ทุ สะ นะ โส : บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น

ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว http://winne.ws/n23317

5.4 หมื่น ผู้เข้าชม
ทุ สะ นะ โส : บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น

          วันคืนล่วงไปๆ สรรพสิ่งและสรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ไม่ว่าเป็นต้นไม้ ใบหญ้า รถรา บ้านช่อง คน สัตว์ สิ่งของทั้งหมดเหล่านี้ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เหมือนดอกไม้ แต่เดิมเราเคยเห็นมันเป็นต้นเล็กๆ ไม่นานก็เจริญเติบโตขึ้น แตกใบแผ่กิ่งก้านสาขา ผลิดอกออกผล ให้ความสดชื่นแก่ทุกชีวิต แต่ไม่นานดอกไม้ที่ดูสวยสดงดงามนั้น ก็เหี่ยวแห้งร่วงโรยไปตามกาลเวลา ชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลาย เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต

                                      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า

                                                         “ยาทิสํ วปเต พีชํ        ตาทิสํ  ลภเต ผลํ

                                                       กลฺยาณการี กลฺยาณํ    ปาปการี จ ปาปกํ

 บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว”

ทุ สะ นะ โส : บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น

          ทำให้เราเกิดความสงสัยว่ากรรมดีกรรมชั่วที่ทำไปแล้วอยู่ที่ไหน จะลองเปรียบเทียบจากอุปมาของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ สมมติว่า ชาวนาปลูกข้าวสาลีต้นหนึ่ง ต้นข้าวสาลีก็ค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้น โดยดูดซึมสารอาหารแร่ธาตุจากปุ๋ย น้ำ ดิน อากาศ ลำต้นทำหน้าที่ดูดซึมส่งอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้นทั้งหมด และทำให้เกิดเมล็ดผลข้าวซึ่งอุดมไปด้วยโอชะต่างๆ พร้อมที่จะนำมาบริโภคและใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ต่อไป

ทุ สะ นะ โส : บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น

         จวบถึงวันเก็บเกี่ยวข้าว ชาวนาคัดเลือกเอาเมล็ดข้าวไปขาย ส่วนหนึ่งก็เอามาทำเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อเกิดเป็นต้นข้าวสาลีต่อๆ ไป เปรียบเทียบกับหมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยรูปกายกับจิตวิญญาณ รูปกายเปรียบเหมือน ลำต้นที่นำเอาสารอาหารทุกอย่างรอบข้างมาหล่อเลี้ยง จิตเปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่คอยเก็บสารอาหารที่ลำต้นส่งมา 

ทุ สะ นะ โส : บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น

          ฉะนั้นรูปกายจึงเป็นอุปกรณ์ของจิตที่ใช้สร้างกรรมที่ผ่านมาจากการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ แล้วทุกการกระทำจะถูกบันทึกไว้ที่จิต เพราะธรรมชาติจิตนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่อง29) เหมือนผ้าขาวเอาสีอะไรมาแต้มก็จะติดสีนั้นไปโดยปริยาย ดังนั้นกรรมทั้งหลายจึงถูกเก็บสั่งสมรวมที่จิตวิญญาณ ถามว่าจิตนั้นใหญ่มากถึงขนาดเก็บได้หมดเลยหรือ 

29)กายคตาสติสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 22 ข้อ 306 หน้า 393.


ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/พ่อม้าน้ำและแม่หมีกรีซลี่-1654901681297360

ขอบคุณบทความจาก http://www.kalyanamitra.org

ทุ สะ นะ โส : บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น

          อันนี้เปรียบเหมือนกระจกส่องเงาที่สามารถฉายภาพที่มากระทบได้ทั้งหมดทุกรายละเอียดปลีกย่อย จิตจึงเหมือนยุ้งฉางที่เก็บเมล็ดพันธุ์คือเชื้อกรรมทั้งหมด ทำหน้าที่เผล็ดผลแห่งกรรมทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า และชาติต่อๆ ไป กรรมประดุจเงาติดตามเจ้าของไปทุกที่ ทุกสถานทุกกาลเวลา

แชร์