ความคืบหน้าโครงการตั้งโรงงานผลิตอาวุธในไทย เพื่อใคร ?

ล่าสุดรองนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า ไทยตัดสินใจเลือกประเทศจีน และยูเครน ในการพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงร่วมกัน จะมีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ตั้งโรงงานผลิตอาวุธรูปธรรม อีก 2 ครั้ง ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์และครั้งสุดท้ายภายในเดือนมีนาคม http://winne.ws/n12918

2.4 พัน ผู้เข้าชม
ความคืบหน้าโครงการตั้งโรงงานผลิตอาวุธในไทย เพื่อใคร ?

โครงการตั้งโรงงานผลิตอาวุธในไทย 

เริ่มมีความคืบหน้าตามลำดับ ล่าสุดรองนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า ไทยตัดสินใจเลือกประเทศจีน และยูเครน ในการพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงร่วมกัน สองประเทศนี้มีความสัมพันธ์กับกองทัพไทยอย่างไร

ในรอบ 10 ปีที่ผ่านกระทรวงกลาโหมรวมทั้งกองทัพไทยทั้ง 4 เหล่าทัพ มีงบประมาณทั้งในการบริหารและแผนงานยุทโธศาสตร์เสริมสร้างศักยภาพป้องกันประเทศ รวมแล้วกว่า 1.89 ล้านล้านบาท ซึ่งหากลงรายละเอียดในมิตรประเทศจีนและยูเครน จะเห็นว่ามีมูลค่าในการซื้อขายไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท

ความสัมพันธ์ทางทหารของไทย-จีน มีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี 2528 ที่กองทัพไทยเริ่มรับอาวุธจากจีน ก่อนจะเป็นชาติแรกในอาเซียนที่ซื้ออาวุธของจีนในปี พ.ศ.2530 และจากนั้นก็ยังมีการซื้อยุทโธปกรณ์มาเรื่อยๆ ทั้งรถถังหลัก VT4 จำนวน 49 คัน ที่ถูกจับตามองว่า จะซ้ำรอย Type69 ที่ถูกนำไปเป็นปะการังหรือไม่ รวมถึงการจัดซื้อที่ถูกจับตามองมากที่สุด เรือดำน้ำ S26T Yuan Class รวมมูลค่าการจัดซื้อไม่รวมระบบต่อสู้อากาศยานอื่นๆ เป็นจำนวนกว่า 4.3 หมื่นล้านบาท 

ส่วนประเทศยูเครนนั้น ไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการเมืองในช่วงปลายปี พ.ศ.2534 และเริ่มจัดซื้อยุทโธปกรณ์ จากการจัดซื้อรถถังหลัก T-84 Oplot จำนวน 49 คัน และยานหุ้มเกราะ BTR-3E1 จำนวน 217 คัน รวมมูลค่ากว่า 1.6 หมื่นล้านบาท

ความร่วมมือพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงในไทย เกิดขึ้นท่ามกลางคำถามถึงความจำเป็น และเพื่อความมั่นคงของใคร ระหว่างผลประโยชน์ต่อประเทศชาติ หรือการจับมือเป็นคู่ค้ากับจีน 

โดยหลังจากนี้ จะมีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ตั้งโรงงานผลิตอาวุธรูปธรรม อีก 2 ครั้ง ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์และครั้งสุดท้ายภายในเดือนมีนาคม แต่ยังไม่สามารถระบุวันได้ 
 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://news.voicetv.co.th/thailand/458235.html

แชร์