อียูเริ่มเจรจากรณี Brexit ได้ปลายปี 60 หลังมีการเลือกตั้งในเยอรมนี

ประเด็นปัญหาค่อนข้างละเอียดอ่อนที่อังกฤษจะหยิบยกขึ้นมาเจรจาคือ ข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในสหภาพยุโรป โดยที่อังกฤษต้องการที่จะยังคงสามารถเข้ามาภายในตลาดเดียวยุโรปได้ต่อไป http://winne.ws/n7892

567 ผู้เข้าชม
อียูเริ่มเจรจากรณี Brexit ได้ปลายปี 60 หลังมีการเลือกตั้งในเยอรมนี


การเจรจาจะมีขึ้นหลังมีการเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมนี

          นางเธเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษอดีตประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป คาดการเจรจาเรื่องอังกฤษถอนตัวจากสหภาพยุโรปจะมีความชัดเจนช่วงปลายปี 2560หลังมีการเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมนี เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 59 บุญธง ก่อมงคลกูลผู้สื่อข่าวไทยรัฐประจำเบลเยียม รายงานว่าเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา นายแฮร์มาน วานรอมเปิยอดีตประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปได้ประเมินว่า ปัญหาที่เป็นประเด็นอ่อนไหวของการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรจะเริ่มการเจรจาได้อย่างจริงจังก็คงเป็นช่วงปลายปี 2017 (2560) ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศเยอรมนี

           ทั้งนี้นายแฮร์มาน วานรอมเปิยได้ให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุ Radio4ของบีบีซีในรายการ Today ว่า"จะไม่มีการเจรจาที่จริงจังก่อนการเลือกตั้งทั่วไปของเยอรมนี(ประมาณเดือนกันยายน 2560) และก่อนการจัดตั้งรัฐบาลเยอรมันเสร็จสิ้น"สหราชอาณาจักรได้ทำการลงประชามติเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเพื่อแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป หากทว่ากระบวนการออกจากอียูจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 50ของสนธิสัญญาลิสบอน

 

หยิบยกประเด็นปัญหาละเอียดอ่อนขึ้นเจรจา

          นางเธเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวว่า รัฐบาลอังกฤษจะยังไม่ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างเป็นทางการก่อนปี 2017 นายแฮร์มาน วานรอมเปิยกล่าวต่อว่า"ทางการอังกฤษอาจจะเริ่มกระบวนการเจรจาทางเทคนิคก่อนได้ แต่ประเด็นปัญหาที่ยากที่สุดเรื่องที่สลับซับซ้อนมาก จะมีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลเยอรมันเสร็จเรียบร้อยแล้วเท่านั้นคาดว่าน่าจะประมาณตุลาคมหรือพฤศจิกายนปีหน้า"

          ประเด็นปัญหาค่อนข้างละเอียดอ่อนที่อังกฤษจะหยิบยกขึ้นมาเจรจาคือข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในสหภาพยุโรปโดยที่อังกฤษต้องการที่จะยังคงสามารถเข้ามาภายในตลาดเดียวยุโรปได้ต่อไปสหภาพยุโรปจะแสวงหาแนวทางความตกลงกับอังกฤษโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย แต่ก็มี "เส้นแดง"ที่จะต้องไม่ก้าวล้ำ อดีตประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปประเมินว่า"เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายของประชากรคือ "เส้นแดง" นั่นเอง"

          สหภาพยุโรปมิได้พิจารณาว่าจะต้องทำการลงโทษสหราชอาณาจักรแต่ก็ไม่ต้องการกระตุ้นให้สมาชิกที่ยังอยู่หาทางแยกตัวออกไปอีกเป็นความเห็นเพิ่มเติมของอดีตประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปเพียงหนึ่งวันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปที่กรุงบราติสลาวาเมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย ที่จะมีการหยิบยกประเด็น Brexitขึ้นมาพิจารณาในที่ประชุม.

โดย : ไทยรัฐฉบับพิมพ์  16 ก.ย. 2559

อียูเริ่มเจรจากรณี Brexit ได้ปลายปี 60 หลังมีการเลือกตั้งในเยอรมนี
แชร์