วัดพระธรรมกายรับสมัครบวช รุ่นบูชาธรรม ๙๙ ปี วันครูฯและรุ่น ๑๓๒ ปี พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)

ขอเรียนเชิญชายแมน ๆ บวช รุ่นบูชาธรรม ๙๙ ปี วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย (๔ ก.ย. – ๓๐ ก.ย.)และรุ่นบูชาธรรม ๑๓๒ ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (๒ ต.ค. – ๔ พ.ย.) วันบรรพชาอุปสมบท วันเสาร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ ณ วัดพระธรรมกาย http://winne.ws/n6732

2.1 พัน ผู้เข้าชม
วัดพระธรรมกายรับสมัครบวช รุ่นบูชาธรรม ๙๙ ปี วันครูฯและรุ่น ๑๓๒ ปี พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)

ขอเรียนเชิญชายแมน ๆ บวช 

รุ่นบูชาธรรม ๙๙ ปี วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย (๔ ก.ย. – ๓๐ ก.ย.)

วันบรรพชาอุปสมบท วันเสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๙ ณ วัดพระธรรมกาย 

สิ้นสุดโครงการวันศุกร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙

รุ่นบูชาธรรม ๑๓๒ ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (๒ ต.ค. – ๔ พ.ย.)

วันบรรพชาอุปสมบท วันเสาร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ ณ วัดพระธรรมกาย 

สิ้นสุดโครงการวันศุกร์ที่ ๔ พฤศจิกายน  ๒๕๕๙

#บวชฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย โทร. ๐๒-๘๓๑-๑๒๓๔

การบวช เป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ทำให้เราได้ตอบแทนคุณพ่อแม่ได้ดีที่สุดตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักไว้ แม้เราจะเลี้ยงดูท่านให้สุขสบายเพียงไร ก็ไม่ขึ้นชื่อว่าแทนคุณท่านหมด

หากเรายังไม่สามารถทำให้พ่อแม่มีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ในพระพุทธศาสนา เพราะการให้ทรัพย์และเลี้ยงดูท่านอย่างดีสักเพียงใด ก็ถือเป็นสิ่งที่ช่วยท่านได้เพียงชาติเดียว

อีกทั้งก็ไม่ใช่สิ่งที่ประกันได้ว่า..จะปิดอบาย และทำให้ท่านมีสุขในโลกหน้า ดังนั้น ชาตินี้มีบุญได้เกิดมาเป็นพ่อแม่ลูกกันแล้วก็ควรบวชให้ท่าน

เพราะพ่อแม่จะได้บุญจากการบวชของลูกชายแท้ ๆ มากกว่าที่จะให้ใครมาบวชให้หรือแม้พ่อแม่จะละโลกไปแล้ว ท่านก็ยังรอคอยบุญจากการที่ลูกชายบวชให้อยู่เสมอ

อีกทั้งท่านจะซาบซึ้งว่า..ลูกชายคนนี้ ยังไม่ลืมและยังคงคิดถึงท่านตลอดเวลา ที่สำคัญมหากุศลอันยิ่งใหญ่จากการบวชนี้ จะทำให้ท่านพ้นทุกข์และมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป ทุกภพทุกชาติ

ดังนั้น อย่าให้พ่อกับแม่รอคอยการบวชต่อไปอีกเลย เพราะถ้าลูกไม่บวช แล้วใครจะบวชให้พ่อกับแม่...

หลักฐานการสมัคร

1. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 ใบ

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด

3. สำเนาหลักฐานวุฒิการศึกษา จำนวน 1 ชุด

4. ใบรับรองแพทย์และระบุผลการตรวจเลือด HIV

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม

1. เป็นชายแท้ อดีตธรรมทายาทและผู้นำบุญ

2. สามารถเข้าอบรมได้ตลอดระยะเวลาการอบรม

3. เป็นผู้มีความประพฤติดี พร้อมที่จะรักษาระเบียบวินัยได้

4. สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคลมชัก โรคเบาหวาน โรคจิตประสาท โรคไต โรคหอบหืด ต้องไม่ติดยาเสพติด ไม่ติดสุราและบุหรี่ และผ่านการตรวจร่างกายในวันที่สัมภาษณ์

5. ไม่มีรอยสักขนาดใหญ่ หรือรอยสักรูปไม่เหมาะสมอยู่นอกร่มผ้าเมื่อห่มจีวร

6. เป็นผู้มีความประพฤติดี พร้อมที่จะรักษาระเบียบวินัย

7. ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายในลักษณะทุพพลภาพ

8. ต้องมีคุณสมบัติตามกฎมหาเถรสมาคม

9. เป็นบุคคลที่ ไม่เคยต้องคดีความ หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาคดี

สิ่งของที่ต้องเตรียมเข้ารับการอบรม (เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้สมัครทุกคนต้องเตรียมมาเอง)

1. ชุดอบรมธรรมยาท สีขาวล้วน 2 ชุด (สำหรับใส่อบรมและไม่อนุญาตให้ใส่เสื้อยืด)

2. เสื้อพระราชทานแขนสั้นสีขาว หรือเสื้อเชิ๊ตแขนสั้นสีขาว ไม่มีปักอักษร ไม่มีลายใดๆ 1 ตัว

3. เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว 1 ชุด และรองเทาผ้าใบ

4. รองเท้าแตะฟองน้ำ กางเกงขาสั้น สำหรับใส่อาบน้ำ และผ้าเช็ดตัวสีสุภาพ

5. ขันตักอาบน้ำสีขาว สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟันหลอดใหญ่ ยาสระผมขวดใหญ่

6. ยาประจำตัว เช่น ยาแก้แพ้ ยารักษาโรคกระเพาะ ยาทากันยุง

7. ปากกา ที่ตัดเล็บ มีดโกนหนวด ไฟฉาย (ขนาดเล็ก) พร้อมถ่านไฟฉาย

ของที่ห้ามนำเข้ามาในการอบรม

1. หนังสืออ่านเล่น หรือสื่อที่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกสมาธิ(Meditation)

2. อาหารและของขบเคี้ยวทุกชนิด

3. เครื่องเล่นสื่อต่างๆ ทุกชนิด (วิทยุเทป MP3 MP4) กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ รวมถึงอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลทุกประเภท และอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด

4. กระจกส่องหน้า รูปภาพของญาติมิตร

5. ของมีค่าและเครื่องประดับทุกชนิด เช่น แหวน สร้อยคอ เครื่องรางของขลัง สร้อยข้อมือ สายสิญจน์ เป็นต้น (คณะกรรมการจะตรวจและเก็บดูแลของเหล่านั้นแทนในระหว่างการอบรม)

ขอบคุณภาพและข่าวจาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ วัดพระธรรมกาย

แชร์