พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันบุรพกษัตริย์ไทยทุกพะองค์ล้วนให้ความเคารพและให้ความสำคัญสูงสุดกับพระพุทธศาสนาเหนือสิ่งใดเลยก็ว่าได้ http://winne.ws/n7048

3.9 หมื่น ผู้เข้าชม

พระพุทธศาสนา แปลว่า คำสั่งสอนของผู้รู้ ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งสันติและเมตตาธรรม พระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในทุก ๆ ด้าน และพระพุทธศาสนาถือได้ว่าเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะคนส่วนใหญ่ ร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา และอยู่เคียงคู่กับชาติไทยมาโดยตลอด บัณฑิตผู้มีปัญญาจะเป็นชาวไทย หรือชาวต่างประเทศก็ตาม ผู้ได้ศึกษาปฏิบัติธรรม และเห็นแจ้งตามพระสัทธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ก็จะไม่ละพระพุทธศาสนาไปอื่นเลย   มีแต่จะยิ่งศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัยไม่มีคลอนแคลนไปได้

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พระมหากษัตริย์ทุกยุคทุกสมัย ทรงทำหน้าที่ 2 ประการ ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจหลักคือ ด้านหนึ่ง ทรงทำหน้าที่ปกครองประเทศ โดยนำเอาหลักธรรมของพุทธศาสนาที่เอื้อต่อการปกครองเพื่อความสงบสุขของประชาชน เช่น ทศพิธราชธรรม เป็นต้น อีกด้านหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงทำหน้าที่อุปถัมภ์คุ้มครองพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติ

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชพระองค์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาปกครองบ้านเมือง

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย  สถาปนาพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่สืบทอดมาจากศรีลังกา เป็นศาสนาประจำประเทศไทย จากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช “คนไทยในสมัยสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว....” (กรมศิลปากร. ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 ด้าน 2. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2519: 14 - 19)

สมัยก่อนวัดคือศูนย์กลางการศึกษาและเรียนรู้

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พญาลิไทกษัตริย์ผู้ทรงธรรม ทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือไตรภูมิพระร่วง

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พญาลิไท

พญาลิไททรงนำพระพุทธศาสนามาปรับใช้เป็นหลักธรรมปกครองปลูกฝังให้พสกนิกร "อายชั่ว กลัวบาป" ภาพของผู้ทำผิดต่างๆ เช่น ด่าทอทุบตีพ่อแม่ เบียดเบียนพระสงฆ์องค์เจ้า พ่อค้าโกงตาชั่ง ข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง ตายแล้วจะตกนรกที่มีการลงโทษทัณฑ์สอดคล้องกับความผิดนั้นๆ เป็นการเตือนให้ประชาชนกลัวบาป และเร่งทำความดี เพื่อความสุขในปัจจุบัน และในชาติภพหน้า นี้คือ "กฎหมายทางใจ" ในขณะที่ยังมิได้ตรากฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระบรมสัตยาธิษฐานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าจึงตรัสประกาศแก่เทพยดาทั้งปวง ให้บังเกิดในประยูรมหาเศวตฉัตร จะให้บำรุงพระบวรพุทธศาสนา ไฉนจึงมิช่วยให้สว่างแลเห็นข้าศึกเล่า พอตกพระโอษฐ์ลง พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป ทอดพระเนตรเห็นข้างเศวตฉัตร 16 ข้าง มีข้างดั้งข้างกันยืนอยู่เป็นอันมาก...ฯลฯ...” (องค์การค้าของคุรุสภา.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เล่ม 1 ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์ (จาด).2533: 207)

สมเด็จพระนเรศวรชนช้างกู้ชาติไทยกลับคืนมาประกาศบำรุงพระพุทธศาสนาคู่ชาติไทย

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชผู้ทรงปกป้องชาติและพระศาสนาจากชาติตะวันตกด้วยพระราชปรีชาญาณ

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

ฝรั่งส่งฑูตเข้าเฝ้าเพื่อขอพระองค์ทรงเปลี่ยนศาสนา

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระราชดำรัสของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ตรัสแก่ ฟอลคอน ราชทูตพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่รับสั่งมากับราชทูต ชักชวนให้พระองค์เข้ารีต ว่า

 “พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะให้เราเข้ารีตดังนั้นหรือ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะในราชวงศ์ของเราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว   จะให้เราเปลี่ยนศาสนาอย่างนี้เป็นการยากอยู่   และถ้าพระเจ้าผู้สร้างฟ้าสร้างดินจะต้องการให้คนทั่วโลกได้นับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว พระเจ้ามิจัดการให้เป็นเช่นนั้นเสียแล้วหรือ ?”

“จริงอยู่เมื่อฟอลคอน ในเวลาหมอบอยู่ข้างพระบาทพระเจ้ากรุงสยาม ได้แปลคำชักชวนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้รับสั่งมากับราชทูตนั้น ฟอลคอนก็กลัวจนตัวสั่น และสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระกรุณาโปรดให้อภัยแก่ฟอลคอน แต่ก็ได้รับสั่งว่า ได้ทรงนับถือศาสนาอันได้นับถือต่อๆ กันมาถึง 2,229 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นที่จะให้พระองค์เปลี่ยนศาสนาเสียนั้น เป็นการที่พระองค์จะทำไม่ได้”  (องค์การค้าของคุรุสภา. ประชุมพงศาวดาร เล่ม 16. 2507: 23-24)

ในยุคกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวถึงกับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระราชโอรส พระราชนัดดา บวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพุทธศาสนา จนเกิดประเพณี "การบวชสามเณร" สืบมา

พระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์ทรงกู้ชาติเพื่อน้อมถวายแผ่นดินไทยเป็นพุทธบูชาโดยเอาชีวิตเป็เดิมพัน

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พระเจ้าตากสินมหาราช

พระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงกอบกู้พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติไทยให้กลับฟื้นคืนดีจนมีความมั่นคงสถาพร แม้พระเจ้าตากสินมหาราช จะทรงกรำศึกสงครามเกือบตลอดรัชสมัย แต่พระองค์ก็ทรงเอาพระทัยใส่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยพระราชศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง

พระราชปรารถและน้ำพระทัยของพระเจ้าตากสินมหาราชที่จารึกในศาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีข้อความดังนี้

อันตัวพ่อ  นี้ชื่อ  พระยาตาก  

ทนทุกข์ยาก  กู้ชาติ  พระศาสนา

ถวายแผ่นดิน  ให้เป็น  พุทธบูชา

แก่ศาสดา    สมณะ  พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง    คงถ้วน   ห้าพันปี

สมณะพราหมณ์ชี   ปฏิบัติ  ให้พอสม

เจริญสมถะ   วิปัสสนา  พ่อชื่นชม

ถวายบังคม   รอยบาท   พระศาสดา

คิดถึงพ่อ    พ่ออยู่   คู่กับเจ้า

ชาติของเรา   คงอยู่   คู่ศาสนา

พระศาสนา    ยืนยงคู่  องค์กษัตรา

พระศาสดา   ฝากไว้   ให้คู่กัน


(จารึกในศาลพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม, พระพุทธศาสนา ศาสนาประจำชาติไทย. คณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา, วิสาขบูชา 2527: 123-124)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงประกาศตั้งใจอุปถัมภ์และยอยกพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

 พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงประกาศพระปฐมบรมราชโองการก่อนขึ้นครองราชย์ว่า “ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี” (พ.ณ.ประมวลมารค,สิบสองกวี. พระราชนิพนธ์นิราศท่าดินแดง. สำนักพิมพ์แพร่พิทยา. 2510: 103) 

โดยบรรทัดแรกนั้น พระองค์ตรัสถึงการอุปถัมภ์คุ้มครองพุทธศาสนา อันเป็นหน้าที่หลักของพระมหากษัตริย์อย่างหนึ่ง  บรรทัดสองตรัสถึงหน้าที่หลักอีกประการหนึ่ง คือการปกครองประเทศชาติและประชาชน “ทุกวันนี้ตั้งพระทัยแต่ที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ไพร่ฟ้าประชากรให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ตั้งอยู่ในคติธรรมทั้ง 4 ดำรงจิตจตุรัสบำเพ็ญศีลทาน จะได้สุคติภูมิ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติเป็นประโยชน์แก่ตน...” (กรมศิลปากร. กฎหมายตราสามดวง. 2512: 796)


“พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ เมื่อได้ทรงสดับพระสงฆ์ราชาคณะถวายพระพรโดยพิสดารดังนั้น จึงตรัสว่า ครั้งนี้ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงจงมีอุตสาหะในฝ่ายพระพุทธจักรให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์ขึ้นให้จงได้ ฝ่ายข้างอาณาจักรที่จะเป็นศาสนูปถัมภกนั้นเป็นพนักงานโยม โยมจะเสียสละชีวิตบูชาพระรัตนตรัย สุดแต่จะให้พระปริยัติบริบูรณ์เป็นข้อมูลที่จะตั้งพระพุทธศาสนาจงได้ พระราชาคณะทั้งวงรับสาธุแล้วถวายพระพร...” (กรมศิลปากร.พระยาทิพากรวงศ์

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประกาศรื้อฟื้นประเพณีที่สำคัญของชาวพุทธให้คงอยู่คู่ชาติไทย

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

"พระบาทสมเด็จบรมธรรมมิกมหาราชารามาธิราช บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว...ทรงพระราชศรัทธาจะยกรื้อวิสาขบูชามหายัญพิธีอันขาดประเพณีมานั้น ให้กลับคืนเจียรฐิติกาลปรากฏสำหรับ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงยกย่องและสนับสนุนให้พระบรมวงศานุวงศ์ที่จะรับใช้แผ่นดินต้องบวชเรียนและศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

"เมื่อเห็นว่าบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่มีวัยวุฒิปรีชารอบรู้ราชานุวัตร จะเป็นศาสนูปถัมภกยกพระบวรพุทธศาสนา แลจะปกป้องไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์รักษาแผ่นดินให้สุขสวัสดิ์โดยยิ่ง เป็นที่ยินดีแก่มหาชนทั้งปวงได้ ก็สุดแท้แต่จะเห็นดีประนีประนอมพร้อมใจกัน ยกพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์นั้นขึ้นเสวยมไหสวรรยาธิปัตย์ราชสืบสันตติวงศ์ดำรงราชประเพณีต่อไปเถิด" (จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 3)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว รัชการที่ 4 ทรงตรัสไว้ชัดว่า " พระนครนี้เป็นแผ่นดินของพระพุทธศาสนามาแต่เดิม ไม่ใช่ของศาสนาอื่น

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พระบาทสมเด็จพระจอมแกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

"พระนครนี้เป็นถิ่นที่ของคนนับถือพระพุทธศาสนามาแต่เดิม ไม่ใช่แผ่นดินของศาสนาอื่น คนที่ถือศาสนาอื่นมาแต่อื่นก็ดี อยู่ในเมืองนี้ก็ดี จะโทมนัสน้อยใจด้วยริษยาแก่พระพุทธศาสนาเพราะบูชาอันนี้ไม่ได้ ด้วยไม่ใช่เมืองศาสนาตัวเลย ถ้าโทมนัสก็ชื่อว่าโลภล่วงเกินไป"

(ประชุมประกาศ รัชกาลที่ 4)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประกาศขอมั่นคงและนับถือพระพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียวตลอดพระชนม์ชีพ

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

"...ข้าพเจ้าจะไม่มีจิตยินดีน้อมไปในศาสดาอื่นนอกจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธรรมอันพระองค์ได้ตรัสรู้ชอบดีแล้ว กับทั้งพระสงฆ์หมู่ใหญ่ อันได้ประพฤติตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเลยเป็นอันขาด จนตราบกว่าสิ้นชีวิต..."

(เสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖)

"พระราชบิดาของฉันได้ทรงสละเวลาเป็นส่วนใหญ่ในการศึกษาและคุ้มครองศาสนาของชาติ ส่วนฉันได้ขึ้นครองราชย์ในขณะอายุยังน้อย จึงไม่มีเวลาที่จะเป็นนักศึกษาอย่างพ่อ ฉันเองมีความสนใจในการศึกษาหนังสือหลักธรรมต่าง ๆ สนใจที่จะคุ้มครองศาสนาของเราและต้องการที่จะให้มหาชนทั่วไปมีความเข้าใจถูกต้อง"

(พระราชหัตถเลขาถึง เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์)

"ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักรให้ดำเนินไปในทางวัฒนาถาวรพร้อมกันทั้งสองฝ่าย" (พระราชดำรัสต่อคณะคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๔๐)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6พระอง์ทรงตรัสไว้ความตอนหนึ่งว่"พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา สำหรับชาติเรา เ ราจึงจำเป็นต้องถือด้วยความกตัญญูต่อบิดามารดาและโคตรวงศ์ของเรา"

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

"พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา เราจำเป็นต้องถือด้วยความกตัญญูต่อบิดามารดาและต้นโคตรวงศ์ของเรา จำเป็นต้องถือไม่มีปัญหาอะไร... เมื่อข้าพเจ้ารู้สึกได้แน่นอน จึงได้กล้าลุกขึ้นยืนแสดงเทศนาทางพระพุทธศาสนาแก่ท่านทั้งหลาย..

“เมื่อรู้สึกแน่นอนแล้วว่า ศาสนาในสมัยนี้เป็นของที่แยกจากชาติไม่ได้...ถ้าข้าพเจ้าจะขอแก่ท่านทั้งหลายว่า พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด...ผู้ที่แปลงศาสนา คนเขาดูถูกยิ่งเสียกว่าผู้ที่แปลงชาติ...เพราะเหตุฉะนั้นเป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลาย ผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในศาสนาพระพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา......ถ้ามีอันตรายอย่างใดมาถึงพระพุทธศาสนา เราทั้งหลายจะเป็นผู้ที่ได้รับความอับอายด้วยกันเป็นอันมาก...เหตุฉะนี้ เป็นหน้าที่ของเรา ที่จะต้องตั้งใจ ที่จะรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย อย่าให้มีอันตรายมาถึงได้...” (พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,เทศนาเสือป่า, องค์การค้าของคุรุสภา 2526, หน้า 59-60, 70, 158, 161 และ173)

ขอพร่ำรำพันบรรยาย..........ความคิดเครื่องหมายสีแห่งทั้งสามงามถนัด

ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์........หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย

แดงคือโลหิตเราไซร้............ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษาชาติศาสนา

น้ำเงินคือสีโสภา.................อันจอมประชา ธโปรดเป็นส่วนพระองค์

จัดริ้วเป็นทิวไตรรงค์............จึงเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทย

 (ดุสิตสมิต เล่ม 1 ฉบับที่ 1-11 ในพระนามวรรณะสมิต)

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 "มาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระปิยมหาราช พระบรมชนกนาถของเรา จึงเริ่มทรงจัดการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในมณฑลนี้มาโดยทรงพระราชดำริจะให้พุทธจักร และอาณาจักรเจริญรุ่งเรืองสมสมัย"

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

"มาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระปิยมหาราช พระบรมชนกนาถของเรา จึงเริ่มทรงจัดการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในมณฑลนี้มาโดยทรงพระราชดำริจะให้พุทธจักร และอาณาจักรเจริญรุ่งเรืองสมสมัย" (พระบรมราโชวาทในการเสด็จเลียบ มณฑลฝ่ายเหนือ และมณฑลพายับ พุทธศักราช ๒๔๖๙)

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑล ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ว่า จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาสักวาระหนึ่ง

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ในการเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ว่า จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาสักวาระหนึ่ง โดยได้มีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนา เพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ ในการที่จะอุปสมบท พระองค์ได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโค ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า

"...ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่จะได้เดินทางกลับสู่ประเทศอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า และในอันที่จะได้เห็นประชาราษฎร์ของข้าพเจ้า..."

 (หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโค)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชมหาราช ตรัสย้ำชัดเจนว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยเรา

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันที่ว่า 

"เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสไปเยือนสำนักวาติกัน เมื่อปีคริสต์ศักราช 1870 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ตรัสถามถึงคนไทยนับถือศาสนามากน้อยเพียงใด ข้าพเจ้าทูลตอบว่า คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติ" (พระราชดำรัสตรัสต้อนรับโป๊ป จอห์นปอลที่ 2 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันที่ 10 พฤษภาคม 2527)

 "โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเราทั้งตามความศรัทธาเชื่อมั่นของข้าพเจ้าเองก็เห็นเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง เนื่องในบรรดาสัจธรรมคำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล จึงเคยคิดอยู่ว่าถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่งตามราชประเพณีซึ่งจัดเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบูรพการีตามคตินิยมด้วย และนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระเชษฐาธิราชก็ล่วงมากว่าสิบปีแล้ว เห็นว่าน่าจะถึงเวลาที่ควรจะทำความตั้งใจไว้นั้นแล้วประการหนึ่ง...จึงได้ตกลงใจที่จะบรรพชาอุปสมบทในวันที่ ๒๒ เดือนนี้"

จากข้อมูลโดยย่อดังกล่าว เมื่อว่าโดยพฤตินัย พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งชาติไทย เพราะมีคนไทยส่วนใหญ่นับถือมาตั้งแต่เริ่มสถาปนารัฐไทยครั้งอดีตกาลยุคสุโขทัยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ และพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ก็ทรงเป็นพุทธมามกะ ได้ทรงตั้งปณิธานในอันที่จะปกป้องคุ้มครองและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยตลอด 

แต่เมื่อว่าโดยนิตินัย พระพุทธศาสนายังไม่เป็นศาสนาประจำชาติไทย เพราะยังไม่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2575 ถึงเวลาหรือยัง? ที่จะต้องบันทึกไว้ในรัฐธรรมนูญไทยว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย

ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก

http://rightview0202016.blogspot.com/2016/04/blog-post.html?m=1

ภาพบางส่วนจาก www. google.co.th/

แชร์