พระพุทธศาสนา ตอนที่ 10 : กฎแห่งกรรม (1) !!!

กรรม คือ การกระทำทางกาย วาจา หรือ ใจ โดยเจตนา คนเราเกิดมามีความแตกต่างกัน เนื่องจากกรรมของตนเอง นั่นคือ "กฎแห่งกรรม" ถ้าเราทำกรรมดี เราย่อมได้รับผลดีในที่สุด อนาคตของเราจะโชคดีหรือเคราะห์ร้ายขึ้นกับกรรมในปัจจุบันชาติของเราเอง http://winne.ws/n24913

2.6 พัน ผู้เข้าชม

เรามาศึกษาพระพุทธศาสนา ผ่านการพูดคุยของคนที่อยากรู้ตัวจริง

พระพุทธศาสนา ตอนที่ 10 : กฎแห่งกรรม (1) !!!

แอลัน : พร ผมอยากจะเลิกสอนภาษาอังกฤษ

                ให้เพื่อนคุณแล้วแหละ

พร        : ทำไมล่ะ เขาไม่ขยันเรียนเหรอ ?

แอลัน : เขาเรียนไปแล้ว ก็จำอะไรไม่ค่อยได้

                 ถึงแม้ผมจะทบทวนบทเรียนเก่าให้

                 ก่อนที่จะขึ้นบทใหม่

พร        : เขาอาจจะไม่มีพรสวรรค์ทางด้าน

                ภาษา

แอลัน : ผมคิดว่าเขาหัวทึบนะ

พร        : สิ่งที่คุณพูด ทำให้ผมคิดถึงความ

                แตกต่างระหว่างบุคคล  บางคนหัวไว

                มาก  แต่บางคนก็หัวขี้เลื่อย  บางคน

                หน้าตาดี  แต่บางคนก็ขี้เหร่

               คุณคิดว่าอะไรทำให้คนเราต่างกัน

แอลัน : ผมคิดว่ายีนทำให้คนเราแตกต่างกัน

พร        : ทำไมคนบางคนเกิดมาก็คาบช้อนเงิน

                ช้อนทองมาทีเดียว  ส่วนบางคนเกิด

                มายากจนข้นแค้น  อะไรเป็นสาเหตุ

                ทำให้เกิดมาต่างกัน

แอลัน : ไม่รู้ซิครับ คุณคิดว่าอะไรล่ะ ?

พร        : ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น

                สัตว์โลกมีความแตกต่างกันมาก

                มนุษย์กับสัตว์มีความแตกต่างกัน

                มากเป็นพิเศษ ความแตกต่างเหล่านี้

                เนื่องจากกรรมของตนเอง

แอลัน : กรรมคืออะไร ครับ ?

พร        : กรรมเป็นภาษาบาลี หมายถึง

                “การกระทำโดยเจตนา

                กรรม คือ การกระทำทางกาย

                วาจา และ ใจ โดยเจตนา

                ในเรื่องกฎแห่งกรรม

                ถ้าเราทำกรรมดีเราย่อมได้รับผลดี

                ในที่สุด  และถ้าเราทำกรรมชั่ว

                เราย่อมได้รับผลร้ายหรือ

                ความทุกข์ในที่สุด

แอลัน : คนเราจะรู้ได้อย่างไรว่า

                กรรมดีจะก่อให้เกิดสุข 

                กรรมชั่วจะก่อให้เกิดทุกข์

พร        : เวลา จะเป็นเครื่องบ่งบอก

                กรรมบางอย่างก็ให้ผลทันตาเห็น

                แต่กรรมบางอย่างก็ให้ผลในภายหลัง

                เท่านั้น  เป็นการยากที่จะมองเห็น

                ความเชื่อมโยง (ไปหาเหตุ)

                กรรมสามารถแสดงผลในปัจจุบันชาติ

                หรือชาติหน้าหรืออีกหลาย ๆ ชาติ

                ในอนาคต

แอลัน : คนเราจะรู้ถึงผลกรรมในภพชาติต่อ ๆ

                ไปได้อย่างไร ? 

พร        : เป็นเรื่องเข้าใจยากมาก  นอกจาก

                เราจะฝึกสมาธิจนมีญาณระลึกชาติได้

                อย่างไรก็ตาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

                และพุทธอริยสาวกทั้งหลาย ย่อม

               สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในผลกรรม

                ระยะยาวได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น

                พระมหาโมคคัลลานะซึ่งถูกโจร

                ทุบตายพระพุทธองค์ตรัสว่า เรื่องนี้

                เป็นผลกรรมที่พระมหาโมคคัลลานะ

                เคยพาพ่อแม่ซึ่งตาบอดเข้าไปในป่า

                แล้วทุบตายในอดีตชาติ

แอลัน : เรื่องที่คุณเล่านี้ คือ ผลกรรมใน

                ชาติก่อนใช่ไหมครับ ?

พร        : ถูกแล้วครับ พระมหาโมคคัลลานะ

                ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในนรกเป็น

                หมื่น ๆ ปี หลังจากนั้นเกิดเป็นมนุษย์

                ก็ถูกฆ่าตายอีกเป็นร้อยชาติติดต่อกัน

                และชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย

แอลัน : พระมหาโมคคัลลานะ เป็น

                พระอรหันต์ใช่ไหมครับ ?

พร        : ครับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า

                ยามที่เราตายเราต้องละทุกสิ่งไว้

                เบื้องหลังยกเว้นกรรมเท่านั้นที่จะ

                ติดตามเราไปเหมือนเงาตามตัว

                และไม่มีสถานที่แห่งใด ไม่ว่าใน

                โลกมนุษย์ หรือบนสวรรค์ ที่

               คนเราจะหนีกรรมพ้น เพราะฉะนั้น

               การกระทำของเราในปัจจุบันชาติ

                จึงสำคัญมาก เพราะอนาคตของเรา

                จะโชคดีหรือเคราะห์ร้ายขึ้นอยู่กับ

                กรรมในปัจจุบันชาติของเราเอง

 

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ : อ. สุวณีย์ ศรีโสภา (Cr. ครูบาอาจารย์ผู้ทุ่มเท)

ขอขอบคุณรูปภาพ : กฎแห่งกรรม

แชร์