วาทะมายาคติ : ผู้ถูกกล่าวหา VS ผู้ร้าย กรณีพระพรหมเมธี

สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความอ่อนด้อย และขาดหลักการที่ดีของระบบบ้านเมืองและประชาชนคนไทยในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น การสื่อมวลชน การรับรู้และวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ความไม่เข้าใจในระบบกระบวนการยุติธรรม ความไม่เข้าใจและไม่ตระหนักในเรื่องของสิทธิมนุษยชน http://winne.ws/n23982

1.8 พัน ผู้เข้าชม

การประโคมข่าวการตามจับตัวและการเดินทางออกนอกประเทศอดีตพระพรหมเมธี ในระหว่างสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อกวาดสายตาสำรวจพาดพัวข่าวแต่ละสำนักแล้วนับว่าสีสันจัดเต็มยิ่งกว่า Big Cinema จาก ผู้ถูกกล่าวหา  กลายเป็น ผู้ร้าย เรื่องพลิกไปแบบงงๆ 

ทั้งนี้เพราะ หากพิจารณาตามขั้นตอนของการดำเนินการแล้ว เรื่องดังกล่าวยังเป็นขั้นแรกคือ “การสอบสวน”เท่านั้น  ยังไม่มีการสั่งฟ้อง ซึ่งแม้มีการสั่งฟ้องโดยทางนิติศาสตร์และสิทธิมนุษย์แล้ว ก็ยังถือว่า บุคคลนั้นบริสุทธิ์  จนกว่าการสอบสวนพยาน หลักฐานต่างๆ เสร็จสมบูรณ์และศาลได้พิพากษา จึงจะถือเป็นอันสิ้นสุด ถึงตอนนั้น ถ้าผู้ถูกกล่าวหาบริสุทธิ์ ก็คือบริสุทธิ์  ถ้าผู้ถูกกล่าวหาถูกตัดสินว่าผิด จึงเรียกว่า ผู้กระทำผิด หรือ ผู้ร้าย

แต่ปฏิบัติการข่าว ที่สื่อสารด้วยจิตวิทยาทางภาษา สร้างวาทะมายาคติให้นัยยะที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง ทำลายเครดิตของบุคคลแทบไม่เหลือความเป็นธรรมใดๆให้   จนกระทั้งกลายเป็นกระแสชี้นำ ไปสู่การมีเหตุผลอันสมควรที่จะเอาผิดต่อบุคคลนั้นๆได้ในที่สุด  จะเรียกว่า “การข่าวเชิงประชาทัณฑ์” ก่อนจะมีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอย่างถูกต้อง ก็สามารถกล่าวได้

ถึงวันนี้, ประเด็นประโคมของสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งหมด  กลายเป็นเพียงโคมลอยที่หายไปในอากาศ  ถามว่า วาทะกรรม ทั้งหมดที่สร้างความเข้าใจผิด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างภาพว่าเป็น ผู้ร้ายข้ามแดน ใครรับผิดชอบ ?! 

วาทะมายาคติ : ผู้ถูกกล่าวหา VS ผู้ร้าย กรณีพระพรหมเมธี

แต่ พระพรหมเมธี  ขณะนี้อยู่ในระหว่างยืนเรื่องขอลี้ภัยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดย สำนักงานดูแลผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ( Federal Office for Migration and Refugees(BAMF)) ด้วยเหตุผลว่า เพราะกระบวนการยุติธรรมของไทย ยังไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ ไม่โปร่งใสและตรวจสอบไม่ได้ เพราะประเทศยังอยู่ในสถานการณ์พิเศษมีกฎหมายที่ไม่ได้มาจากประชาชน หากกลับไปต่อสู้คดีอาจจะไม่ได้รับความยุติธรรมอย่างที่ควรจะเป็น  ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการพิจารณา 2 เดือน  ถือว่าเป็นระยะเวลาที่ไม่นานเกินไป 

การขอลี้ภัย เป็นสิทธิมนุษยชน ที่ทั่วโลกให้การยอมรับ  ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง ซึ่งแม้จะเป็น ผู้ร้ายที่หนีการจับคุมของเจ้าหน้าที่  ก็มีสิทธิสามารถยื่นคำร้องขอลี้ภัยได้ 

สิ่งทีเกิดขึ้นกับ อดีตพระพรหมเมธี สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความอ่อนด้อย และขาดหลักการที่ดีของระบบบ้านเมืองและประชาชนคนไทยในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น  การสื่อมวลชน การรับรู้และวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารของประชาชน  ความไม่เข้าใจในระบบกระบวนการยุติธรรม ความไม่เข้าใจและไม่ตระหนักในเรื่องของสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นสิ่งที่นานาอารยประเทศให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการจะปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ในทุกกรณี 


โดย  โฆษิกา


ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปมเจ้าหน้าที่จับพระผู้ใหญ่
https://www.matichon.co.th/politics/news_981395

เปิดคำขอลี้ภัย อดีตพระพรหมเมธี
http://www.naewna.com/local/343286

แชร์