ชาวเน็ตทึ่ง! ภูมิปัญญาการก่อสร้างเรือนแบบจีนโบราณช่วย “พระราชวังต้องห้าม” รอดน้ำท่วมใหญ่

พระราชวังต้องห้ามได้ใช้แบบการก่อสร้างเรือนจีนโบราณ โดยออกแบบให้พื้นมีการเทลาดตามหลัก “ทิศเหนือสูง ทิศใต้ต่ำ” เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ตามธรรมชาติ มีคูระบายน้ำรอบอาคารและบ่อพักน้ำ http://winne.ws/n6087

2.4 พัน ผู้เข้าชม

ภูมิปัญญาและความเฉลียวฉลาดของคนโบราณ 

           สื่อจีนรายงาน ชาวเน็ตชื่นชมภูมิปัญญาและความเฉลียวฉลาดในการระบายน้ำของคนโบราณ ช่วย “พระราชวังต้องห้าม” รอดน้ำท่วม

           พายุฝนที่พัดถล่มกรุงปักกิ่งอย่างหนักในช่วงสองสัปดาห์ที่แล้ว ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ การจราจรกลายเป็นอัมพาต และรถไฟความเร็วสูงจำเป็นต้องหยุดให้บริการเป็นการชั่วคราว ทว่า พายุฝนกลับไม่อาจทำให้ “พระราชวังต้องห้าม” ซึ่งตั้งอยู่ในนครปักกิ่งมีน้ำท่วมขังได้เลย 

การออกแบบ “พระราชวังต้องห้าม” 

         รายงานระบุว่า การก่อสร้างพระราชวังต้องห้ามได้ใช้แบบการก่อสร้างเรือนจีนโบราณ โดยออกแบบให้พื้นมีการเทลาดตามหลัก “ทิศเหนือสูง ทิศใต้ต่ำ” เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ตามธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างคูระบายน้ำรอบอาคาร ซึ่งจะส่งน้ำให้ไหลไปรวมกันที่บ่อพักน้ำภายในพระราชวังฯ ก่อนจะไหลต่อไปยังคลองระบายน้ำที่ล้อมรอบกำแพงพระราชวังด้านนอก 

           นอกจากนี้ พระตำหนักต่างๆก็ถูกสร้างขึ้นสูงจากพื้นหลายเมตร อาทิ พระที่นั่งไท่เหอ(太和殿) ได้ถูกสร้างบนฐานหินสามชั้นสูง 8 เมตร มีระบบระบายน้ำรอบอาคาร ได้แก่ท่อระบายน้ำรูปหัวมังกร จำนวน 1,142 จุด มองจากภายนอกคล้ายรูปปั้นหัวมังกรประดับอาคาร แต่เมื่อฝนตกหนัก หัวมังกรเหล่านี้จะกลายเป็นท่อระบายน้ำ น้ำไหลออกจากปากมังกร ดูคล้ายกับมังกรนับพันตัวกำลังพ่นน้ำ ทำให้ไม่มีน้ำท่วมขังอยู่ในบริเวณพระที่นั่ง

            ชาวเน็ตต่างพากันชื่นชมภูมิปัญญาและความเฉลียวฉลาดในการระบายน้ำของคนโบราณ บ้างก็บอกว่าระบบระบายน้ำของพระราชวังแม้จะสร้างไว้นานแล้ว แต่ยังคงใช้ได้ดีได้เหนือคำบรรยาย บ้างก็บอกว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังไม่สามารถเอาชนะของโบราณได้เลย 

ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก  (UNESCO) 

                    “พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม” หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “พระราชวังต้องห้าม” (Forbidden City) เป็นพระราชวังจักรพรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 1963 เดิมเป็นพระราชวังของจักรพรรดิในราชวงศ์หมิงและชิงรวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ และได้ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2468 ปัจจุบันยังคงเก็บรักษาไว้ในสภาพใกล้เคียงของเดิม และได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดย องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในฐานะที่เป็นสถาปัตยกรรมที่มีโครงสร้างไม้เก่าแก่จำนวนมากที่สุดในโลก 

โดย MGR Online

  • 1 สิงหาคม 2559

มีการสร้างคูระบายน้ำภายใน ซึ่งจะส่งน้ำให้ไหลไปรวมกันที่คลองภายในพระราชวังฯ ก่อนจะถูกระบายต่อไปยังคลองที่ล้อมรอบกำแพงพระราชวังด้านนอก (ภาพเอเจนซี)

ชาวเน็ตทึ่ง! ภูมิปัญญาการก่อสร้างเรือนแบบจีนโบราณช่วย “พระราชวังต้องห้าม” รอดน้ำท่วมใหญ่

ท่อระบายน้ำที่ออกแบบเป็นรูปหัวมังกร จะระบายน้ำออกจากตัวอาคารพระราชวังต้องห้าม (ภาพ เอเจนซี)

ชาวเน็ตทึ่ง! ภูมิปัญญาการก่อสร้างเรือนแบบจีนโบราณช่วย “พระราชวังต้องห้าม” รอดน้ำท่วมใหญ่

ท่อระบายน้ำที่ออกแบบเป็นรูปหัวมังกร จะระบายน้ำออกจากตัวอาคารพระราชวังต้องห้าม (ภาพ เอเจนซี)

ชาวเน็ตทึ่ง! ภูมิปัญญาการก่อสร้างเรือนแบบจีนโบราณช่วย “พระราชวังต้องห้าม” รอดน้ำท่วมใหญ่

มีการสร้างคูระบายน้ำภายใน ซึ่งจะส่งน้ำให้ไหลไปรวมกันที่คลองภายในพระราชวังฯ ก่อนจะถูกระบายต่อไปยังคลองที่ล้อมรอบกำแพงพระราชวังด้านนอก (ภาพเอเจนซี)

ชาวเน็ตทึ่ง! ภูมิปัญญาการก่อสร้างเรือนแบบจีนโบราณช่วย “พระราชวังต้องห้าม” รอดน้ำท่วมใหญ่

“พระราชวังต้องห้าม” รอดน้ำท่วม แม้พายุโหมกระหน่ำจนน้ำแทบท่วมเมือง (ภาพเอเจนซี)

ชาวเน็ตทึ่ง! ภูมิปัญญาการก่อสร้างเรือนแบบจีนโบราณช่วย “พระราชวังต้องห้าม” รอดน้ำท่วมใหญ่

พระตำหนักต่างๆก็ถูกสร้างขึ้นสูงจากพื้นหลายเมตร (ภาพเอเจนซี)

ชาวเน็ตทึ่ง! ภูมิปัญญาการก่อสร้างเรือนแบบจีนโบราณช่วย “พระราชวังต้องห้าม” รอดน้ำท่วมใหญ่
แชร์