ผ่านแล้ว!สนช.แก้พ.ร.บ.คณะสงฆ์ผ่านฉลุยพิจารณาแค่ 1 ชั่วโมง 3 วาระรวด : สงสัยทำไม ? ต้องรีบแก้

เมื่อเวลา 10.40 น. วันที่ 29 ธันวาคม ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) โดยมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. เป็นประธาน ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์(ฉบับที่..) พ.ศ.2505 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ที่ พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ http://winne.ws/n11758

824 ผู้เข้าชม
ผ่านแล้ว!สนช.แก้พ.ร.บ.คณะสงฆ์ผ่านฉลุยพิจารณาแค่ 1 ชั่วโมง 3 วาระรวด : สงสัยทำไม ? ต้องรีบแก้

สนช.แก้พ.ร.บ.สงฆ์ผ่านฉลุยแค่ 1 ชั่วโมง 3 วาระรวด ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระสังฆราช โดยไม่ต้องมีมหาเถรสมาคมเสนอนามพระราชาคณะ

        เมื่อเวลา 10.40 น. วันที่ 29 ธันวาคม ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) โดยมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. เป็นประธาน ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์(ฉบับที่..) พ.ศ.2505 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ที่ พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ สมาชิกสนช.เป็นผู้เสนอ โดยมีนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เข้าร่วมประชุมด้วย        

พล.ต.อ.พิชิต ควรเตชะคุปต์

ผ่านแล้ว!สนช.แก้พ.ร.บ.คณะสงฆ์ผ่านฉลุยพิจารณาแค่ 1 ชั่วโมง 3 วาระรวด : สงสัยทำไม ? ต้องรีบแก้Click NLA

       โดย พล.ต.อ.พิชิต ในฐานะผู้เสนอร่างกฎหมาย ได้ ชี้แจงหลักการและเหตุผลว่า ตนในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สนช. พร้อมด้วยสมาชิกสนช.รวมทั้งหมด 81 คนได้เข้าชื่อเสนอแก้ไข ร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 14 วรรคสอง 

        โดยแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2505 เพียงประเด็นเดียวในมาตรา 7 คือเรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ทั้งนี้ ตามพระราชประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานนั้นเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งต่อมาได้เริ่มมีบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา สมควรบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้อง เพื่อเป็นการสืบทอดและธำรงค์รักษาไว้ซึ่งโบราณราชประเพณีดังกล่าวโดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการ จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.บ.นี้

        จากนั้น นายพรเพชรได้แจ้งว่า ตามข้อบังคับการประชุม ข้อที่ 117 การเสนอร่างกฎหมายของสมาชิกสนช.รัฐบาลจะต้องนำกลับไปพิจารณาภายใน 30 วัน ซึ่งนายออมสิน ได้ลุกขึ้นแจ้งว่า รัฐบาลไม่ขัดข้องที่ สนช.ดำเนินการขั้นตอนของรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ จากนั้นที่ประชุมเข้าสู่การพิจารณาในวาระหนึ่งทันทีโดยได้เปิดให้สมาชิกอภิปรายแสดงความเห็น โดยทั้งหมดต่างสนับสนุนร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว

         จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการในวาระที่ 1 ด้วยคะแนน 184 : 0 งดออกเสียง 5 โดยนายสมชาย ได้เสนอตั้งคณะกรรมาธิการฯเต็มสภาฯ โดยไม่มีผู้ใดคัดค้านเพื่อพิจารณาในวาระ 2 ซึ่งการพิจารณาในวาระ 2 ใช้เวลาเพียง 5 นาที โดยไม่มีผู้ใดอภิปราย จากนั้นเข้าสู่การลงมติในวาระ 3 ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ 182 : 0 งดออกเสียง 6 เพื่อประกาศพ.ร.บ.สงฆ์ใช้เป็นกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ การพิจารณากฎหมายดังกล่าวสนช.ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง

อ้างอิง มติชนออนไลน์ 29 ธ.ค. 2559

สรุปขั้นตอนการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช หลังจาก สนช.แก้พ.ร.บ.คณะสงฆ์แล้ว ดังนี้

ผ่านแล้ว!สนช.แก้พ.ร.บ.คณะสงฆ์ผ่านฉลุยพิจารณาแค่ 1 ชั่วโมง 3 วาระรวด : สงสัยทำไม ? ต้องรีบแก้

คำถาม ค้างคาใจ จากชาวพุทธ

- แล้วถ้าอยู่ ๆ ก็มีคนต่างประเทศ มาแต่งตั้งนายกคนใหม่ให้เมืองไทย โดยคนไทยไม่รู้เรื่องราวอะไรมาก่อน ไม่มีส่วนร่วมการคัดเลือกบุคคลผู้เป็นตัวแทนของคนไทยไปเป็นนายกฯเลย คุณจะยอมไหม ? 

- การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ก็ยังต้องมีการเลือกบุคคลขึ้นเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อที่จะเป็นตัวแทนของประเทศไทย (ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย) มาเป็นนายกฯ แล้ว ประมุขสงฆ์ของชาวพุทธ ก็ควรเป็นการปฏิบัติที่เหมือนกัน หรือจะไม่ให้ชาวพุทธโดยคณะสงฆ์มีส่วนร่วมที่เลือกผู้ที่เป็นผู้แทนไปเป็นประมุขบ้างเลยหรือ ?

- อยู่ ๆ ถ้าในหมู่บ้านของคุณ ไม่รู้ใครมาจากไหน ? มาแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านให้คุณเลย โดยไม่ให้สิทธิการเลือกผู้แทนของคนในหมู่บ้านไปเป็นผู้แทนของเขาเลย เป็นคุณ คุณจะยอมรับได้ไหม ?

- แม้ในระบบการปกครองสงฆ์ ตามพระธรรมวินัย ก็มีการเคารพกันตามภันเตอยู่แล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล ไม่ได้มีปัญหาใด ๆ เลย แต่ถ้าไม่ตามภันเต สิมีปัญหาแน่ ชาวโลกอาจไม่รู้ แต่พระจะรู้เรื่องของพระมากกว่า เทียบง่าย ๆ แม้กระทั่งพี่น้องในครอบครัว ยังต้องเคารพตามพี่ตามน้องเลย ครอบครัวจึงจะเป็นสุขได้

- ที่สำคัญ ทำไมต้องมารีบเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ.คณะสงฆ์ในช่วงนี้ ไม่มีเหตุจำเป็นสิ่งใดเลยสักนิดใช่หรือไม่ ? 

- และเรื่องราวที่มส.เคยเสนอนามพระราชาคณะ ไปแล้ว ล่ะ ตอนนี้ ไปตกค้างอยู่ที่ใด หรือ ? 

- สนช.เป็นผู้ดูแลกฎหมายของฆราวาส มิใช่หรือ ส่วนพ.ร.บ.คณะสงฆ์ เป็นกฎหมายของสงฆ์มิใช่หรือ ? แล้วทำไม ฆราวาส มาแก้พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ได้ด้วยหรือ ? ดูเหมือนจะก้าวกายงานของฝ่ายศาสนจักรมากไปหรือที่เรียกว่า ละเมิดสิทธิของชาวพุทธ ใช่หรือไม่ ?

ตลอดกว่า 2500 ปีที่ผ่านมา พระพุทธศาสนา เป็นฝ่ายศาสนจักร ที่เป็นที่เคารพสักการะและเป็นที่ปรึกษาของพระราชามหากษัตริย์ มหาเศรษฐี ตลอดมา ใช่หรือไม่ ? แต่การแก้พ.ร.บ.คณะสงฆ์ครั้งนี้ เป็นการกระทำเฉพาะของฆราวาสแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งคณะสงฆ์ไม่มีส่วนร่วมและไม่ทราบมาก่อนเลย ใช่หรือไม่ ?

ผ่านแล้ว!สนช.แก้พ.ร.บ.คณะสงฆ์ผ่านฉลุยพิจารณาแค่ 1 ชั่วโมง 3 วาระรวด : สงสัยทำไม ? ต้องรีบแก้แหล่งภาพจาก ประชาไท

        การจะแก้ไขพระราชบัญญัติซึ่งเป็นพระบรมราชโองการจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 จะเหมาะสมหรือไม่ ? ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 พระองค์ก็ทรงมีพระดำรัสให้รัฐบาลยึดนโยบายการปฏิบัติให้ราษฎรมีความสุขที่สุด ลดการขัดแย้ง และเคยปฏิบัติกันมาอย่างไร ? ก็ให้ถือปฏิบัติเหมือนครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ยังอยู่กับพสกนิกรตลอดไป...มิใช่หรือ ?? ซึ่งทั่วโลกก็ทราบดีว่าประเทศไทยเป็นเมืองพุทธที่มีชาวพุทธมากที่สุด แต่ถ้าแก้พ.ร.บ.คณะสงฆ์แบบนี้ ท่านคิดว่าชาวพุทธจะรู้สึกอย่างไร ? การกระทำหรือการตักสินใจของฝ่ายอาณาจักร จะละเมิดสิทธิเสรีภาพการนับถือศาสนาของสงฆ์ไทยและชาวพุทธหรือไม่ ????

แชร์