รู้อย่างนี้ ไม่พลาด!! "ทอดกฐิน" ทุกปี เห็นผลบุญทันตา.. ตั้งแต่สมัยพุทธกาล

รู้อย่างนี้ ไม่พลาด!! "ทอดกฐิน" ทุกปี เห็นผลบุญทันตา ประเพณีที่เกิดจากพุทธประสงค์ ซึ่งทำยากมาก ๆ มีข้อจำกัดถึง 6 ข้อ จึงได้บุญมาก เป็นประเพณีอันดีงามของพุทธศาสนิกชน ที่ประพฤติปฏิบัติ สืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า 2500 ปี http://winne.ws/n6517

1.6 พัน ผู้เข้าชม
รู้อย่างนี้ ไม่พลาด!! "ทอดกฐิน" ทุกปี เห็นผลบุญทันตา.. ตั้งแต่สมัยพุทธกาลขอบคุณภาพจาก www.dmc.tv

รู้อย่างนี้ ไม่พลาด!! "ทอดกฐิน" ทุกปี เห็นผลบุญทันตา.. ตั้งแต่สมัยพุทธกาล

ประวัติ "ประเพณีการทอดกฐิน" และ "อานิสงส์การทอดกฐิน" ทันตาเห็น ประเพณีที่เกิดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

"การทอดกฐิน" เป็นประเพณีอันดีงามของพุทธศาสนิกชน ที่ประพฤติปฏิบัติ สืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า 2500 ปี กำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อพระภิกษุ ชาวเมืองปาไฐยรัฐ เดินทางไกลไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน พระภิกษุเหล่านั้นมีจีวรที่เปรอะเปื้อน เปียกชุ่ม และเปื่อยขาดด้วยความเก่า พระบรมศาสดาจึงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุ ผู้อยู่จำพรรษา รับผ้ากฐินเพื่อนำมาผลัดเปลี่ยนผ้าเก่าได้หลังออกพรรษา การทอดกฐินจึงเป็นการทำบุญที่เกิดจากพุทธประสงค์

มหากฐินบุญใหญ่แห่งปี

"มหากฐิน" คือ กฐินสามัคคีที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันของพุทธศาสนิกชนที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และตระหนักถึงอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ของการทอดกฐิน

การทอดกฐินถือเป็นบุญใหญ่แห่งปีที่ทุกคนรอคอย เพราะเป็นบุญพิเศษที่ทำได้ยากกว่าบุญอื่น เนื่องจากมีข้อจำกัดอย่างน้อย 6 ประการดังนี้

1. จำกัดกาลเวลา คือ ต้องถวายภายใน 1 เดือน นับแต่ออกพรรษา

2. จำกัดชนิดของทาน คือต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้

3. จำกัดคราว คือ แต่ละวัดรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

รู้อย่างนี้ ไม่พลาด!! "ทอดกฐิน" ทุกปี เห็นผลบุญทันตา.. ตั้งแต่สมัยพุทธกาลขอบคุณภาพจาก www.dmc.tv

4. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐินได้ จะต้องจำพรรษาที่วัดนั้น ครบไตรมาส (3 เดือน) และต้องมีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป

5. จำกัดงาน คือเมื่อพระภิกษุรับผ้ากฐินแล้ว จะต้องกรานกฐินให้เสร็จภายในวันนั้น

6. จำกัดของถวาย คือ ไทยธรรมที่ถวายต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรเท่านั้น (โดยทั่วไปนิยมใช้สังฆาฏิ)

นอกจากนี้ กฐินยังเป็นทานที่พิเศษ คือ ทั้งพระภิกษุและญาติโยมผู้ทอดกฐินได้อานิสงส์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

"บุคคลใดให้ทานด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ทำด้วย บุคคล เช่นนี้ ไปเกิดที่ใด ย่อมได้ทั้งโภคทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ ในที่ที่ตนไปเกิดนั่นเอง" พุทธพจน์

อานิสงส์การทอดกฐิน ทันตาเห็น

อตีเต กาเล ในสมัยครั้งพุทธกาล นายติณบาล เป็นคนยากจนอาสาเป็นลูกจ้างทำสวนหญ้าให้เศรษฐีทำหน้าที่ตัดหญ้าที่บริเวณบ้านเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่ง เขาคิดว่า เรานี้เป็นคนยากจน เพราะไม่เคยทำบุญใดไว้ในชาติก่อนเลย เกิดมาชาตินี้จึงเป็นคนรับใช้ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวแม้แต่น้อย 

เมื่อเขาคิดดังนี้แล้ว เขาจึงแบ่งอาหารที่ได้รับจากการรับจ้างแต่ละเดือนออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเอาไว้ถวายแก่พระสงค์ที่บิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บริโภคเอง 

รู้อย่างนี้ ไม่พลาด!! "ทอดกฐิน" ทุกปี เห็นผลบุญทันตา.. ตั้งแต่สมัยพุทธกาลขอบคุณภาพจาก www.dmc.tv

อยู่ต่อมาพอถึงเทศการออกพรรษา เหล่าชนผู้มีศรัทธาต่างพากันทำบุญทอดกฐินเป็นการใหญ่ แม้เศรษฐีผู้เป็นนายเขาก็เตรียมการจะทอดกฐินเช่นกัน จึงได้ประกาศให้สาธารณะชนทราบทั่วไป เมื่อนายติณบาลได้ยินการประกาศ ก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันที คิดในใจว่ากฐินนี้แหละจะเป็นทานอันประเสริฐ จึงเข้าไปพูดกับเศรษฐีผู้เป็นนายว่า อยากจะร่วมอนุโมทนากฐินทานครั้งนี้ด้วย แต่ตัวเองไม่มีเงินติดตัวเลย จึงคิดอยู่นาน 

ในที่สุดเขาได้เปลื้อง (ถอด) ผ้านุ่งของตนออกทำความสะอาดแล้วพับอย่างดี ส่วนตัวเองนำเอาใบไม้มาเย็บนุ่งแทนผ้าแล้วนำผ้าฯ เที่ยวเร่ขายไปตามร้านตลาด หมู่ชนเห็นเขานุ่งใบไม้ก็พากันหัวเราะต่าง ๆ นา ๆ นายติณบาลจึงชูมือขึ้นกล่าวว่า "พวกท่านทั้งหลายจงหยุดก่อน อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าฯ ยากจน ไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าเราจะนุ่งผ้าอันเป็นทิพย์" เขาขายผ้าได้ห้ามาสก (1 บาทของเราในปัจจุบัน) แล้วนำเงินดังกล่าวมาร่วมอนุโมทนาทอดกฐินกับเศรษฐีผู้เป็นนาย 

ขณะนั้นได้เกิดการโกลาหลทั่วไปในหมู่ชนตลอดถึงเทวดาในชั้นฉกามาวจรสวรรค์ ติณบาลมีฐานะร่ำรวยอย่างไม่มีใครคาดคิด บั้นปลายของชีวิตเขาได้รับตำแหน่งเป็นเศรษฐีอยู่จนมีอายุขัย ก็ถึงแก่กรรมไปเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นดาวดึงส์สวรรค์ เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในวิมานแก้วสูงได้ห้าโยชน์ มีนางอัปสรหนึ่งพันแวดล้อมเป็นบริวาร (ทำบุญด้วยความเลื่อมใสมาก ถึงทรัพย์จะมีน้อยก็ได้บุญมาก)

ที่มา : http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=285320.0;wap2

แชร์