อะไร ? คือความจริง!! นี่เป็นการกลั่นแกล้งประชาชนที่ "ไม่มีความผิด" ให้ "มีความผิด" หรือไม่ ?

การที่หน่วยงานรัฐอื่น ๆ จะมาท้วงติงการวินิจฉัย ของศาลปกครองที่ระมัดระวังการใช้กฎหมายปกครองนั้น จึงทำไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ขัดแย้ง กับปรัชญาการปกครองและเจตนารมณ์พื้นฐาน ของการใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งการ http://winne.ws/n10432

1.3 พัน ผู้เข้าชม
อะไร ? คือความจริง!! นี่เป็นการกลั่นแกล้งประชาชนที่ "ไม่มีความผิด" ให้ "มีความผิด" หรือไม่ ?แหล่งภาพจาก www.springnews.co.t

คำวินิจฉัยศาลปกครองสะเทือนถึงคดีวัดพระธรรมกาย (ตอนที่ 2)

คดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น

          เริ่มต้นที่การบริหารผิดพลาดโดยความประมาท และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกายแม้แต่น้อย

           หากย้อนดูคำวินิจฉัยของศาลปกครองแล้ว จะพบว่าความเสียหายของสหกรณ์นั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดพลาดของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ไม่ตักเตือนผู้บริหารสหกรณ์ซึ่งกระทำการโดยประมาท โดยปล่อยเงินกู้เกินวงเงินหมุนเวียน จนเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง

           จากคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลปกครอง หากพินิจพิเคราะห์ให้ดี จะเห็นถึงนัยสำคัญ ในการใช้กฎหมายปกครองแบบมองภาพรวม เพื่อให้เกิดความถูกต้องชอบธรรมแก่ทุกฝ่าย ด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดเหตุบานปลาย จนกลายเป็นความแตกตื่นตกใจของประชาชน จนนำไปสู่ความล่มสลายของสหกรณ์ 8,000 แห่ง และภาคการเกษตรทั้งหมดของประเทศไทย

นัยสำคัญในทางการปกครองที่ซ่อนอยู่นั้น เริ่มตั้งแต่

1. ความเสียหายในคดีสหกรณ์นั้น เป็นการบริหารที่ผิดพลาดของผู้บริหาร ไม่ใช่การมีเจตนาฉ้อโกงสหกรณ์ แต่เป็นการปล่อยเงินกู้ด้วยความประมาท จนเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง

2. เมื่อเป็นการบริหารผิดพลาดโดยประมาท สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จึงยังไม่อยู่ในสถานะล้มละลาย ทำให้ยังมีความน่าเชื่อถือว่า ยังมีศักยภาพเพียงพอ จะฟื้นฟูระบบการบริหารขึ้นมาใหม่ได้ ทำให้ธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ยังดำเนินต่อไปได้

3. เมื่อสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนยังไม่ล้มละลาย สมาชิกสหกรณ์ก็มีหวังจะได้เงินคืน  การฟื้นฟูกิจการก็จะมีหวังว่าจะเป็นไปได้ เจ้าหนี้ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนก็ยังมีหวังจะได้เงินคืน

4. การวินิจฉัยของศาลปกครอง ย่อมต้องทำด้วยข้อมูลหลักฐานที่รอบคอบ เพราะหากวินิจฉัยโดยไม่มีมูลความจริง ก็จะส่งผลให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องล้มละลาย ความเสียหายจะไม่เกิดแก่สมาชิกสหกรณ์เท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบเทือนแบบโดมิโน่ไปยังสหกรณ์อื่น ๆ ที่เป็นเจ้าหนี้พ่วงต่อกันมาเป็นทอด ๆ อีกด้วย

5. ผลกระทบแบบโดมิโน่ต่อสหกรณ์ที่เป็นเจ้าหนี้นั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องต่อเนื่องกันไป เป็นโดมิโน่ทั้งวงการสหกรณ์ที่มีอยู่ 8,000 แห่ง ซึ่งผูกพันกันด้วยสภาพเงินหมุนเวียน แบบเจ้าหนี้ลูกหนี้ในวงการสหกรณ์

6. ผลกระทบแบบโดมิโน่ย่อมทำให้ สมาชิกสหกรณ์ทั้ง 8,000 แห่งเกิดความตกใจ ความตกใจนั้นเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ จากเดิมที่ควรจะเสียหายน้อยก็กลายเป็นเสียหายมาก และนั่นก็จะกลายเป็นจุดจบของวงการสหกรณ์แห่งประเทศไทย

7. ภาคการเกษตรของประเทศหล่อเลี้ยงด้วย ระบบเงินกู้ยืมของสหกรณ์ทั้ง 8,000 แห่ง เมื่อระบบสหกรณ์ล่มสลาย ภาคการเกษตรก็ล่มสลาย กลายเป็นความเสียหายใหญ่หลวง กับระบบการปกครองและความมั่นคงของประเทศ

ดังนั้น การวินิจฉัยของศาลปกครอง จึงมีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ เพราะเป็นการวินิจฉัยที่ประกอบด้วย

          1. การตรวจสอบข้อมูลจริง
          2. การมองภาพรวมการบริหารงานของระบบสหกรณ์
          3. การมองภาพการทำงานร่วมกันของภาครัฐและประชาชน
          4. การมองถึงความอยู่รอดของระบบสหกรณ์
          5. การมองเห็นสภาพค้ำจุนกันระหว่าง ระบบสหกรณ์กับภาคการเกษตรของประเทศไทย
          6. มีความระมัดระวังในการใช้กฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุบานปลาย จนอาจกลายเป็นการล้มละลายแบบโดมิโน่ ทั้งระบบสหกรณ์และภาคการเกษตรไทย

          การที่หน่วยงานรัฐอื่น ๆ จะมาท้วงติงการวินิจฉัย ของศาลปกครองที่ระมัดระวังการใช้กฎหมายปกครองนั้น จึงทำไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ขัดแย้ง กับปรัชญาการปกครองและเจตนารมณ์พื้นฐาน ของการใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งการอยู่ร่วมกัน อย่างสงบสุขของประชาชนในสังคมไทย

อะไร ? คือความจริง!! นี่เป็นการกลั่นแกล้งประชาชนที่ "ไม่มีความผิด" ให้ "มีความผิด" หรือไม่ ?แหล่งภาพจาก www.springnews.co.t

ผลพวงจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองในครั้งนี้ก็คือ ทำให้เกิดความชัดเจนขึ้นมากมายในคดีวัดพระธรรมกาย

1. ความเสียหายของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนั้น ไม่ได้เกิดจากวัดพระธรรมกาย

2. ศิษย์วัดพระธรรมกายเป็นผู้ช่วยเหลือเพียงรายเดียว ที่ช่วยให้สหกรณ์ไม่ล้มละลาย ด้วยการมอบกองทุน เพื่อฟื้นฟูกิจการสหกรณ์เกือบ 1 พันล้านบาท

3. คดีนี้เป็นปัญหาการบริหารในสหกรณ์  ไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน สหกรณ์ยังไม่ได้ล้มละลาย 
แผ่นดินยังไม่เป็นผู้เสียหาย

4. วงเงินความเสียหาย 12,000 ล้าน ที่ดีเอสไอตั้งขึ้น ไม่ตรงกับวงเงินความเสียหาย 3,000 ล้าน 
ที่เป็นข้อมูลในศาลปกครอง ทำให้เกิดความสงสัยว่า มีการตั้งยอดมูลค่าความเสียหายเกินความจริงหรือไม่ ?

5. เมื่อหลวงพ่อวัดพระธรรมกาย ไม่ได้เป็นผู้ทำให้สหกรณ์เสียหาย องค์ประกอบคดี จึงไม่ครบ 
การตั้งข้อหาฟอกเงินและรับของโจร จึงไม่มีมูลฐานความผิดในข้อหานี้โดยปริยาย

6. การสั่งฟ้องเป็นคดีความได้ จะต้องมีองค์ประกอบคดีครบถ้วน คือ 

         1) ต้องมีเอกสารสำนวนสอบสวนครบถ้วน ตามองค์ประกอบของข้อหาที่จะฟ้อง

         2) ต้องมีผู้เสียหาย และ 

         3) ต้องมีผู้ต้องหา มาแสดงตนต่อหน้าศาล แต่เมื่อหลวงพ่อวัดพระธรรมกาย มิได้เป็นผู้ทำให้สหกรณ์เสียหาย มิหนำซ้ำลูกศิษย์ของท่าน ยังเป็นผู้ค้ำจุนสหกรณ์ไม่ให้ล้มละลายด้วยกองทุนเกือบพันล้าน จึงไม่มีเงื่อนไขใด ๆ เลยที่ครบถ้วนและมีน้ำหนักเพียงพอ จะสั่งฟ้องท่านด้วยข้อหาฟอกเงินและรับของโจร

 7. เมื่อไล่ดูเส้นทางการเงินและเส้นทางรับบริจาค ยิ่งไม่พบว่ามีหลักฐานใดๆ ที่เชื่อมโยงเข้ากับองค์ประกอบ ในข้อหาฟอกเงินและรับของโจร ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า การสั่งฟ้องหลวงพ่อวัดพระธรรมกาย  โดยที่เอกสารการสอบสวนไม่ครบถ้วน ไม่มีหลักฐานว่าทำให้สหกรณ์เสียหาย
และยังเป็นผู้ช่วยเหลือเพียงรายเดียว ที่ค้ำจุนสหกรณ์ไม่ให้ล้มละลายอยู่ในเวลานี้

มันเป็นความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ?
มันเป็นการกลั่นแกล้งประชาชนที่ ไม่มีความผิด ให้มีความผิดหรือไม่ ?
มันเป็นการใช้กฎหมายโดยเสมอภาคหรือไม่ ?
มันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ ?

๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๙

๑๙.๑๙ น.

ที่มา https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1326914040670728&id=100000564350128

แชร์