เตรียมสร้าง 'Pipe jacking' 11 จุด ทางด่วนระบายน้ำ คาดใช้เวลาก่อสร้าง 10-13 เดือน

"Pipe jacking" หรือ ระบบดันท่อลอดใต้ดิน หรือเรียกอีกอย่างว่า "ท่อทางด่วนระบายน้ำ" คือวิธีการใหม่ที่สำนักการระบายน้ำจะนำมาใช้ในเร็วๆนี้ หลังได้รับงบประมาณจากรัฐบาลประมาณ 2,200 ล้านบาท จัดทำ Pipe jacking 11 จุด เฉลี่ย จุดละ 200 ล้านบาท http://winne.ws/n16095

4.6 พัน ผู้เข้าชม
เตรียมสร้าง 'Pipe  jacking' 11 จุด ทางด่วนระบายน้ำ  คาดใช้เวลาก่อสร้าง 10-13 เดือน

             เมื่อ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกมายอมรับ ว่า ท่อระบายน้ำของกทม. ที่ก่อสร้างไว้มานานหลายสิบปี มีขนาดเล็กเกินที่จะรองรับการระบายน้ำฝนที่ตกสะสมเกิน 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงท่อ ระบายน้ำทั่วกทม. ได้ เนื่องจากติดปัญหาระบบสาธารณูปโภคใต้ผิวดินอาจได้รับความเสียหาย รวมทั้งต้องปิดผิวจราจร ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาจราจรตามมา  ดังนั้น กทม.ต้องหาวิธีใหม่ในการแก้ปัญหา  

เตรียมสร้าง 'Pipe  jacking' 11 จุด ทางด่วนระบายน้ำ  คาดใช้เวลาก่อสร้าง 10-13 เดือน

               "Pipe jacking" หรือ ระบบดันท่อลอดใต้ดิน หรือเรียกอีกอย่างว่า "ท่อทางด่วนระบายน้ำ" คือวิธีการใหม่ที่สำนักการระบายน้ำจะนำมาใช้ในเร็วๆนี้  หลังได้รับงบประมาณจากรัฐบาลประมาณ 2,200 ล้านบาท จัดทำ Pipe jacking 11 จุด เฉลี่ย จุดละ 200 ล้านบาท  การติดตั้ง จะเริ่มในพื้นที่ 11 แห่ง ที่มีลักษณะลุ่มต่ำ จุดเสี่ยงน้ำท่วมเสมอ และมีระยะเวลาน้ำท่วมนาน  ซึ่งจะสามารถรองรับน้ำฝนสะสมได้ 80 มิลลิเมตรต่อวัน เรียกได้ว่า ถ้าติดตั้งเสร็จ น้ำจะไม่ท่วม แต่ถ้าฝนตกเกิน 80 มิลลิเมตรต่อวัน จะสามารถระบายน้ำได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง จากปกติ ใช้เวลา 4-6 ชั่วโมง

11 แห่ง  ติดตั้ง "Pipe jacking"  ใช้เวลาก่อสร้าง 10-13 เดือน 

             - 8 แห่ง  ประกวดราคาได้ผู้รับจ้าง พร้อมก่อสร้างเดือนสิงหาคมนี้  คือ สุขุวิท21 (อโศกมนตรี) , ซอยสวัสดี ,ถนนทรงสวัสดิ์ เยาวราช เจริญกรุง , สุขุมวิท 4(นานาใต้) ,สุขุมวิท 14  , ถนนนราธิวาสราชครินทร์17 ถนนสวนพลู  , ถนนพหลโยธิน แยกเกษสตรศาสตร์ และ ซอยสุขุมวิท 107 ถึงคลองบางนา 

            -ส่วนอีก  3 แห่ง อยู่ระหว่างประกวดราคา คาดก่อสร้างเดือน กันยายนนี้  คือ ถนนศรีอยุธยา ถนนพระราม6 , ถนนสุขุมวิท 63 (เอกมัย) และ สุขุมวิท 39

เตรียมสร้าง 'Pipe  jacking' 11 จุด ทางด่วนระบายน้ำ  คาดใช้เวลาก่อสร้าง 10-13 เดือน

                 วิธีการสร้าง  "Pipe jacking" คือการก่อสร้างบ่อรับและบ่อดันท่อ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.50-2 เมตร ความลึก 5-6 เมตร จุดบ่อยาวห่างกันระยะ 200 เมตร หลังจากนั้นติดตั้งอุปกรณ์ดันท่อในบ่อดัน และติดตั้งหัวเจาะกับปลายท่อ ค.ส.ลที่นำมาดัน และติดตั้งท่อเข้ากับอุปกรณ์ดันต่อเป็นขั้นสุดท้าย  ซึ่งวิธีนี้ไม่ต้องเปิดผิวจราจรทั้งหมดเพื่อวางท่อใหม่ และสามารถทำได้ในช่วงเวลา  22.00-04.00 น. 

              ลักษณะการระบายน้ำ ของ "Pipe jacking" ทำหน้าที่เหมือนท่อทางด่วนระบายน้ำ ในจุดที่มีน้ำท่วมขัง น้ำฝนจะไหลลงบ่อรองรับ มีเครื่องสูบส่งน้ำผ่านไปท่อ Pipe jacking ไปสู่คูคลองเพื่อระบายน้ำได้เร็ว  เรียกได้ว่มีลักษณะการทำงานเหมือนอุโมงค์ระบายน้ำขนาดย่อม
    
                นอกจากนี้ การเตรียมพื้นที่รองรับน้ำ หรือ พื้นที่แก้มลิง ของกรุงเทพมหานคร พบว่ายังไม่เพียงพอ ปัจจุบันมี แก้มลิงใช้ที่สาธารณะ พื้นที่ของรัฐ และเอกชนบางส่วน  25 แห่ง  รองรับน้ำได้  13,045,055 ลูกบาศก์เมตร  แบ่งเป็นฝั่งพระนคร  23 แห่ง รองรับน้ำได้ 7 ล้านลูกบาศก์เมตร  และ ฝั่งธนบุรี 2 แห่ง รองรับน้ำ ได้  5 ล้านลูกบาศก์เมตร 

ขอขอบคุณคลิปจาก HOBAS Group

                ขณะที่ ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฝั่งพระนคร ยังมีพื้นที่แก้มลิงไม่เพียงพอ  ยังขาดอีก 5 ล้านลูกบาศก์เมตร  โดยจะต้องเวรคืนที่ดินประมาณ 900 ไร่  โดยบางส่วนอยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์ 

             และอีก 2 พื้นที่ อยู่ระหว่างก่อสร้าง คือ บึงรับน้ำหมู่บ้านสัมมากร และสวนน้ำเสรีไทยช่วยคลองรหัสถึงคลองครุ รับน้ำได้ 316,900 ลูกบาศก์เมตร


ขอขอบคุณภาพจาก https://www.google.co.th

ขอขอบคุณแหล่งข่าวจาก http://news.voicetv.co.th

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ http://news.voicetv.co.th/thailand/495256.html

แชร์