กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี

สมเด็จพระมหาธีราจารย์จึงมีดำริให้สร้างพระพุทธรูปปางขอฝน องค์ใหญ่ สูง32 เมตร โดยท่านได้ให้นามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์” อันเป็นนามที่มีความหมาย 3 ประการ http://winne.ws/n12576

2.7 พัน ผู้เข้าชม
กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี

       คู่มือคนเมืองไทยรัฐออนไลน์ ขอพาไปเที่ยวชม ไหว้พระ ถ่ายรูปในสถานที่งดงามอลังการ ทั้งยังเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนา  กับแลนด์มาร์คแห่งใหม่จังหวัดกาญจนบุรี 'พุทธอุทยานพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์' ซึ่งได้เปิดให้เข้าชมกันสักระยะหนึ่งแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักกันมากเท่าไรนัก วันนี้เราพาไปสแกนสิ่งน่าสนใจในสถานที่แห่งนี้ให้ได้ชมกัน...

        เรื่องเล่า กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน 'พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์'


        เมื่อครั้นสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการก่อสร้าง วัดทิพย์สุคนธาราม ณ ตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี โดยสมเด็จพระมหาธีราจารย์ให้การอุปถัมภ์การดำเนินการสร้างวัดและเสนาสนะต่างๆ  จึงทำให้เห็นสภาพแวดล้อมรอบๆ บริเวณดังกล่าวมีความแห้งแล้ง ชาวบ้านประสบปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ในการเพาะปลูก จึงไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้ กอปรกับพุทธศตวรรษที่ 26 นี้ (พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2600) นับเป็นปี “พุทธชยันตี” ครบรอบวันถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาเป็นเวลากว่า 2,600 ปี


        

กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี

       อีกทั้งช่วงเวลาในขณะนั้นได้เกิดเหตุพระพุทธรูปศิลปะคันธาระอายุเก่าแก่ที่สลักขึ้นด้วยจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาของกษัตริย์แห่งราชวงศ์คุปตะ เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 10 บนหน้าผาสูง 2,500 เมตร ในหุบเขาบามิยัน อันเป็นฐานที่มั่นของพระพุทธศาสนามาเป็นเวลากว่าสองพันปีได้ถูกทำลายลง เมื่อพุทธศักราช 2544 สมเด็จพระมหาธีราจารย์ จึงเกิดแรงบันดาลใจสำคัญในการดำริสร้าง พระพุทธรูปใหญ่ เป็นสิ่งแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ปรารถนาอันแรงกล้าสืบสานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป ประกอบกับกำหนดให้เป็นปางคันธารราฐ หรือ ปางขอฝน เนื่องด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือราษฎรบริเวณนั้น เพราะพุทธานุภาพของพระพุทธรูป จะช่วยดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลได้ 

กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี

        สมเด็จพระมหาธีราจารย์จึงมีดำริให้สร้างพระพุทธรูปปางขอฝน องค์ใหญ่                 สูง 32 เมตร หมายถึงอาการแห่งกายครบบริบูรณ์ทั้ง 32 ประการของมนุษย์ สร้างอยู่บนเนื้อที่กว่า 320 ไร่ ณ วัดทิพย์สุคนธาราม ตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกความรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนาที่สืบเนื่อง มาแต่อดีต พร้อมทั้งเป็นศูนย์รวมจิตใจ และบำรุงขวัญพุทธศาสนิกชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้ให้ยั่งยืนสืบไป โดยท่านได้ให้นามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์” อันเป็นนามที่มีความหมาย 3 ประการ คือ

1. เป็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่พึ่งของประชาชนชาวไทยและชาวโลก

2. เป็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่พึ่งของสามโลก ได้แก่ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และยมโลก



3. เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง พระพุทธรูปแห่งบามิยัน ประเทศอัฟกานิสถาน

กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี

       ปฐมฤกษ์แห่งการก่อสร้าง คณะกรรมการ โดยมี นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธาน (ฝ่ายฆราวาส) ได้ดำเนินการจัดพิธีบวงสรวงการก่อสร้าง ณ บริเวณอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 และเมื่อโครงการได้ดำเนินไประยะหนึ่ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเททองหล่อชิ้นส่วนสำคัญของพระพุทธเมตตาประชาไทยฯ (พระหัตถ์ขวา ซึ่งเป็นกิริยาสำคัญของพระพุทธรูปปางขอฝน คือ กิริยากวักเรียกฝน) ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557

       จากนั้นโครงการฯ ได้ดำเนินการตามแผนอย่างเรียบร้อย โดยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนด้วยแรงศรัทธาจากทุกภาคส่วนที่มีความจงรักภักดีและศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาจนแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2557 รวมระยะเวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น 3 ปี ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเป็นประธานในพิธีสมโภชพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ณ วัดทิพย์สุคนธาราม จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 23 ธันวาคม 2558

สถานที่น่าสนใจในพุทธอุทยาน

จุดแรก : องค์พระพุทธเมตตาฯ และลานประทักษิณ

       เมื่อได้เห็นกับตา หลายคนต้องรู้สึกเหมือนกันว่างดงามเหลือเกิน องค์พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ประดิษฐาน ณ ลานประทักษิณ พื้นที่ดังกล่าวเป็นบริเวณเกือบกึ่งหน้าภูเขา มีรูปทรงเฉพาะเป็นสามเหลี่ยมตั้งอยู่กลางที่ราบ ทำให้องค์พระมีความโดดเด่น สง่างาม โดยมีทางเดินนำสายตามุ่งหน้าสู่         องค์พระ ซึ่งบริเวณทางเดินเข้าสู่องค์พระเป็นพื้นที่ยกระดับสูงขึ้นไปทีละน้อย เปรียบเสมือนการเดินขึ้นไปนมัสการองค์พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งอยู่บนที่สูง ซึ่งภูเขาที่เขียวชอุ่มด้านหลังองค์พระเป็นดังฉากหลังที่กันสายตา ส่งเสริมให้องค์พระเด่นชัดยิ่งขึ้น

      นอกจากนั้นภูมิทัศน์โดยรอบไม่มีอาคารหรือสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ มาบดบังมุมมองทัศนียภาพและองค์พระ บริเวณด้านหลังข้างองค์พระมียักษ์ 2 ตนเป็นผู้คอยปกป้องพิทักษ์ องค์พระพุทธรูป ยักษ์ตนที่สถิตอยู่ด้านซ้ายองค์พระ มีนามว่า          “ไวยเวทย์” สีแดงฉานแสงพระอาทิตย์ อาวุธพิเศษประจำกาย คือ เมฆพัท พระอิศวรประทานให้เป็นหอก ที่มีฤทธิ์เดชเกรียงไกร สามารถพุ่งไปทำลายศัตรูให้ราบคาบในชั่วพริบตา ยักษ์ตนที่สถิตอยู่ด้านขวาองค์พระ มีนามว่า “สุบรรณคีรี” เป็นแม่ทัพยักษ์ที่มีความยิ่งใหญ่ กายเป็นสีเขียว มีรูปร่างกำยำและมีขนาดร่างกายใหญ่กว่ายักษ์ตนอื่น

กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี
กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี
กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี
กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี

ส่วนที่ 1 จัดแสดงประวัติความเป็นมาของโครงการฯ ตั้งแต่การดำริสร้าง ความท้าทายทางวิศวกรรม รวมทั้งความสัมพันธ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนา

ส่วนที่ 2 จัดแสดงนิทรรศการเรื่องของการเดินทางของพระพุทธศาสนาจากดินแดนชมพูทวีปสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ การหยั่งรากของพระพุทธศาสนาลงบนดินแดน สุวรรณภูมิจวบจนปัจจุบัน

กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี
กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี
กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี

ส่วนที่ 3 จัดแสดงสัญลักษณ์และเครื่องหมายแห่งการระลึกถึงพระพุทธศาสนา ตลอดจนหลักปรัชญาและคติคำสอน เพื่อการเข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา

ส่วนที่ 4 จัดแสดงเรื่องราวของการสืบทอดพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลกที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน

จุดที่ 3 : วัดทิพย์สุคนธาราม

กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี
กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี

       วัดทิพย์สุคนธารามจัดสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 ด้วยจิตศรัทธาเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาของนางฉันท์ทิพย์ กลิ่นโสภณ และครอบครัว โดยได้ถวายที่ดิน 339 ไร่ ที่ตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยทุนทรัพย์เป็นทุนในการสร้างวัด เพื่อประโยชน์ทางศาสนาของภิกษุสงฆ์และประชาชน โดยสมเด็จพระมหาธีราจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม รับอุปถัมภ์การสร้างวัดมาตั้งแต่ต้น และได้ตั้งนามวัดว่า “วัดทิพย์สุคนธาราม” และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2556

จุดที่ 4 : สวนป่าพุทธอุทยาน

กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี
กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี

        สงบร่มเย็นเป็นที่สุดกับสวนป่าพุทธอุทยาน ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 170 ไร่ โดยออกแบบให้มีบรรยากาศพุทธอุทยาน ด้วยความมุ่งหมายที่จะสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น เพื่อความชุ่มชื้นของพื้นที่ มีความโดดเด่นในการใช้พรรณไม้นานาชนิดรายรอบพื้นที่ โดยการคัดเลือกพรรณไม้ที่มุ่งเน้นไม้ที่มีความหมายตามพุทธประวัติเป็นสำคัญ เป็นพรรณไม้ไทยพันธุ์หายาก พรรณไม้ในพุทธประวัติอันเกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องราวการประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน สมเป็นสวนแห่งธรรม นอกจากนี้ภายในสวนยังมีการจัดนิทรรศการกลางแจ้ง จัดแสดงเป็นสัญลักษณ์และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ใน พุทธประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 4 เหตุการณ์สำคัญ คือ

1. กำเนิดมหาโพธิ การประสูติของพระพุทธเจ้าและการเสด็จออกผนวช
2. ค้นพบการตื่นรู้ การบำเพ็ญทุกรกิริยา และการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. จากหน่อแรก เจริญงอกงามแผ่ขยายร่มเงา การแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
4. มหาโพธิสิ้นอายุขัย การเสด็จดับขันธปรินิพพาน

กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรี
กำเนิดพระพุทธรูปปางขอฝน "พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ" พุทธอุทยาน จ.กาญจนบุรีขอขอบคุณ:https://www.thairath.co.th/content/828726
แชร์