยยังวิ่งได้ มันใช้น้ำหมากหรือน้ำมัน 

พระ-แพง : เรื่อง “พระ” กับ "ของแพง” ที่คุณต้องรู้!

หลวงพ่อธัมมชโยก็โดนแบบเดียวกัน...ตุ่นมันหาว่าใช้สบู่ก้อนละ 2,000, จีวรจากสีลม, กุฏิมีน้ำพุ, โรงครัวส่วนตัว

อาศัยคำว่า “แพง” และ “หรูหรา” มาเป็นอาวุธ

-------------------------------------------

แต่เท่าที่ค้นมา ก็ไม่เห็นพระพุทธเจ้ากำหนดราคาของที่พระจะใช้ไว้ตรงไหนเลยนะ 

อาหารต้องมื้อละไม่เกินกี่บาท ?

จีวรผืนหนึ่งราคาเท่าไหร่ ?

กุฏิแพงได้แค่ไหน ?

มันไม่มีน่ะ

แล้วจะดูอย่างไร ? 

ผมว่ามันมีหลักใหญ่ ๆ 3 เรื่องด้วยกัน คือ

1. หามาได้โดยชอบธรรม คือสัมมาอาชีวะไหม ไม่ได้ไปขโมย ไปหลอก ไปเซ้าซี้ให้ใครมาถวายใช่หรือเปล่า

2. พระพุทธเจ้าห้ามเกี่ยวกับเรื่องนั้นไว้อย่างไรบ้าง เช่น อาหาร มันจะมื้อละ 50 หรือ 5,000 ก็ต้องดูว่าถวายตอนไหน ถ้าหลังเที่ยง จะถูกจะแพงก็ฉันไม่ได้ หรือถ้าได้ ก็ต้องดูต่อไปว่าปรุงด้วยอะไร...ผัดเผ็ดงู ยำหูหมามั้ย !! ถ้าเป็นเนื้อที่ทรงห้ามไว้ ก็อดอีกเหมือนกัน อะไรทำนองนี้

จีวรก็ไม่มีกำหนดราคา มีแต่กำหนดวัสดุ, ลักษณะ, ขนาด, สี ซึ่งถ้าถูกตามนี้ก็โอเค

กุฏิ มีกำหนดประเภท ลักษณะ ส่วนขนาดก็แล้วแต่ว่าสร้างเองหรือโยมสร้างให้ เงื่อนไขไม่เหมือนกัน

เอาเป็นว่าไม่มีเรื่องราคามาเกี่ยวก็แล้วกันนะครับ

3. พิจารณาว่าสมควรจะใช้หรือไม่ ภาษาพระก็คือ สันโดษนั่นแหละ เรื่องนี้มันเฉพาะบุคคลแล้วครับ พระแต่ละรูปไม่เหมือนกันหรอก อย่างเจ้าอาวาสพักในกุฏิหลังเล็ก ๆ พระลูกวัดจะอยู่ที่เบ้อเริ่มเทิ่มกว่า ถึงจะทำได้ แต่ก็ไม่เหมาะสม

การที่หลายคนไม่ชอบใจเมื่อเห็นพระใช้ของแพงเป็นเพราะอะไร ผมก็ไม่แน่ใจ แต่คงเป็นอะไรที่ฝังในกะโหลกมานาน 

พระแก่ หลวงปู่ หลวงตา ดูน่าเลื่อมใสกว่าพระหนุ่ม, 

พระธุดงค์ พระป่า ดูน่าเลื่อมใสกว่าพระเมือง, 

จีวรสีกลัก ดูน่าเลื่อมใสกว่าจีวรสีส้ม, 

เก่า ๆ ปอน ๆ ขลัง ๆ ตะไคร่ขึ้นตามตัว ดูน่าเลื่อมใสกว่าพระธรรมดา 555

รวม ๆ คือมักมองไปที่เปลือกนอกหรือความเคร่งครัดมากกว่า แต่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้เอากฎเกณฑ์นี้มาใช้วัดพระนะครับ

ครั้งหนึ่งทรงถามโยมว่า ทรงมีความดีอะไร พระถึงได้เคารพพระองค์

โยมตอบว่า เพราะ (1) ทรงฉันอาหารน้อย, (2) สันโดษในอาหาร, (3) สันโดษในจีวร, (4) สันโดษในที่อยู่อาศัย และ (5) ทรงอยู่ในที่สงัด

พระองค์บอกว่าไม่ใช่ เพราะ...

(1) พระบางรูปฉันอาหารน้อยนิดเดียว แต่พระองค์บางทีฉันเสมอขอบปากบาตรหรือมากกว่า 

(2) พระบางรูปบิณฑบาตมาฉัน ไม่รับกิจนิมนต์ แต่พระองค์รับ บางทีฉันอาหารอย่างดีมีแกงมีกับหลายอย่าง (หรูนั่นแหละ)

(3) พระบางรูปใช้จีวรเก่า ๆ เก็บมาจากกองขยะ บังสุกุลจากป่าช้า แต่ของพระองค์รับที่เขาถวายมา จีวรอย่างดี เนื้อผ้าละเอียด (นี่ก็หรู)

(4) พระบางรูปอยู่โคนไม้ อยู่ในที่แจ้ง แต่พระองค์อยู่ในเรือนยอด มีประตูหน้าต่างปิดมิดชิด สะดวกสบายกว่า (นี่ก็หรู)

(5) พระบางรูปชอบอยู่ในที่เงียบ ๆ ไม่สุงสิงกับใคร แต่พระองค์แวดล้อมไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี ญาติโยมหญิงชาย พระราชา มหาอำมาตย์ 

ถ้าจะเอาเปลือกนอกมาเป็นเกณฑ์อย่างนี้ ก็คงไม่มีพระรูปไหนเคารพพระองค์

แต่เพราะทรงมีคุณธรรม คุณวิเศษภายใน และสอนให้พระหมดกิเลสได้ นี่ต่างหากที่ทำให้ใครก็เคารพ

มันจึงต้องดูกันที่ภายใน ไม่ใช่เปลือกนอก เพราะฉะนั้น เวลาเจอพระปฏิบัติต่างกัน ก็ไม่ต้องเอาองค์นั้นมาเทียบกับองค์ไหน ตราบใดที่เกณฑ์มาตรฐาน คือ ศีล และทิฐิท่านเสมอกัน มันก็โอเค ดีทั้งนั้นแหละ ไอ้ความเคร่งครัดอื่น ๆ เช่นถือธุดงค์ มันเป็นออฟชั่น องค์ไหนจะทำหรือไม่ทำท่านไม่บังคับอะไร 

ลองไปดูเรื่องในสมัยพุทธกาล...

- พระราชาถวายอาหาร (อสทิสทาน) แด่พระพุทธเจ้ากับพระสาวก 500 องค์ 1 มื้อ หมดเงินไป 140 ล้านกหาปณะ (เฉลี่ยองค์ละ 280,000 -- 1 กหาปณะคิดเป็นเงินไทยหลายร้อยบาท ตกองค์ละกี่บาทลองคำนวณดู) 

สมมุติสมัยนั้นมันมีสื่อเน่าเหมือนสมัยนี้ ปาปารัสซี่ถ่ายภาพมาลงหนังสือพิมพ์ เห็นพระนั่งฉันอาหารอย่างหรูหรา มีช้างเอางวงถือเศวตฉัตรให้พระเชือกละองค์ ระหว่างพระ 2 องค์ มีเจ้าหญิงองค์หนึ่งนั่งบดของหอม อีกองค์หนึ่งยืนคอยพัดให้ จะเอาลมแรงลมเบาแค่ไหน พระคุณเจ้าเลือกตามใจชอบเลย 555 

ภาพแบบนี้ลงหน้า 1 เมื่อไหร่ คุณว่าผลจะเป็นอย่างไรบ้าง ? ถ้าโครมันยองไม่ด่าดังไปสามบ้านเจ็ดบ้าน ผมยอมให้ตบกบาลเลยจริง ๆ

พระ-แพง : เรื่อง “พระ” กับ "ของแพง” ที่คุณต้องรู้!

ความจริงเห็นพระฉันอะไรดี ๆ ในที่หรูหรา ก็อย่าเพิ่งรีบด่าท่าน มันไม่ได้ผิดบาปอะไรขนาดนั้นหรอก

โยมนิมนต์พระฉันอาหารในร้านติดแอร์ได้ไหม ได้สิ ถ้าเลือกร้านได้เหมาะสม อย่ามาทำเป็นทนไม่ได้ เอะอะก็เป็นภัยศาสนา ต้องไล่ไปร้านเพิงหมาแหงน มุงสังกะสีร้อน ๆ ข้างทางหรือไง โหดไปมั้ย

ยิ่งพระอยู่ต่างประเทศยิ่งถูกจับผิดง่าย ทำอะไรก็ลำบาก เมืองมันหนาว ให้เดินบิณฑบาตก็เป็นไอติมแท่งกันพอดี โยมนิมนต์ฉัน ก็พาไปร้านตกแต่งหรูหรา ซึ่งมันเป็นธรรมดาของที่นั่น จะเอาโกโรโกโสอย่างที่คุ้นกัน บ้านเขาไม่มี

สตาร์บัคเมืองไทยก็ด่าว่าไม่ควรอีก เพราะแพง เพราะหรู แต่พอไปดูต่างประเทศ มันก็คือกาแฟข้างทาง ความจริงถ้าโยมนิมนต์มาฉันในร้าน มุมเงียบ ๆ ช่วงเวลาไม่พลุกพล่าน ฉันเสร็จแล้วรีบไป ผมรับได้นะ เว้นแต่ว่าโครมันยองมันจับจองเต็มร้าน เออ อย่างนี้ซื้อไปฉันข้างนอกก็จะปลอดภัย 555 

พระเดินทางด้วยเครื่องบินก็หาว่าหรูหรา ราคาแพง ทำไมไม่นั่งเกวียนไป ฮ่วย...นี่มันศตวรรษที่เท่าไหร่แล้วมึง จะไปต่างประเทศ ก็ต้องนั่งเครื่องบินมั้ย จะถ่อแพ เป็นทอม แฮงค์ส Cast Away ก็แห้งตายกันพอดี

- พระอรหันต์ชื่อพากุละ ทุก 15 วัน ท่านจะเปลี่ยนจีวรใหม่ครั้งหนึ่ง...ฟุ่มเฟือยไหม ? 555 ด่าเลยครับด่า นรกจะได้ถามหาเอา

- พระคันธกุฎี กุฏิอบของหอม...วัดเชตวัน, วัดบุพพาราม ห้องหับเป็นพันห้อง แต่ละห้องใช้เงินไม่รู้เท่าไหร่ ก็แสดงว่ากุฏิดี ๆ พระก็ใช้ได้ เพียงแต่ให้ถูกตามธรรมวินัยก็แล้วกัน ไอ้ประเภทเอากุฏิมาบลัฟกัน ว่าของใครเล็กกว่า เก่ากว่า โทรมกว่าน่ะ เลิกเถอะ คุณความดีของพระเขาไม่ได้วัดกันที่กุฏิ

พระ-แพง : เรื่อง “พระ” กับ "ของแพง” ที่คุณต้องรู้!

บางคนไปต่างประเทศ เจอพระพักในโรงแรมก็มาโพสต์ด่า ทำอย่างกับว่ามันมีวัดทุก 2 กิโลเมตรเหมือนเมืองไทย ไม่พักแบบนั้นจะให้ไปปักกลดนอนแข็งเป็นอาหารหมีอยู่แถวไหน คิดบ้าง

-------------------------------------------

มูลค่าจึงไม่ใช่ปัญหา ปกติชาวพุทธทำบุญก็มักจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดถวายพระอยู่แล้ว จะตักบาตรก็เอาข้าวปากหม้อ จะผลไม้ก็เลือกลูกสวย ๆ ดี ๆ ประเภทชีช้ำดำปี๋ ก็ไม่เอา 

พระ-แพง : เรื่อง “พระ” กับ "ของแพง” ที่คุณต้องรู้!

เป็นยาจกก็ให้สิ่งที่ดีที่สุดแบบยาจก เป็นคนชั้นล่าง...ชั้นกลาง...ชั้นสูง...มหาเศรษฐี...พระราชา ก็ให้สิ่งที่ดีที่สุดของตัว 

ดีที่สุดของยาจก ยังแย่กว่าแย่ที่สุดของเศรษฐี เวลาเห็นพระใช้ของดี ๆ ก็ให้คิดแบบเศรษฐี อย่าคิดแบบยาจก คิดแบบแรกได้มันก็สบายใจ ถ้าคิดแบบหลังก็เดือดเนื้อร้อนใจ ที่เห็นพระใช้ของดีกว่าตัว

คนถวาย - เขาตั้งใจถวายของดีอย่างนั้น มันก็เป็นบุญของเขา

พระ - รับแล้วเอามาใช้ ได้ของดีก็ดีไป ได้ของไม่ดีก็ดีอีกเหมือนกัน อย่างน้อยมันก็ดีกว่าไม่มีใช้ ราคาเท่าไหร่ไม่ได้สนใจ แต่แน่นอน ว่าท่านก็มีความเสี่ยงจากคนที่ไม่ชอบใจ จึงต้องระวังเรื่องความเหมาะสมไว้ด้วยเหมือนกัน 

โครมันยองเองก็อย่าใจร้อน เวลามองก็ควรมองหลาย ๆ ด้าน อย่าเอาแค่ “ขาวกับดำ” หรือ “เคร่ง–ไม่เคร่ง” มันยังไม่พอ 

เอาง่าย ๆ ถ้าเห็นพระทั่วไปที่ไม่ได้เคร่งอย่างที่ตัวต้องการ ก็อย่าไปรำคาญท่าน ไม่เลื่อมใส ก็เฉย ๆ ไว้ ไม่อยากสนับสนุน ไม่อยากถวายอะไรก็ตามใจคุณ แต่อย่าไปด่า ไปว่าท่านเสีย ๆ หาย ๆ ให้มองท่านใหม่ด้วยจิตเมตตา แล้วจะได้บุญ

ในนามของโลกศตวรรษที่ 21 ขอเป็นกำลังใจ ให้พี่โคร ฯ ก้าวผ่านเรื่อง “แพง-หรู” ไปให้ได้นะครับ...


โดย Peejump

Komkwamkid.blogspot.com

แชร์