แนวทางศึกษา วิธีการส่งหมายเรียก ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามหลักกฎหมาย

การส่งหมายเรียก วิ. อาญา ม. 55 วิ. แพ่ง ม.76 1.การส่งหมายเรียกให้ผู้ต้องหา ให้ส่งให้กับตัวผู้ต้องหาหรือ สามี ภริยา ญาติหรือผู้ปกครอง ของผู้ต้องหาก็ได้ วิ. อาญา ม.55 ( ไม่จำกัดอายุ แต่ระบุคุณสมบัติเฉพาะญาติ ) http://winne.ws/n14031

3.2 หมื่น ผู้เข้าชม
แนวทางศึกษา วิธีการส่งหมายเรียก ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามหลักกฎหมายแหล่งภาพจาก Google Sites

การส่งหมายเรียก วิ. อาญา ม. 55 วิ. แพ่ง ม.76 

1. การส่งหมายเรียกให้ผู้ต้องหา ให้ส่งให้กับตัวผู้ต้องหาหรือ สามี ภริยา ญาติหรือผู้ปกครอง 

ของผู้ต้องหาก็ได้ วิ. อาญา ม.55 ( ไม่จำกัดอายุ แต่ระบุคุณสมบัติเฉพาะญาติ ) 

2. การส่งหมายเรียกให้พยาน ให้ส่งให้กับตัวพยาน หรือคนที่มี อายุเกิน 20 ปี และอยู่หรือทำงานในบ้านเรือน หรือในสำนักงานของผู้ถูกหมายเรียก ตาม วิ.แพ่ง ม. 76 

(ระบุอายุ แต่ไม่จำกัดคุณสมบัติฯ ) 

3. การส่งหมายเรียกให้จำเลย ไม่มีบัญญัติใน ป.วิ.อาญา น่าจะอนุโลมใช้วิธีส่งตามวิ.อา ม. 55 

วิธีการส่งหมายเรียก วิ.แพ่ง ม. 78 ม.79 

ถ้าพบตัวผู้ถูกหมายเรียกก็ส่งให้แก่ผู้นั้น ในกรณีที่ผู้ถูกหมายเรียกปฏิเสธไม่ยอมรับหมาย วิ.แพ่ง ม. 78 ให้เจ้าพนักงานผู้นำส่งหมายขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ที่มีอำนาจ หรือเจ้าพนักงานตำรวจไปด้วย เพื่อเป็นพยานแล้วไปส่งหมายให้ผู้ถูกหมายนั้นอีก ( ครั้งที่ 2 ) ถ้าเขายังปฏิเสธไม่ยอมรับอีก ก็ให้วางหมายไว้ ณ ที่นั้น ซึ่งเรียกกันว่าวางหมาย 

ในกรณีที่ไม่พบผู้ถูกหมายเรียก แต่พบบุคคลอื่นที่จะรับแทนได้ตาม วิ.อาญา ม. 55 และบุคคลอื่นนั้นปฏิเสธไม่รับแทน เจ้าพนักงานผู้นำส่งหมาย ต้องนำหมายกลับมาคืน พร้อมด้วย 

รายงานให้ผู้ออกหมายทราบ 


อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.sobsuan.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=17040

ตัวอย่างหมายเรียก ขอบคุณภาพจาก Google.com

แนวทางศึกษา วิธีการส่งหมายเรียก ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามหลักกฎหมายแหล่งภาพจาก Preview

แนวทางศึกษา วิธีการส่งหมายเรียก 

เอกสารหมายเลข 2
วิธีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย
เจ้าพนักงานศาลมีหน้าที่ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย (ม.70 ว.1) โดยมีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้

(1) วิธีการส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย
– ให้ส่งในเวลากลางวัน ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก (ม.74 (1))
– ให้ส่งแก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของจำเลย (ม.74 (2))
– การส่งคำฟ้องให้ทนายความของจำเลย ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย (ม.75)
– การส่งคำฟ้องแล้วไม่พบตัวจำเลย ให้ส่งแก่บุคคลใดๆ ที่มีอายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่หรือทำงาน
อยู่ในสถานที่นั้นๆ ก็ได้ (ม.76)

(2) กรณีการส่งหมายตามปกติ ……….ให้เจ้าพนักงานศาลจัดส่งคำฟ้องโดยเร็ว ทั้งนี้อาจให้ผู้ขอไปด้วยเพื่อชี้ตัวผู้รับก็ได้ (ม.73)

(3) กรณีการวางหมาย ………เมื่อได้มีการส่งหมายตามปกติแล้ว จำเลยไม่ยอมรับหมายโดยปราศจากเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย ม.78 กำหนดแนวปฏิบัติไว้ ดังนี้
– ให้เจ้าพนักงานศาลจัดส่งคำฟ้องนั้นอีกครั้งหนึ่ง
– ครั้งนี้ให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในท้องที่นั้นหรือเจ้าพนักงานตำรวจไปเป็นพยานด้วย
– ถ้าจำเลยยังไม่ยอมรับอยู่อีก ก็ให้วางคำฟ้องไว้ ณ ที่นั้นเลย

(4) กรณีการปิดหมาย …………กรณีที่ได้ส่งหมายด้วยวิธีข้างต้นทั้งตามปกติและการวางหมายแล้วไม่ได้ผล ม.79 กำหนดแนวปฏิบัติโดยให้อำนาจศาลสั่งให้ดำเนินการด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดต่อไปนี้
– ปิดคำฟ้องไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของจำเลย
– มอบหมายคำฟ้องไว้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในท้องที่หรือเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อให้
ปิดประกาศ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของจำเลย
– ลงโฆษณา
– วิธีการอื่นใดที่ศาลเห็นสมควร

(5) การส่งคำฟ้องให้แก่จำเลยซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้ส่งคำฟ้องนั้นไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานของจำเลยที่อยู่นอกราชอาณาจักรนั้น (ม.83 ทวิ)

(6) เจ้าพนักงานศาลส่งคำฟ้องได้หรือไม่ได้ก็ตาม ต้องรายงานต่อศาลทราบเสมอ (ม.80) และเป็นหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ที่จะต้องติดตามข่าว หากส่งไม่ได้ก็ต้องแถลงขอให้ศาลส่งใหม่

(7) กรณีที่มีจำเลยหลายคน ต้องส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเหล่านั้นทุกคน (ม.82)
 การส่งหมายเรียกพยานโดยคู่ความฝ่ายใดก็ตาม ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการส่งคำฟ้อง คือส่งในเวลากลางวัน และที่ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของพยาน (ม.81)

อ้างอิงจาก https://nitistou.wordpress.com/2007/10/30/วิธีการส่งหมายเรียก/

แนวทางศึกษา วิธีการส่งหมายเรียก ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามหลักกฎหมาย

กรณีศึกษาตัวอย่างการส่งหมายเรียก กรณีนี้ให้เวลาเพียง1วัน ส่งวันนั้นให้ไปวันนั้นและไม่พบตัวผู้ต้องหา ควรทำอย่างไร?ต่อไป

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) กำกับดูแลสำนวนการสอบสวนที่เกี่ยวข้องกับคดีวัดพระธรรมกาย เปิดเผยว่า 16 มีนาคม 2560 คณะพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกให้ กรรมการมูลนิธิธรรมกาย มีพระธัมมชโย หรือ ไชยบูลย์ สุทธิผล เป็นประธานกรรมการ กับกรรมการมูลนิธิธรรมกาย 11 คน และกรรมการมูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูงฯ มีนางวรรณา จิรกิติ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิ กับกรรมการมูลนิธิฯ รวม 7 คน มาพบคณะพนักงานสอบสวนที่ สภ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ในวันที่ 16 มีนาคม ที่ผ่านมา 

ปรากฏว่า กรรมการทั้งมูลนิธิฯ ทั้ง 2 แห่ง ไม่มารายงานตัว ดังนั้น วันที่ 17 มีนาคม ที่ผ่านมา คณะพนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับต่อศาลจังหวัดธัญบุรี และศาลอนุมัติหมายจับ 127 หมายจับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ มูลนิธิธรรมกาย ใน ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ 8 คดี ออกหมายจับพระธัมมชโย ในฐานะนิติบุคคล 7 หมายจับ กรรมการมูลนิธิ จำนวน 10 คน คนละ 8 หมายจับ รวม 80 หมายจับ ความผิดฐานบุกรุกฯ จำนวน 3 คดี ประธานมูลนิธิฯ และกรรมการมูลนิธิฯ รวม 11 คน คนละ 3 หมายจับ มูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูงฯ ฐานบุกรุกฯ 1 คดี ออกหมายจับกรรมการมูลนิธิฯ 7 คนคนละ 1 หมายจับ ได้แก่ นางวรรณา จิรกิติ ประธานกรรมการมูลนิธิ นางพิศมัย แสงหิรัญ นางคำนวณ คงศุภลักษณ์ นางสาวเมตตา สุวชิตวงศ์ นางสาวอุบลทิพย์ สุพรรณานนท์ นางสาวเสาวนีย์ สิริพงศ์บุญสิทธิ นางสาวอารีพันธุ์ ตรีอนุสรณ์ กรรมการ

ที่มา : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1489829730

แชร์