สันโดษ กับ อุเบกขา ต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ???

สันโดษ กับ อุเบกขา เหมือนจะต่างกัน แต่จริง ๆ สุดท้ายคือเหมือนกัน http://winne.ws/n26369

3.2 พัน ผู้เข้าชม
สันโดษ กับ อุเบกขา ต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ???

เรายังจำท่าอุเบกขาเพื่อบริหารสมองให้สมดุลทำงานได้ดี กันได้มั๊ย?

สันโดษ กับ อุเบกขา ต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ???การบริหารสมองท่าอุเบกขาโดย Mahidol Channel

การบริหารสมองท่าอุเบกขานี้ จะทำให้ตัวเราเฉย รู้ และปล่อยวางอารมณ์ต่าง ๆ เช่น เศร้า โกรธ กลัว หรืออารมณ์ไม่พึงปรารถนาต่าง ๆ

แต่วันนี้เราจะมาพิจารณาเรื่อง สันโดษและอุเบกขา ว่าต่างหรือเหมือนกันอย่างไร

สันโดษ คือ ความพอใจในสิ่งที่ตนเองมี หรือในสิ่งที่ตนเองเป็น

เช่น รูปร่างหน้าตา สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตัวเราต้องอยู่ด้วย เป็นต้น

ปัจจุบัน ผู้คนที่ไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาของตนเอง ก็พึ่งศัลยกรรม ถ้าพอมีบุญและทำพอประมาณ ก็อาจสวยหรือหล่อขึ้นได้ทันใจ ไม่ต้องไปเกิดใหม่ แต่หลายคนก็ยังคงมีกรรมและติดเสพศัลยกรรม คือยิ่งทำก็ยิ่งแย่ แถมแย่ไปกว่าเดิมอีก เช่น ดาราฮอลลีวูดดัง ๆ ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างมากมาย

หลายคนไม่พอใจในรูปร่างตนเอง เช่น สูงไม่พอ ก็ใส่ส้นสูง จนมีผลต่อสุขภาพ ทั้งปวดหลัง ปวดเข่า ปวดขา

หลายคนมีเงินซื้อได้แค่รถฮอนด้า ก็ทะเยอทะยานทำอะไรเกินตัว ไปซื้อเบนซ์จนต้องเป็นหนี้

หรือหลายคนมีเงินซื้อได้แค่บ้านทาวน์เฮ้าส์ แต่อยากได้บ้านเดี่ยว ก็ยอมเป็นหนี้ ผ่อนจนเกือบตาย เป็นต้น

ถ้าจะให้ดี ก็ต้องพอใจในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนเองมีหรือในสิ่งที่ตนเองเป็น มองเห็นคุณค่าของตนเอง เช่น เราเกิดมาจะสวยหรือหล่อได้ขนาดไหน มันก็คือตัวเรา เรามีความรู้ความสามารถเท่าไหน เราทำอะไรได้ เราก็ต้องยอมรับความเป็นจริง เราเป็นได้แค่ลูกน้อง เป็นได้แค่ลูกจ้าง ก็ก้มหน้าก้มตาทำไปก่อน ส่วนที่เราอยากพัฒนาตนเองให้เป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นหัวหน้า นับเป็นความคิดที่ดี ก็พยายามพัฒนาตนเองไปให้ถึงเป้าหมายให้ได้ แต่ถ้ายังทำไม่ได้ ให้เราดูปัจจุบัน เราทำได้แค่ไหนระดับไหนก็ทำแค่นั้นระดับนั้น เรามีได้แค่ไหนเราก็ยอมรับแค่นั้น อย่างนี้จึงเรียกว่า “สันโดษ”  

อุเบกขา คือ การปล่อยวาง สุดยื้อแล้วจึงปล่อยมือ

ถ้าเทียบอุเบกขาใน “พรหมวิหาร 4” อุปมาเหมือนลูก 4 คน

1.   ลูกที่ยังเด็ก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เราก็ให้ความเมตตา ให้เขามีความสุข

2.   ลูกที่ป่วย เราก็ลงมือช่วย ดูแล เฝ้าไข้ เราให้ความกรุณา เพราะอยากให้เขาพ้นทุกข์

3.   ลูกแต่งงาน เราก็มุทิตา คือ ยินดีกับเขาด้วย

4.   ลูกแยกบ้านออกไป เราก็ไม่ต้องตามไปประคบประหงมแล้ว ต้องช่างเขา ต้องอุเบกขา คือ ปล่อยวาง

คำว่า “อุเบกขา” ไม่ใช่ไม่ช่วย คือเราช่วยจนสุดยื้อแล้วจึงปล่อยวาง ใช้ได้กับทุกสถานการณ์

ตัวอย่าง เช่น มีเพื่อนที่คิดลบมาก ๆ เราได้พยายามเป็นกัลยาณมิตรให้ พยายามให้ข้อคิดมุมมองใหม่ ๆ  ชี้แนะสิ่งควรไม่ควร แยกแยะสิ่งผิดสิ่งเลวให้ก็แล้ว เหมือนรู้ทุกอย่าง เขาก็พยายามทำตามคำแนะนำ แต่ทำได้แค่ 2-3 วัน ก็กลับไปเหมือนเดิม เราก็ตั้งใจเป็นกัลยาณมิตรให้อีกทำซ้ำ ๆ กว่า 6 เดือน ก็เหมือนเดิมทุกครั้งไป เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็พิจารณากลับมาที่ตัวเราเองว่าเรารู้สึกแย่ๆ เพราะเจอแต่เรื่องลบ ๆ ทุกวัน ๆ อยู่ใกล้แล้วมีแต่เรื่องร้อน ๆ ถ้าตัวเราเป็นดอกไม้ก็เหี่ยวเฉา เป็นน้ำก็เน่าเหม็น ที่สำคัญหน้าใส ๆ ของเรากลายเป็นหน้าหมองจนคนที่บ้านทัก เราก็ต้องตัดสินใจอุเบกขาได้แล้วกับเพื่อนคนนี้ เพราะช่วยสุด ๆ ละ รับไม่ไหวละ ช่างมันเถอะ ปล่อยวางไปซะ ให้ทำตัวเราเหมือนแผ่นดิน ใครเอาน้ำหอมมาราดรดก็เฉย โดนบ้วนน้ำลายก็เฉย ถูกนำไปปั้นเป็นพระพุทธรูปก็เฉย เฉยคือนิ่ง ไม่มีอารมณ์ร่วม ไม่รับรู้ ไม่ยินดียินร้าย ห่างๆ ไว้

สันโดษ กับ อุเบกขาเหมือนกันตรงที่ ให้ยอมรับความเป็นจริง หลังจากได้พยายามทำดีที่สุดแล้ว เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีหรือสิ่งที่เป็น ฉะนั้นให้เราปล่อยวาง ปล่อยให้มันเป็นไป โดยเราต้องทำใจไม่สุขและไม่ทุกข์ ทำใจกลาง ๆ มันเป็นเช่นนั้นเอง เราทำได้แค่นั้นเอง เราทำมาเอง ถ้าเราอยากสวยอยากหล่ออยากรวยอยากฉลาด ก็ต้องทำตามคำพระสอนที่ว่า “อยากสวยอยากหล่อต้องถือศีล 5 ให้เคร่งครัด อยากรวยต้องขยันทำบุญทำทาน และถ้าอยากฉลาดเป็นเจ้าคนนายคน ฉลาดในการกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ต้องนั่งสมาธิให้เกิดปัญญา

สรุป อาจกล่าวได้ว่า คำว่า “สันโดษ” เป็นการพิจารณาเฉพาะเกี่ยวกับตนเอง หมายความว่า เมื่อเราอยากมีอยากเป็นอยากได้ แต่เมื่อไม่ได้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้จริงๆ ก็ให้พอใจและยอมรับกับความเป็นจริง ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง อยู่อย่างสันโดษไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ต้องไปซึมซับอารมณ์ผู้อื่น ไม่ต้องเก็บเข้ามาไว้ในใจ ให้เฉยให้นิ่งให้ได้ ส่วนคำว่า“อุเบกขา” เป็นการพิจารณาทั้งเกี่ยวกับตนเองรวมถึงผู้อื่น ไม่ใช่ไม่มีน้ำใจ แต่เราได้ช่วยเหลือจนสุดยื้อแล้ว ช่วยไปกี่ครั้งก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จนกระทั่งทำให้ตัวเราเริ่มเดือดร้อน ก็ให้ทำใจปล่อยวางไปซะ ให้เฉยให้นิ่งให้ได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม หากคนเรารู้จักสันโดษหรืออุเบกขา ก็นับว่าเป็นผู้มีปัญญาในการดำเนินชีวิต เพราะยิ้มสู้ และ รู้จักปล่อยวางนั่นเอง

 

ขอขอบคุณข้อมูล : na_diary (Cr. พระมหาวี)

ขอขอบคุณรูปภาพ : ท่าอุเบกขา

แชร์