คล้ายว่าสงฆ์มี"ปัญหา" แต่เมื่อพิจารณาแล้ว คณะสงฆ์มิใช่ตัว"ปัญหา"

นั่นก็คือ เพื่อแก้ปัญหาแต่เมื่อถามว่า ที่ว่าเป็น”ปัญหา” นั้น ปัญหาที่ว่านั้นคืออะไร ก็ชักจะเริ่มเกิด “ปัญหา”คล้ายกับจะเป็นปัญหาของ “คณะสงฆ์”แต่เมื่อพิจารณาจาก “มติ” ของที่ประชุม”มหาเถรสมาคม”เมื่อเดือนมกราคมก็จะเห็นว่า “คณะสงฆ์”มิใช่ตัว”ปัญหา” http://winne.ws/n11798

848 ผู้เข้าชม
คล้ายว่าสงฆ์มี"ปัญหา" แต่เมื่อพิจารณาแล้ว คณะสงฆ์มิใช่ตัว"ปัญหา"ขอขอบคุณภาพจากWorkpoint

เป้าหมายของ 81 สนช.ที่เสนอแก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 เป็นเป้าหมายที่ดีนั่นก็คือ 

เพื่อแก้ปัญหาแต่เมื่อถามว่า ที่ว่าเป็น”ปัญหา” นั้น ปัญหาที่ว่านั้นคืออะไร 

ก็ชักจะเริ่มเกิด “ปัญหา”คล้ายกับจะเป็นปัญหาของ “คณะสงฆ์”แต่เมื่อพิจารณาจาก “มติ” ของที่ประชุม”มหาเถรสมาคม”เมื่อเดือนมกราคมก็จะเห็นว่า “คณะสงฆ์”มิใช่ตัว”ปัญหา”

เนื่องจากเป็นมติอันเป็น “เอกฉันท์” สะท้อน “เอกภาพ”อันแข็งแกร่งอย่างยิ่งของ “กรรมการ” มหาเถรสมาคมไม่ว่า”มหานิกาย” ไม่ว่า”ธรรมยุต”เมื่อภายใน “คณะสงฆ์” ดำรงอยู่อย่างเป็น”เอกภาพ”อันแข็งแกร่งและมั่นคงเช่นนี้ 

“ปัญหา” หรือที่เรียกว่า”ความขัดแย้ง” ย่อมอยู่ที่อื่น  

อยู่ที่ไหน    ต้องยอมรับว่า “มหาเถรสมาคม” ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ครบถ้วน  

ไม่มีตรงไหนที่เป็นการ”ละเมิด”

กระบวนการของ “มหาเถรสมาคม” ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)จึงได้นำเรื่องเดินไปตามแบบแผน

แบบแผนก็คือ พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 นั่นเองคือ 

ส่งเรื่องไปยัง “รัฐมนตรี”

เพื่อที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจะส่งเรื่องไปยัง “รองนายกรัฐมนตรี” เพื่อกรองอีกชั้นก่อนส่งถึงมือของ “นายกรัฐมนตรี” เพื่อนำทูลเกล้าฯ

เรื่องมา “ติด” อยู่ตรงนี้

เป็นการติดจาก “เดือนมกราคม” ยืดเยื้อและยาวนานมายัง”เดือนธันวาคม”

จึงได้เกิดการแก้ไข”กฎหมาย”

เนื้อหาการเสนอแก้ไขพรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 ที่สำคัญก็คือ

แก้ไข มาตรา 7

ตัดขั้นตอนของ “มหาเถรสมาคม” ในความรับผิดชอบในกระบวนการสถาปนา”สมเด็จพระสังฆราช”ออกไป

เหลือเพียง “นายกรัฐมนตรี”

ให้ “นายกรัฐมนตรี” อยู่ในฐานะเป็น “ผู้รับสนอง”พระบรม ราชโองการ

เท่ากับเรื่องของ”สมเด็จพระสังฆราช”มิได้เป็นเรื่องของ”พระ” หากแต่มาอยู่ในความรับผิดชอบของ”นายกรัฐมนตรี”ซึ่งเป็น “พลเรือน”

ชัดหรือยังในเป้าหมายและวิธีคิด

คล้ายว่าสงฆ์มี"ปัญหา" แต่เมื่อพิจารณาแล้ว คณะสงฆ์มิใช่ตัว"ปัญหา"ขอขอบคุณภาพจากMCOT.net

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก http://www.matichon.co.th/news/410203

แชร์