นักวิจัยคิดค้น อวัยวะทดแทนหัวใจเทียม ผลิตจากไทเทเนี่ยมอัลลอยด์

หนึ่งในแนวคิดที่น่าสนใจจากนักวิจัยแห่ง Oregon Health and Science University (OHSU) คือ แนวคิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ทำจากไทเทเนี่ยมอัลลอยด์ http://winne.ws/v22673

1.2 พัน ผู้เข้าชม

หนึ่งในแนวคิดที่น่าสนใจจากนักวิจัยแห่ง Oregon Health and Science University (OHSU) คือ แนวคิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ทำจากไทเทเนี่ยมอัลลอยด์ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับอะไหล่รถยนต์ชิ้นที่คุณเห็นในวีดีโอ ซึ่งจริงๆ แล้ว มันคือ "หัวใจเทียม" ที่อาจช่วยชีวิตคุณได้ในอนาคตอันใกล้นี้ และนี่อาจเป็นการประดิษฐ์หัวใจเทียบแบบถาวรครั้งแรก ที่อาจจะสามารถช่วยชีวิตชาวอเมริกันกว่า 75,000 คนที่เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวในแต่ละปี (สำหรับประเทศไทยเองมีรายงานอัตราผู้เสียชีวิตในจำนวนตัวเลขที่ใกล้เคียงกัน)

เมื่อเทียบกับรูปแบบของหัวใจเทียมอื่นๆ OHSU นั้นถูกออกแบบมาอย่างเรียบง่าย และไม่มีส่วนที่เป็นลิ้นหัวใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแทนที่ห้องหัวใจทั้งสองด้วยท่อกลวงที่ทำจากไทเทเนียม ในนั้นจะมีแกนซึ่งเคลื่อนที่ไปมา เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของเลือดไปยังปอด ทำให้ออกซิเจนเดินทางต่อไปยังทั่วร่างกาย

โมเดลของหัวใจชิ้นที่เสร็จแล้วนี้ จะขับเคลื่อนโดยชุดควบคุมและชุดแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ สำหรับการใช้งานในระยะสั้น ผู้ใช้จะต้องพกมันติดตัวไปกับเขํ็มขัดหรือเป้สะพายหลัง อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวอาจมีการใส่แบตเตอรี่ขนาดเล็กลงใต้ผิวหนังของผู้ป่วย และชาร์จไฟจากภายนอก

โครงการนี้เริ่มต้นมาจากการประดิษฐ์ของ Richard Wampler ซึ่งเริ่มพัฒนาอุปกรณ์นี้มาตั้งแต่ปี 2014 ได้มีการพัฒนาอุปกรณ์อีก 2 รุ่น รุ่นแรกมีขนาดใหญ่ได้ถูกทดสอบโดยฝังอยู่ในวัว ส่วนรุ่นที่สองเป็นขนาดที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์และได้รับการทดสอบในแกะ

ณ ขณะนี้นักวิจัยวางแผนที่จะดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแกะ และหากการทดสอบเหล่านี้เป็นไปตามแผน พวกเขาจะขออนุญาตจากรัฐบาลกลางเพื่อดำเนินการทดลองทางคลินิกกับมนุษย์ ซึ่งแม้จะฟังดูเป็นเรื่องน่ากลัว แต่ผลสุดท้ายการทดลองนี้ก็อาจเปลี่ยนอนาคตของวงการแพทย์ในด้านการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะไปเลยก็ได้ 

ขอบคุณคลิปจาก : OregonHeart, Inc.

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.digitaltrends.com , thaiware

แชร์