ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ ศาลศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ลพบุรี

ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เป็นที่ประดิษฐาน เจ้าพ่อพระกาฬ เทวรูปโบราณยุคขอมเรืองอำนาจ เป็นโบราณสถานและศาสนสถานที่ตั้งอยู่กลางวงเวียนชื่อ วงเวียนศรีสุนทร บนถนนนารายณ์มหาราช ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี http://winne.ws/n11966

7.4 พัน ผู้เข้าชม
ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ ศาลศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ลพบุรี

         ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เป็นที่ประดิษฐาน เจ้าพ่อพระกาฬ  เทวรูปโบราณยุคขอมเรืองอำนาจ เป็นโบราณสถานและศาสนสถานที่ตั้งอยู่กลางวงเวียนชื่อ วงเวียนศรีสุนทร บนถนนนารายณ์มหาราช ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอดและเส้นทางรถไฟสายเหนือ

         ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เนื่องจากศาลตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่อยู่สูงจากพื้นดิน เป็นศาสนสถานที่เป็นฐานศิลาแลงขนาดมหึมา สันนิษฐานกันว่าฐานศิลาแลงดังกล่าวเป็นฐานพระปรางค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ หรือสร้างสำเร็จแต่พังถล่มลงมาภายหลังโดยมิได้รับการซ่อมแซมให้ดีดังเดิม ศาลพระกาฬเป็นสิ่งก่อสร้างของขอม สืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรีในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของขอมโบราณ ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  อย่างไรก็ตามฌ็อง บวสเซอลิเยร์ ได้สันนิษฐานจากฐานพระปรางค์ที่สูงมากนี้ ว่าเขายังมิได้ข้อยุติว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอมโบราณพุทธศตวรรษที่ 16 "อาจเป็นฐานพระปรางค์จริงที่สร้างไม่เสร็จ หรือเสร็จแล้วแต่พังทลายลงมา"  ทั้งนี้มีที่ศาลสูงมีการค้นพบศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร หลักที่ 1  และศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม (จารึกหลักที่ 18) อักษรหลังปัลลาวะภาษามอญโบราณ

        รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงให้สร้างศาลเทพารักษ์ขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีลักษณะสถาปัตยกรรมตามพระราชนิยม ทรงตึกเป็นแบบฝรั่งหรือเปอร์เซียผสมผสานกับไทยบนฐานศิลาแลงเดิม ตัวศาลเป็นอาคารชั้นเดียวหลบแดดขนาดสามห้อง ภายในบรรจุทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ กับเทวรูปสีดำองค์หนึ่ง  ประมาณกันว่าเป็นศาลประจำเมืองก็ว่าได้[1]

เจ้าพ่อพระกาฬ เทวรูปโบราณถูกประดิษฐานภายในศาลพระกาฬ

         รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองลพบุรีในปี พ.ศ. 2421 ทรงให้ความเห็นเกี่ยวกับศาลสูง ความว่า "ออกจากพระปรางค์สามยอดเดินไปสักสองสามเส้น ถึงศาลพระกาล ที่หน้าศาลมีต้นไทรย้อย รากจดถึงดิน เป็นหลายราก ร่มชิดดี เขาทำแคร่ไว้สำหรับนั่งพัก...ที่ศาลพระกาลนั้นเป็นเนินสูงขึ้นไปมาก มีบันใดหลายสิบขั้น ข้างบนเป็นศาลหรือจะว่าวิหารสามห้อง เห็นจะเป็นช่อฟ้า ใบระกา แต่บัดนี้เหลืออยู่เพียงแต่ผนัง ที่แท่นมีรูปพระนารายณ์สูงประมาณ ๔ ศอก เป็นเทวรูปโบราณทำด้วยศิลา มีเทวรูปเล็ก ๆ เป็นพระอิศวรกับพระอุมาอีก ๒ รูป ออกทางหลังศาลมีบันใดขึ้นไปบนเนินสูงอีกชั้นหนึ่ง มีหอเล็กอีกหอหนึ่ง มีแผ่นศิลาเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑแผ่นหนึ่ง มีรูปนารายณ์ประทมสินธุ์แผ่นหนึ่งวางเปะปะ ไม่ได้ตั้งเป็นที่..."

         ราวปี พ.ศ. 2465 ศาลเทพารักษ์หลังเดิมขนาดสามห้องได้ทรุดโทรมลงมาก จึงมีการอัญเชิญเทวรูปองค์ดำดังกล่าวลงมาประดิษฐาน ณ เรือนไม้มุงสังกะสีบริเวณพระปรางค์ชั้นล่าง

         ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการสร้างศาลพระกาฬขึ้นใหม่เนื่องจากเรือนไม้สังกะสีเดิมได้ทรุดโทรมลง ศาลพระกาฬหลังใหม่จึงถูกออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมทรงไทยร่วมสมัยของกรมศิลปากรสมัยหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ เป็นหัวหน้ากองสถาปัตยกรรม มีชลอ วนะภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญร่วมกับองค์กรอื่น ๆ รวมทั้งชาวลพบุรีและผู้ศรัทธาจำนวนมาก  ก่อสร้างสำเร็จในปี                   พ.ศ. 2496  ใช้งบประมาณการก่อสร้างสามแสนบาทเศษ ซึ่งดูเด่นเป็นสง่า ณ บริเวณหน้าฐานพระปรางค์โบราณ

เจ้าพ่อพระกาฬ

         เจ้าพ่อพระกาฬเป็นเทวรูปรุ่นเก่าซึ่งอาจเป็นพระวิษณุ หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรศิลปะลพบุรีแต่เดิมเจ้าพ่อพระกาฬมีพระกายสีดำ ไม่มีพระเศียร และพระกรทั้งหมด กล่าวกันว่าเจ้าพ่อพระกาฬได้ไปเข้าฝันผู้ประสงค์ดีท่านหนึ่ง นัยว่าขอพระเศียรและพระกรเท่าที่จะหามาได้ ซึ่งได้มีผู้ศรัทธาได้จัดหาเศียรพระศิลาทรายศิลปะสมัยอยุธยา ส่วนพระกรนั้นได้เพียงสองข้างจากทั้งหมดสี่ข้าง

         ปัจจุบันเจ้าพ่อพระกาฬไม่เหลือเค้าเดิมซึ่งมีสีดำอีกแล้ว ด้วยถูกปิดทองจาก             ผู้ศรัทธาแลดูเหลืองอร่ามจนสิ้น กล่าวกันว่าปีหนึ่งมีผู้มานมัสการไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนคน

         จำนวนลิงก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นตลอดในเขตเมืองเก่า และเริ่มออกมาจากแหล่งเดิมไปอาศัยอยู่ย่านขนส่งสระแก้ว และสี่แยกเอราวัณซึ่งเป็นเขตเมืองใหม่ ก่อนหน้านี้เคยมีแนวคิดที่จะควบคุมประชากรลิงมา อาทิ การทำหมันลิง จนในปลายปี พ.ศ. 2557 ได้มีการร้องเรียนจากชาวบ้าน ว่าลิงที่ศาลพระกาฬบางตาลงเนื่องจากทางเทศบาลเมืองลพบุรีได้ส่งเจ้าหน้าที่มาจับ การนี้จำเริญ สละชีพ นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มาชี้แจงว่าลิงที่ถูกจับนั้นเป็นลิงที่แตกฝูงและเกเรไปไว้ที่สวนสัตว์ลพบุรีจำนวน 74 ตัว ที่ส่วนใหญ่อิดโรยและมีแผลทั่วตัว นอกจากนี้ยังพบว่ามีลิงศาลพระกาฬจำนวน 30-40 ตัวถูกจับและปล่อยทิ้งไว้ที่ตำบลดอนดึง อำเภอบ้านหมี่ ภายหลังจึงมีแผนจัดการที่จะนำลิงไปไว้ที่ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี โดยทำในลักษณะสวนลิง

ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ ศาลศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ลพบุรี

ลิงศาลพระกาฬ : ลิงที่อาศัยในบริเวณศาลพระกาฬ

         ลิงศาลพระกาฬ หรือ ลิงเจ้าพ่อพระกาฬ ดั้งเดิมเป็น ลิงแสม ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมดกว่า 500 ตัว ไม่นับรวมลิงกลุ่มอื่น ๆ ในลพบุรีที่มีกว่า 2,000 ตัว ทั้งนี้ทั้งนั้นลิงฝูงดังกล่าวมิได้มีความเกี่ยวข้องกับศาลพระกาฬเลยแต่อย่างใด แต่เดิมบริเวณโดยรอบศาลพระกาฬเป็นป่าคงมีลิงป่าอาศัยอยู่ ลิงดังกล่าวยังชีพด้วยของถวายแก้บน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลไม้ ปัจจุบันลิงทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ

1.  ลิงศาล หรือ ลิงเจ้าพ่อ เป็นลิงฝูงใหญ่อาศัยบริเวณโดยรอบศาลพระกาฬช่วงเที่ยง และอาศัยที่พระปรางค์สามยอดและบางส่วนของโรงเรียนพิบูลวิทยาลัยช่วงเช้าและเย็น เมื่อพลบค่ำพวกมันจะกลับมานอนที่ศาลพระกาฬกลุ่มนี้มีความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มักได้รับของเซ่นไหว้จากผู้ศรัทธาเสมอ ซึ่ง ลิงศาล อาจแบ่งย่อยได้อีกสามกลุ่มคือกลุ่มศาลพระกาฬ, กลุ่มพระปรางค์สามยอดและกลุ่มโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย

2.  ลิงมุมตึก หรือ ลิงนอกศาล หรือ ลิงตลาด เป็นลิงจรจัดซึ่งแตกหลงฝูงและมิได้รับการยอมรับกลับเข้าฝูงมักเร่ร่อนตามมุมตึก ร้านค้าบ้านเรือนในชุมชนเมืองลพบุรีลิงกลุ่มนี้มักสร้างปัญหาและความเสียหายอยู่เสมอ

ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ ศาลศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ลพบุรี

         จำนวนลิงก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นตลอดในเขตเมืองเก่า และเริ่มออกมาจากแหล่งเดิมไปอาศัยอยู่และสี่แยกเอราวัณซึ่งเป็นเขตเมืองใหม่ ก่อนหน้านี้เคยมีแนวคิดที่จะควบคุมประชากรลิงมา อาทิ การทำหมันลิง 

         จนในปลายปี พ.ศ. 2557 ได้มีการร้องเรียนจากชาวบ้าน ว่าลิงที่ศาลพระกาฬบางตาลงเนื่องจากทางเทศบาลเมืองลพบุรีได้ส่งเจ้าหน้าที่ มาจับ การนี้จำเริญ สละชีพ นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มาชี้แจงว่าลิงที่ถูกจับนั้นเป็นลิงที่แตกฝูงและเกเรไปไว้ที่ จำนวน   74 ตัว ที่ส่วนใหญ่อิดโรยและมีแผลทั่วตัว

         นอกจากนี้ยังพบว่ามีลิงศาลพระกาฬจำนวน 30-40 ตัวถูกจับและปล่อยทิ้งไว้ที่ตำบลดอนดึง ภายหลังจึงมีแผนจัดการที่จะนำลิงไปไว้ที่ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี โดยทำในลักษณะสวนลิง

ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ ศาลศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ลพบุรีขอขอบคุณ:https://th.wikipedia.org/
แชร์