ไอเดียค่าแรง 700 บาทต่อวัน จะเป็นไปได้จริงหรือไม่..?

การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 700 บาท ดังกล่าว น่าจะกระทบกับภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งรัฐจำเป็นที่ต้องเข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าว รวมไปถึงสวัสดิการของผู้ทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ ก็ควรจำเป็นที่ต้องเพิ่มขึ้นด้วย http://winne.ws/n18785

635 ผู้เข้าชม
ไอเดียค่าแรง 700 บาทต่อวัน จะเป็นไปได้จริงหรือไม่..?แหล่งภาพจาก มติชน

หลังจากค่าแรงถูกแช่แข็งมานาน เมื่อการปรับรอบล่าสุดต่ำสุดบางแห่งได้เพิ่มแค่ 5 บาท และไม่ทั่วกันทั้งประเทศ ไอเดียค่าแรง 700 บาทเป็นไปได้จริงหรือไม่?

1 มกราคม 2560 ได้มีการปรับค่าแรงครั้งล่าสุด หลังจากถูกแช่แข็งมาตั้งแต่การปรับค่าแรง 300 บาทต่อวัน ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร การปรับรอบล่าสุดนั้นที่ประชุมบอร์ดค่าจ้าง ได้มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2560 อีก 5-10 บาททั่วประเทศ ส่งผลให้ค่าแรงขั้นต่ำปรับเป็น 305-310 บาท ซึ่งการปรับค่าจ้างแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำไม่สอดคล้องกับเงินเฟ้อและสภาพเศรษฐกิจ

ล่าสุดคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้เรียกร้องให้ยกเลิกการคิดค่าจ้างขั้นต่ำของกระทรวงแรงงานแบบเดิม ที่จะพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำในปี 2561 เพราะไม่เพียงพอต่อการค่าครองชีพในแต่ละวัน โดยต้องการให้นิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้า ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัวอีก 2 คน ซึ่งควรอยู่ที่วันละ 600-700 บาท เรื่องนี้สามารถทำได้จริงหรือเป็นเพียงความฝันกันแน่?

ค่าแรงขั้นต่ำ คือสวัสดิภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแรงงาน

ผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวีพูดคุญกับ ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์. วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ศึกษาด้านแรงงานไทยมายาวนาน โดยกล่าวว่าค่าแรงขั้นต่ำเป็นหลักที่ควรคำนึงถึงความจำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ไม่ใช่แค่เพียงคำนวนเป็นต้นทุนของนายทุนเท่านั้น  ซึ่งกระบวนการเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำให้สามารถตอบสนองปัจจัยพื้นฐาน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  โดยคำนวนว่าเมื่อคนเราทำงาน 8 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ค่าแรงดังกล่าว โดยที่ไม่ต้องเบียดเบียนด้วยการต้องใช้เวลาทำงานล่วงเวลา

ดร.ษัษฐรัมย์ยังกล่าวว่า แนวคิดเรื่องค่าแรง 700 บาทนั้น สามารถทำได้ และทำได้ทันทีโดยยกตัวอย่างว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีกำลังซื้ออันดับท้าย ๆ ของโลกจากการจัดอันดับคือ 95 จาก 115 ประเทศ ในขณะที่ชาติที่ขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทยอย่างมาเลเซียกับอยู่อันดับที่ 50 หรือยกตัวอย่างไต้หวันที่มีค่าครองชีพพอกับไทย แต่ยังมีค่าแรงที่สูงกว่าไทยถึง 3 เท่าตัว 

เมื่อพูดถึงการปรับตัวของผู้ประกอบการ ษัษฐรัมย์ชี้ว่า ภาคอุตสาหกรรมควรจะปรับตัวให้เข้ากับยุค Digital Economy เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้แทนการใช้แรงงานเข้มข้น แต่ก็ยอมรับว่าการขึ้นค่าแรงดังกล่าว น่าจะกระทบกับภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งรัฐจำเป็นที่ต้องเข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าว รวมไปถึงสวัสดิการของผู้ทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ ก็ควรจำเป็นที่ต้องเพิ่มขึ้นด้วย

ส่วนด้านการปรับค่าแรงขั้นต่ำครั้งล่าสุดเมื่อต้นปี 2560 โดยปรับไม่เท่ากันทั่วประเทศ      ดร.ษัษฐรัมย์ แจงว่าจำเป็นต้องก้าวข้ามมายาคติต่าง ๆ ว่าในแต่ละจังหวัดค่าครองชีพไม่เท่ากันได้แล้ว เนื่องจากว่าปัจจัยขั้นพื้นฐานในแต่ละที่อยู่ในราคาที่ใกล้เคียงกัน อีกทั้งในหลายจังหวัดทุนภายในจังหวัดก็เริ่มแผ่ขยายมากขึ้นด้วย

ที่มา: https://news.voicetv.co.th/thailand/523285.html

แชร์