พระพุทธศาสนา ตอนที่ 10 : กฎแห่งกรรม (2) !!!

กฎแห่งกรรมก็เหมือนกับกฎของนิวตัน เมื่อเราพูดถึงกฎแห่งกรรม เราจะมุ่งประเด็นไปที่ทั้งการกระทำและปฏิกิริยาตอบสนอง เจตนากระทำ คือ “กรรม” วิบากของกรรมคือ “ปฏิกิริยาตอบสนอง” http://winne.ws/n24939

1.7 พัน ผู้เข้าชม

เรามาศึกษาพระพุทธศาสนา ผ่านการพูดคุยของคนที่อยากรู้ตัวจริง

พระพุทธศาสนา ตอนที่ 10 : กฎแห่งกรรม (2) !!!https://ih0.redbubble.net/image.527458504.3954/flat,550x550,075,f.u11.jpg

แอลัน :  นี่หมายความว่า ชาวพุทธทุกคน

             ต้องเกิดอีก ใช่ไหมครับ ?

พร      :  ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น

             สิ่งที่ร้อยรัดเราไว้ในวัฏสงสาร ก็คือ

             กิเลส อันได้แก่ โลภ โกรธ หลง

             หมายความว่า สัตว์โลกทั้งหลายที่ยัง

             มีกิเลสอยู่ก็จะต้องเวียนเกิดอย่าง

             ไม่มีที่สิ้นสุดโดยไม่มีข้อยกเว้น

แอลัน :  นี่เป็นความรู้ใหม่ของผมทีเดียว

             แล้วผมจะต้องเกิดอีกไหม เกิดที่ไหน

             ในเมืองไทย ในอังกฤษ หรือที่อื่น

             และมีฐานะอย่าง รวยหรือจน

              มีอิสระในการเลือกไหม ?

พร      :  ทางเลือกนั้นต้องทำในชาตินี้

             เพราะ กรรมในชาตินี้คือ

             ตัวกำหนดชีวิตหน้า

แอลัน :  คุณพูดว่า คุณต้องเลือกการเกิดใน

            ชาติหน้า ตั้งแต่ในชาตินี้

พร      : ครับผมพูดเช่นนั้น  ตามหลักพระ

             พุทธศาสนา กรรมเป็นตัวกำหนด

             ชาติหน้า หมายความว่ากรรมที่

             เราก่อขึ้นในปัจจุบันถ้ายังไม่ออกผล

             ในชาตินี้ ก็จะออกผลในชาติหน้า

             หรือภพชาติต่อ ๆ ไป

แอลัน :  หมายความว่า ชาติหน้าเราจะเกิด

             เป็นอะไรนั้น กรรมในปัจจุบันจะเป็น

             ตัวกำหนดเงื่อนไข ใช่ไหมครับ ?

พร       : ถูกแล้วในทำนองเดียวกัน สภาวะ

             ที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันชาติก็ถูก

             กำหนดมาโดยกรรมในอดีตชาติ

             ดังนั้น ถ้าเราปรารถนาจะเกิดมามี

             ชีวิตที่รุ่งเรืองในชาติหน้า

             เราก็ต้องสร้างบุญกุศลในชาตินี้

             นี่คือความหมายของคำว่า

             “เลือกเกิด” ในชาติหน้า

แอลัน :  เมื่อคิดถึงความทุกข์ทรมานที่เกิดจาก

             ผลกรรมชั่วแล้วน่าสยดสยองนะครับ

พร      : ผมคิดว่าการเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม

             มีประโยชน์มากทีเดียว โดยเฉพาะ

             อย่างยิ่ง “ชนกกรรม” เมื่อเราเข้าใจ

             ว่ากรรมทุก ๆ อย่างจะมีผลตอบสนอง

             กลับมาเท่าที่เราลงมือกระทำไป

             เราย่อมจะหลีกเลี่ยงการประพฤติชั่ว

             เลวทรามได้ เมื่อเราเข้าใจว่ากรรมดี

             ให้ผลเป็นความสุข เราย่อมจะหลีก

             เลี่ยงกรรมชั่วและพยายามสร้างแต่

             กรรมดีเท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความทุกข์

แอลัน :  พร เมื่อกี้คุณพูดถึงเรื่องการกระทำ

             และปฏิกิริยาสนองตอบ นั่นคือ

             กฎทางฟิสิกส์ ใช่ไหม ?

พร     :  ครับ  นิวตัน บัญญัติกฎนี้ขึ้นมาว่า

            การกระทำทุก ๆ อย่างต้องได้รับ

            ปฏิกิริยาสนองตอบเหมือนกันและ

            เท่ากัน  กฎแห่งกรรมก็เหมือนกับ

            กฎของนิวตันนี่แหละ  ทั้งนี้เพราะ

            เมื่อเราพูดถึงกฎแห่งกรรมเราจะ

            มุ่งประเด็นไปที่ทั้งการกระทำ และ

            ปฏิกิริยาตอบสนอง  เจตนากระทำ

            คือ “กรรม” ส่วนวิบากของกรรม

            คือ “ปฏิกิริยาตอบสนอง”

แอลัน : เข้าใจแล้วครับ เรื่องเหตุและผลไม่ได้

            มีเฉพาะในเรื่องอริยสัจ 4 เท่านั้นนะ

            ยังมีในกฎแห่งกรรมด้วย

พร      : ถูกแล้วครับ  เราจะพบเรื่องกฎแห่ง

            เหตุและผลได้ ในพระธรรมเทศนา

            ของพระพุทธองค์จำนวนมาก

แอลัน : แต่ผมยังสงสัยเรื่องผลของการกระทำ

            โดยไม่ได้เจตนาอยู่ครับ

พร      : อ๋อ  ผมเข้าใจว่าคุณหมายถึงอะไร

            ท่านกล่าวว่า การกระทำโดยไม่

            เจตนาจะไม่ส่งผลในอนาคต

            สมมติว่ายุงเกาะแขนคุณ แล้วคุณก็

            ตบมันตาย การกระทำเช่นนี้มีเจตนา

            เพราะฉะนั้นถือว่าเป็นกรรมที่จะต้อง

            เกิดผลแน่ ๆ แต่ในขณะที่คุณกำลัง

            นอนหลับแล้วทับยุงตายโดยไม่รู้ตัว

            การกระทำของคุณไม่มีเจตนา

            ฉะนั้น การกระทำของคุณจึงไม่ก่อ

            ให้เกิดผลในอนาคต ทั้งสองกรณีนี้

            ใช้ได้กับการกระทำโดยเจตนาและ

            ไม่เจตนาในเรื่องอื่น ๆ ด้วย

แอลัน : ผมสบายใจที่ได้ยินอย่างนี้ เพราะ

            เมื่อวานผมขับรถทับลูกหมาตาย

            โดยไม่ได้เจตนา

พร     :  การกระทำโดยไม่เจตนาชื่อว่าเป็น

            กรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลเพราะไม่มี

            ผลทางด้านศีล อย่างไรก็ตาม ควร

            หลีกเลี่ยงการทำลายชีวิตกันดีกว่า

            ถึงจะทำด้วยไม่มีเจตนาก็ตามเพราะ

            สัตว์โลกทั้งหลายย่อม

            “รักและหวงแหน” ชีวิตทั้งสิ้น

  

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ : อ. สุวณีย์ ศรีโสภา (Cr. ครูบาอาจารย์ผู้ทุ่มเท)

ขอขอบคุณรูปภาพ : กฎแห่งกรรม/2

แชร์