รู้จัก!"สามเณร"นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ

คำว่า สามเณร สามเณรี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป http://winne.ws/n12410

1.6 พัน ผู้เข้าชม
รู้จัก!"สามเณร"นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะขอบคุณภาพจาก ประชาชาติธุรกิจ

ประวัติคำว่า "สามเณร" นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย

               สามเณรและ สามเณรี แปลว่า เหล่ากอของสมณะ,หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ถ้าเป็นนักบวชหญิงอายุน้อยเรียกว่า สามเณรี 

               คำว่า สามเณร สามเณรี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป                   

                ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรสามเณรีได้นั้นทางพระวินัยกำหนด อายุอย่างต่ำไว้ประมาณ ๗ ขวบซึ่งพอช่วยเหลือตัวเองได้ พระวินัยระบุว่าพอจะไล่กาไล่ไก่ได้ ส่วนสูงไม่มีกำหนดไว้ ผู้มีอายุไม่เกิน ๒๐ ปีจะบวชเป็นสามเณรตลอดไป ไม่บวชเป็นภิกษุก็ได้

       อ้างอิง พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด,วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

ประวัติสามเณรราหุล สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา

รู้จัก!"สามเณร"นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ

ประวัติสามเณรราหุล  สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา

             พระราหุล เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ กับพระนางยโสธรา (พิมพา) เป็นพระนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ เมื่อพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้วเสด็จมาเทศนาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิล พัสดุ์ ประทับอยู่ที่นิโครธาราม วันหนึ่งพระองค์เสด็จไปที่พระราชนิเวศน์ของพระนางยโสธราพระราชเทวีเก่าของ พระองค์ 

            ครั้นล่วงถึงวันที่ ๗ แห่งการเสด็จไปโปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางพิมพาราชเทวีประดับตกแต่งองค์ราหุลกุมาร ราชโอรสด้วยอาภรณ์อันวิจิตรแล้วตรัสว่า

            “พ่อราหุลลูกรัก พ่อจงไปดูพระสมณะผู้มีผิวพรรณผ่องใส รูปดุจท่านท้าวมหาพรหม แวดล้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเป็นจำนวนมาก พระสมณะองค์นั้นคือพระบิดาของเจ้า พระองค์มีขุมทรัพย์มหาศาลอันสุดจะคณนา นับแต่พระบิดาของเจ้าออกผนวช เจ้าก็เหมือนหมดหวังในราชสมบัติ เจ้าจงไปกราบถวายบังคมพระบิดา แล้วกราบทูลขอทรัพย์สมบัตินั้น ในฐานะเป็นทายาทสืบสันติวงศ์ต่อพระองค์เถิด”

รู้จัก!"สามเณร"นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะขอบคุณภาพจาก ธรรมจักร

          ราหุลกุมารเสด็จเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามพระดำรัสของพระมารดา กราบถวายบังคมแล้ว ทอดพระเนตรดูพระสัพพัญญู ได้บังเกิดความรักในพระบิดา ทรงปราโมทย์โสมนัสตรัสชมว่า “ร่มเงาของพระองค์เย็นสดชื่นยิ่งนัก พระพักตร์ของพระองค์สดใสสุดประมาณ” ดังนี้แล้วก็ตรัสเรื่องอื่นๆ ต่อไป โดยมิได้กราบทูลขอทรัพย์สมบัติ

           เมื่อพระพุทธองค์ทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสอนุโมทนา เสด็จกลับสู่ นิโครธาราม ส่วนราหุลกุมารก็เสด็จติดตามไปจนถึงพระอาราม มิมีผู้ใดจะสามารถกราบทูลทัดทานได้ เมื่อสบโอกาสจึงกราบทูลขอทรัพย์สมบัติ อันเป็นสิ่งที่รัชทายาทผู้สืบราชสันติวงศ์จะพึงได้รับ

           พระบรมศาสดาได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงดำริว่า 

         “ราหุลกุมารปรารถนาทรัพย์สมบัติอันเป็นของพระบิดา ถ้าตถาคตจะให้ราชสมบัติซึ่งเป็น ‘ทรัพย์ธรรมดา’ หรือทรัพย์ภายนอกแก่เธอแล้ว ก็จะเป็นสิ่งชักนำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะสงสาร เป็นไปด้วยความคับแค้นและจมอยู่ในกองทุกข์ ด้วยเป็นสิ่งหาสาระแม้สักนิดหนึ่งก็หามีไม่ อย่ากระนั้นเลยตถาคตจะมอบ ‘อริยทรัพย์’ หรือ ทรัพย์ภายในอันเป็นสิ่งที่มั่นคงถาวรและประเสริฐ สุดในพระพุทธศาสนานี้แก ่เธอ ซึ่งจะทำให้เธอเป็นโลกุตรทายาท สืบสกุลในพุทธวงศ์นี้สืบไป”

          ครั้นแล้วทรงมีพระดำรัสสั่งให้พระธรรมเสนาบดีสารีบุต ร จัดการบรรพชาให้แก่ราหุลกุมารในวันนั้น ด้วยวิธีไตรสรณคมน์ สามเณรราหุลจึงได้ชื่อว่า เป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา    

รู้จัก!"สามเณร"นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะขอบคุณภาพจาก BlogGang.com

  เมื่อ พระพุทธองค์ทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงตรัสสั่งพระสารีบุตรว่า สารีบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้ราหุลบวชเถิด ขณะนั้นราหุลกุมารยังเยาว์อยู่มีอายุยังไม่ครบอุปสมบท พระสารีบุตรจึงทูลถามว่า จะโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชราหุลกุมารอย่างไร พระบรมศาสดาทรงปรารภเรื่องนี้ให้เป็นเหตุ จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุบวชกุลบุตรที่มีอายุยังไม่ครบอุปสมบทให้เป็นสามเณร ด้วยการให้สรณคมน์ ๓ นับได้ว่าราหุลเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา เมื่อราหุลกุมารบวชเป็นสามเณรแล้ว ตามเสด็จพระบรมศาสดา และพระอุปัชฌาย์ของตนไป ครั้นมีอายุครบแล้วก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ 

           วันหนึ่งในขณะที่พระราหุลพักอยู่ ณ สวนมะม่วงแห่งหนึ่งในกรุงราชคฤห์ พระบรมศาสดาเสด็จไป ณ ที่นั้น ทรงแสดงราหุโลวาทสูตรซึ่งว่าด้วยภาชนะน้ำเปล่า บรรยายเปรียบเทียบด้วยคนพูดมุสาวาทเป็นต้น ตรัสสอนให้พระราหุลสำเหนียกตามเทศนานั้นแล้วเสด็จกลับไป 

           ต่อมาอีก วันหนึ่งพระราหุลเข้าไปเฝ้า พระบรมศาสดาตรัสสอนด้วยมหาราหุโลวาท ซึ่งว่าด้วรรูปกรรมฐานธาตุ ๕ อย่างคือ ปฐวีธาตุ ธาตุดิน,อาโปธาตุ ธาตุน้ำ,เตโชธาตุ ธาตุไฟ, วาโยธาตุ ธาตุลม และอากาศธาตุ ช่องว่าง ให้ใช้ ปัญญาพิจารณาให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ส่วนนั้นไม่เป็นของเรา ส่วนนั้นไม่ใช่ของตัวเราเป็นต้น ในที่สุดก็ตรัสสอนในกรรมฐานอื่น ๆ ให้เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อสุภสัญญา อนิจจสัญญา 

พระราหุลได้บรรลุพระอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์

รู้จัก!"สามเณร"นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะขอบคุณภาพจาก ศูนย์สื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนา BMC

พระราหุลได้บรรลุพระอรหัตตผล เป็นพระอรหันต์ 

       ครั้นทรงสอนจบแล้วพระราหุลมีจิตยินดีในคำสอนของพระบรมศาสดา ต่อมาพระราหุลได้ฟังพระพุทโธวาทเกี่ยวกับวิปัสสนา คล้ายกับโอวาทที่ตรัสสอนภิกษุปัญจวัคคีย์ เพียงแต่ในที่นี้ยกอายตนะภายในภายนอกเป็นต้นขึ้นแสดงแทนขันธ์ ๕ ท่านส่งจิตไปตามพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์ 

           พระราหุลนั้น ท่านเป็นผู้ใคร่ในการศึกษาธรรมวินัย ตามประวัติกล่าวไว้ว่า ครั้นท่านลุกขึ้นแต่เช้าก็ไปกอบทรายให้เต็มฝ่าพระหัตถ์แล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ในเวลานี้ข้าพเจ้าพึงได้รับซึ่งโอวาทคำสอนจากสำนักของพระบรมศาสดา หรือจากสำนักของอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งหลายให้ได้มากประมาณเท่าเม็ดทรายใน กำมือแห่งข้าพเจ้านี้ ด้วยเหตุนี้เอง พระราหุลจึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ใคร่ในการศึกษา ครั้นท่านดำรงชนมายุสังขารโดยสมควรแก่กาลแล้วก็ ดับขันธปรินิพพาน 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1592.0;wap2

แชร์