เปิดตำนานปริศนาธรรม ธง 4 ชนิด ในงานทอดกฐิน มีไว้ทำอะไรบ้าง ? ไปชมพร้อมกันครับ

1. ธงรูปจรเข้ เปรียบเหมือน ความโลภ จรเข้ กินได้ทั้งสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็ก กินได้ไม่เลือก ทั้งสกปรก สะอาดหรือไม่ กอบโกยทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะไม่รู้จักพอ http://winne.ws/v19704

9.8 พัน ผู้เข้าชม

1. ธงรูปจรเข้คาบดอกบัว  เปรียบเหมือน ความโลภ จรเข้ กินได้ทั้งสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็ก กินได้ไม่เลือก ทั้งที่ได้มาจากความสกปรก หรือสะอาดหรือไม่ กอบโกยทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกช่องทางเพราะไม่รู้จักพอ มีตำนานเล่าเรื่องว่า มีเศรษฐีท่านหนึ่ง ตายแล้วไปเกิดเป็นจรเข้ อยากจะทำบุญร่วมบุญกฐิน จึงว่ายน้ำตามขบวนกฐิน พอถึงวัดก็ตาย ชาวบ้านเห็นความตั้งใจของจรเข้ จึงทำเป็นธงรูปจรเข้

2. ธงรูปตะขาบหรือแมลงป่องคาบดอกบัว  เปรียบเหมือน ความโกรธ การอาฆาต ความดุร้าย หมายถึงโทสะ มีความเจ็บปวด เกิดขึ้นง่าย เกิดขึ้นเร็ว รุนแรง มีความเสียหาย การใช้ธงนี้คือนำมาประดับหน้าวัด เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า วัดนี้มีคนจองกฐินแล้ว

3. ธงรูปนางกินรีถือดอกบัว เปรียบเหมือน ความหลง หลงรูปร่าง รส กลิ่น เสียง สัมผัส กินรี เป็นภาษาบาลี แปลว่า ผู้สงสัย หรือผู้พบเห็นสงสัย ธงนางมัจฉา ใช้ประดับในพิธีถวายผ้าพระกฐิน เพื่อแสดงว่า จะมีอานิสงส์ ให้มีร่างกายงดงามสมส่วน มีเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ดี ไว้สวมใส่ตลอดไป

4. ธงรูปเต่าคาบดอกบัว เปรียบเหมือน ศีล การมีสติ เต่าเป็นสัญลักษณ์ของการมีสติ เต่าจะมีกระดองเอาไว้หลบภัยจากอันตรายต่าง ๆ ได้ การใช้ธงรูปเต่า ประดับที่วัด เพื่อให้เห็นสัญลักษณ์ว่าวัดนี้ ทอดกฐินเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะปลดธงลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 

หลังทอดกฐิน ผู้คนมักแย่งธงนางมัจฉา ไปติดที่บ้าน เพราะแสดงว่าจะร่ำรวยเงินทอง ข้าวของต่าง ๆ 

ขอบคุณวิดิโอจาก : https://youtu.be/eLHjQXhIQ0g

แชร์