คาน อคาเดมี เก่งเหมือนเรียนอินเตอร์ แต่ไม่ต้องจ่ายแพง

เด็กไทยเราที่อยากหาความรู้ แล้วไปเรียนกับโครงการนี้ดู ก็จะเก่งทั้งวิชาการและภาษาอังกฤษ เหมือนเรียนอินเตอร์เลยทีเดียวไม่ต้องจ่ายเงินแพงๆ ขอแค่มีคอมพิวเตอร์หรือ สมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตดีๆ http://winne.ws/n9341

4.0 พัน ผู้เข้าชม

คาน อดาเดมี เป็นทางเลือกหนึ่งของนักเรียนทั่วโลก เป็นองค์กรด้านการศึกษาที่ไม่แสวงหาผลกำไรก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยนักการศึกษาชื่อ ซาลมาน คาน

 ซาลมาน คาน เกิดที่อเมริกาโดยพ่อกับแม่เป็นผู้อพยพมาจากบังคลาเทศและอินเดีย หลังจากเขาจบปริญญา3ใบจากMIT(ปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์  วิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์ /ปริญญาโทด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์) เขาก็ได้ไปเรียนต่อและจบเอ็มบีเอที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด

 เมื่อปีพ.ศ. 2547  เขาเริ่มติวให้ลูกพี่ลูกน้องคนหนึ่งผ่านทางอินเตอร์เน็ต  แล้วมีญาติและเพื่อนๆคนอื่นๆต้องการความช่วยเหลือแบบนี้ด้วย คานเลยตัดสินใจติวผ่านยูทูปซึ่งได้รับความนิยมจากนักเรียนอย่างล้นหลามเขาจึงลาออกจากงานการเป็นนักวิเคราะห์กองทุน มาทุ่มเทให้กับงานติวเตอร์เต็มเวลา

 

คาน อคาเดมี ได้รับการสนับสนุนด้านทุนทรัพย์จากผู้ใจบุญหลายหน่วยงานทั้งจากมูลนิธิบิลล์&เมลินดา เกตส์   มูลนิธิบรอด    กูเกิ้ล และหน่วยงานที่ใจบุญอื่นๆที่บริจาคเงินเข้ามาเพื่อส่งเสริมการศึกษาให้นักเรียนทั่วโลก

 

มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า Khan Academy แตกต่างจากYoutube Tutor และ Lecture ที่ดีที่สุดในโลกเช่นอย่างที่MIT เผยแพร่กันอยู่

โดยระบุว่า

1)     การสอนของคานนั้นสุดยอด เป็นการ"สอนคน" "สอนคิด" ไม่ได้ยึดติดกับขนบธรรมเนียมหรือหลักสูตรการศึกษาเป็นการสอนให้ "รู้จัก มากกว่า รู้จำ" หมายถึงการสอนเชื่อมโยงกับเหตุการณ์จริง เชื่อมโยงหลายๆ ศาสตร์มาอธิบาย ตัวอย่างจริงๆหรือสิ่งที่คนรู้จักอย่างแยบยล คือ สอนให้คนเห็น "องค์รวม" 

2)     ความชาญฉลาดของระบบแผนที่ความรู้ ที่

              สามารถเลือกเอาสิ่งที่ตรงกับปัญหาหรือความต้องการของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ระบบจะบันทึกพฤติกรรม    การเรียนรู้ของแต่ละคนวิเคราะห์ปัญหาและจุดเน้นที่เป็นปัญหาบ่อยๆ แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจในการสร้างโจทย์ฝึกหัดที่เหมาะสม ราวกับว่า ระบบของ KhanAcademy กำลังทำวิจัยในชั้นเรียนกับทุกๆ ผู้เรียน ทุกๆนาทีที่มีผู้เข้าไปทดลองใช้

3)     สามารถจัดส่งหรือจัดเรียงลำดับการเรียนรู้ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ คือ หากจะเรียนเรื่องนี้ต้องรู้เรื่องนี้ก่อนหากไม่สามารถผ่านเรื่องนั้นได้ก่อน (ผ่านคือทำแบบฝึกถูกติดต่อกัน ๑๐ ข้อ)ก็จะไม่แนะให้ไปเรียนเรื่องโน้น ฯลฯ...

4)     ความต่อเนื่อง  Khan Academyจะมีบทบาทเหมือนเป็น "ครูฝึก" หรือ โค้ช ที่คอยส่ง คอยแนะให้เราเรียนต่อเนื่องผ่านอีเมล์ มีการเสริมแรงแบ่งความสำเร็จออกเป็นส่วนเล็กๆแล้วเปิดโอกาสให้เราได้ฉลองความสำเร็จนั้นๆ

ถือว่า Khan Academy เข้าใจ "ธรรมชาติการเรียนรู้"อย่างยิ่ง

เด็กไทยเราที่อยากหาความรู้  แล้วไปเรียนก็จะเก่งทั้งวิชาการและภาษาอังกฤษ เหมือนเรียนอินเตอร์เลยทีเดียวไม่ต้องจ่ายเงินแพงๆ ขอแค่มีคอมพิวเตอร์หรือ สมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตดีๆ

ลองเข้าไปเรียนรู้ได้ที่ ภาคภาษาอังกฤษ https://www.khanacademy.org/

ภาคภาษาไทย https://th.khanacademy.org/

 


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก: 

https://en.wikipedia.org/wiki/Khan_Academy

https://www.gotoknow.org/posts/587686

http://wvmetronews.com/2016/10/17/the-future-of-learning-theme-of-education-summit/

FB: Wiriyah Eduzones

FB: DataRockie

แชร์