พระปราโมทย์ย้ำ..!! พุทธศาสนา:แห่งความนุ่มนวล: ระวังการใช้ Power Over อยุติธรรมถือว่าเป็นความรุนแรง

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความนุ่มนวล: อย่าเพิ่มความเกลียดชังในสังคม ระวังการใช้ Power Over : ความไม่ยุติธรรมถือว่าเป็นความรุนแรง : ชนะเชิงกลยุทธ์ แต่เเพ้เชิงยุทธศาสตร์ : แท้จริงคนใช้ความรุนแรงภายในเขาช่างอ่อนแอ : ชัยชนะที่แลกมาด้วยความเจ็บปวดถือว่าเเพ้ http://winne.ws/n13602

1.6 พัน ผู้เข้าชม
พระปราโมทย์ย้ำ..!!  พุทธศาสนา:แห่งความนุ่มนวล: ระวังการใช้ Power Over อยุติธรรมถือว่าเป็นความรุนแรง

เมื่อวันที่ 24   กุมภาพันธ์  2560 ที่ผ่านมา พระอาจารย์ปราโมทย์   วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก   สาขาสันติศึกษา พระวิทยากรธรรมะโอดี พัฒนาองค์กร ได้โพสต์บทความธรรมะผ่านสังคมสื่อโชเชี่ยวเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยให้แง่คิดมุมมองของการบริหารจัดการสังคม ที่สร้างความสมานฉันท์  โดยอาศัยหลักการของพระพุทธศาสนาได้อย่างลงตัว ด้วยสันติวิธี 

สำหรับพระอาจารย์ปราโมทย์   วาทโกวิโท เป็นพระนักเทศน์ พระวิทยากรมากด้วยความรู้และความสามารถมีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่าง จัดอบรมพัฒนาบุคคลากรด้านต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน

พระปราโมทย์ย้ำ..!!  พุทธศาสนา:แห่งความนุ่มนวล: ระวังการใช้ Power Over อยุติธรรมถือว่าเป็นความรุนแรง

"  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความนุ่มนวล: อย่าเพิ่มความเกลียดชังในสังคม ระวังการใช้ Power Over : ความไม่ยุติธรรมถือว่าเป็นความรุนแรง : ชนะเชิงกลยุทธ์ แต่เเพ้เชิงยุทธศาสตร์ : แท้จริงคนใช้ความรุนแรงภายในเขาช่างอ่อนแอ : ชัยชนะที่แลกมาด้วยความเจ็บปวดถือว่าเเพ้ "

                                   ณ ช่วงเวลานี้เราสามารถเลือกได้จะใช้ความรุนแรงหรือสันติวิธีถ้าใช้สันติวิธีจะสูญเสียน้อยที่สุด เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความนุ่มนวลเป็นศาสนาแห่งความรัก แต่ ณ ปัจจุบันตามข่าวสารต่างๆ ศาสนาถูกใช้เป็นเครื่องมือของความรุนแรง หรือ ข้ออ้างทำให้เกิดความรุนแรง หรือ เหตุผลหลักในการใช้ความรุนแรง  พระพุทธศาสนาจึงบอบซ้ำมากเหลือเกิน  ถึงเวลาที่ต้องกลับมาทบทวนอย่างจริงจัง เพราะคนที่ใช้ความรุนแรงเรากำลังสะท้อนอะไรบางอย่าง  แสดงว่าตนเองเข้มแข็ง แต่จริงๆ จิตใจเขาอ่อนแอมาก เพื่อต้องการจะปกปิดแผลหรือรอยอะไรบางอย่าง มหาตมะคานธี  กล่าวว่า...คนที่อ่อนแอไม่สามารถให้อภัยใครได้ คนที่เข้มแข็งเท่านั้นถึงสามารถให้อภัยคนอื่นได้    คนที่ตัดสินใจใช้ความรุนแรง คือ " คนที่อ่อนแอ เป็นบุคคลที่น่าสงสารมากที่สุด  นับวันโลกใบนี้จะมีแต่ความอ่อนแอ  

                                     สะท้อนถึงความเป็นมนุษย์ในการใช้ความรุนแรง ชนะที่เเลกมาด้วยความเจ็บปวดจึงตัดสินใจใช้ความรุนแรง  มองให้แง่ของพระพุทธศาสนา ทุกชีวิตมีคุณค่า  ทุกคนรักชีวิต สันติวิธีจึงเป็นเครื่องมือสำหรับมนุษย์ที่ต้องคุยกับมนุษย์  เวลามีปัญหาต้องสร้างวิธีการพูดคุย  เปิดพื้นที่มาคุยมาทำงานด้วยกันไม่มีใครครอบงำความคิด ทุกคนมีพื้นที่  เราจะทำให้คนมีกิเลสมาคุยกันอย่างไร ?เพราะทุกคนมี Power  มี ๓ ประการ คือ  Power Over เป็นการใช้พลังเหนือคนอื่น เป็นความรุนแรง   Power  With เป็นการใช้พลังร่วมกัน ร่วมทำอะไรบางอย่าง  Power  Wisdom  เป็นการใช้พลังปัญญา หรือ ธรรมทาน เปิดพื้นที่เติมปัญญา ถ้าจะอยู่ด้วยกันก็อย่าหงุดหงิด เติมเต็มให้แก่กันและกัน  ณ สถานการณ์ปัจจุบันเป็นห่วงการใช้ Power Over ซึ่งส่งผลเสียระยะยาวมาก ทำให้ไม่สามารถเกิดกระบวนการปรองดองได้ เพราะการจะปรองดองต้องใช้เครื่องมือ คือ "การฟังเท่านั้น " เป็นจุดเริ่มต้น  ฟังทุกคนแม้เสียงส่วนน้อย  สอดรับกับคำว่า "  Go  slow   to  go fast  Go  fast   to  go  slow  แปลว่า ไปช้าๆ เพื่อจะไปไวๆ ไปไวๆ เพื่อจะไปช้าๆ "  

                               

พระปราโมทย์ย้ำ..!!  พุทธศาสนา:แห่งความนุ่มนวล: ระวังการใช้ Power Over อยุติธรรมถือว่าเป็นความรุนแรง

 การปรองดองแบบกดทับไม่ยั่งยืน ระยะยาวแพ้เชิงยุทธศาสตร์ ชนะในเชิงกลยุทธ์ เหมือบางเหตุการณ์ใช้ความรุนแรงอาวุธกดทับไว้  เรียกว่า  " ชนะในเชิงกลยุทธ์ แต่เเพ้เชิงยุทธศาสตร์ "  แม้แต่เนปาลก็ต้องยอม ถึงจะเป็นประเพณีอันยาวมานาน คือ การบูชายัญ  ซึ่งจุดยืนของพระพุทธเจ้า"ผู้เบียดเบียนคนอื่นไม่ใช่บรรพชิต" นี่คือ จุดยืนของพระพุทธศาสนา จิตวิญญาณของพุทธมาจากสันติภาพ  บางศาสนามีพื้นฐานมาจากความรุนแรง  เขาแรงมา เราต้องไม่แรงกลับ  พระพุทธเจ้าย้ำพระสงฆ์ว่าไม่ใช้ความรุนแรง  เราต้องไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ  เหมือนพระปุราณะบอกว่า "เขาฆ่าเรา ดีกว่าเราไปฆ่าเขา"  ยอมถึงขนาดนั้น   ความรุนแรงมี  ๒ ทาง คือ รุนแรงทางตรง  คือ ศีล ๕ และรุนแรงทางอ้อม  เช่น พระพุทธเจ้ายกเลิกวรรณะ  เป็นความรุนแรงทางอ้อม  พระพุทธเจ้าเลิกวรรณะถือว่าเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เลิกทาส อับฮัมบราฮัม ลิงคอน เลิกทาส รัชกาลที่ ๕ เลิกทาส ถือว่าเป็นการป้องกันความรุนแรงทางสังคม   พระพุทธเจ้าให้เคารพกันตามอาวุโส มิใช่เคารพกันตามตำแหน่ง หรือยศ  มีความเสมอภาค   ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า..." บุคคลดูแลภิกษุป่วยไข้  ท่ากับดูแลเราตถาคต " แสดงถึงความเสมอภาคในการอยู่ร่วมกัน   

                                   ถ้าเราอุณหภูมิร้อนมาจากใจที่มันร้อน ในความจริงเกี่ยวกับสันติวิธี ใช้แก้ปัญหา ๒ ประการ คือ " ใช้ความรุนแรง และ ใช้สันติวิธี "   การใช้ความรุนแรงไม่ถือว่าใช้สันติวิธี  สันติวิธี คือ  การไม่ใช้กำลัง  การเชื่อฟัง  การไม่ก่อความวุ่นวาย   การทำตามกฎหมาย   จริงๆ กฎหมายก็เป็นสันติวิธี แต่ไม่ทั้งหมด  เพราะบางครั้งกฎหมายไม่ชอบธรรม ไม่ยุติธรรม จึงเกิดการดื้อแพ่ง   จึงเกิดมายาคติเกี่ยวกับสันติวิธี  คือมีความคิดว่าสันติวิธี สู้ อาวุธไม่ได้  สู้ดีกว่า ใช้อาวุธเลย  ใช้เวลานานเกินไป คุยกันตามหลายปีแล้ว  แม้แต่ประเด็นในสังคมปัจจุบันก็พยายามจะใช้การเจรจาแต่ไม่เป็นผล จึงอ้างว่าสันติวิธีไม่สำเร็จผล  สันติวิธีไม่สามารถกำหนดกรอบระยะเวลาในการทำงาน คนที่ทำงานด้านสันติวิธี ไม่สามารถกำหนดเวลาได้ ประเด็นทางศาสนา "ใจร้อนไม่ได้"  เราต้องอดทน  มีขันติวาที  แต่คนใช้ความรุนแรงไม่ต้องคุยมาก หยิบปืนยิงเลย  คนที่เดินทางสายนี้ คือ มหาตมะคานธี ใช้ความอดทน  อองซานซูจี ใช้ความอดทน  เนลสันใช้ความอดทน  บั้นปลายชีวิตเป็นอย่างไร ?  กลับมาติดคุก ยอมติดคุกอาจจะเป็นฮีโร่  สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ    ชนะบั้นปลาย คือ อองซานซูจี และ เนลสัน  ยุทธศาสตร์ระยะยาว แต่ กลยุทธ์ระยะสั้น   บางคนมองว่าเป็นวิธีสำหรับคนขลาด   ยอมจำนนอยู่เฉยๆ   ต้องชนะ หรือ ฝ่ายตรงข้ามแพ้  ไม่ชนะไม่เลือก  " สันติวิธีเป็นการยื่นบันไดให้กัน เพื่อทุบกำแพงสร้างสะพานเชื่อมไปหากัน" ไม่ใช้อาวุธ เพราะไม่มีโอกาส  ใช้สันติวิธีเป็นสะพาน  ไม่สามารถประกันความสำเร็จได้ ซึ่งแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ใช้สันติวิธีบางครั้งไม่สำเร็จ  เพราะพื้นฐานความเกลียดชังลงลึกมาก ผู้อำนวยการสันติศึกษา มหาจุฬาฯเคยย้ำว่า...สำนักสันติวิธี มี   ๓ สำนัก  คือ  

                                ๑) มหาจุฬา คือ  สันติวิธีในฐานะเป็นเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้ง (Peaacful Means)  ในศาสนาพุทธไม่มีคำว่า สันติวิธี แต่มีคำว่า สันติ   หลักๆ ในพระพุทธศาสนา คือ มรรคมีองค์ ๘  ตามแนวของพระพุทธเจ้า  สันติวิธีถือว่าเป็นเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง (Peaceful Means) คือ การเจรจากันเอง (Negotiation) คือ ใช้วิธีการพูดคุยกันก่อน  เจรจามี ๒ คือ " เจรจาเอาจุดยืนเป็นตัวตั้ง  เจรจาเอาประโยชน์เป็นตั้วตั้ง" จะได้ประโยชน์อะไรในการเจรจาครั้งนี้   ชนะทั้งคู่  การไกล่เกลี่ย  (Mediation)  บางคนเอาเรื่องความตายมาให้คิด  เอาเรื่องลูกมาสอนให้คิด ชนะทั้งคู่ อนุญาโตตุลาการ (Arbitration)มีแพ้มีชนะ และศาล  ( Court)  ถือว่าเป็นสันติวิธีอย่างหนึ่ง  มีแพ้มีชนะ    หรือบางที่ใช้การการหลีกเลี่ยง (Avoidance)

                               ๒) สันติวิธีสำนักมหาตมะคานธี เป็นการเรียกร้องความต้องการ ปราศจากความรุนแรง  เรียกร้องให้คนขาดโอกาส  เป็น " อาวุธมีชีวิต "  ทำเพื่อเรียกร้องสิทธิ  เสรีภาพ ความยุติธรรม   Civil Disobedience  การดื้อแพ่ง หรือ อริยะขัดขืน  เป็นการแสดงสัญลักษณ์ผ่านคำพูด คือ  Demonstration  การอดข้าวของมหาตมะคานธี เพื่อให้เกิดความเจ็บปวด   March เป็นการเดินเป็นระเบียบเรียบร้อย   และสุดท้าย ใช้Mob คุมไม่อยู่เพื่อให้ผู้มีอำนาจได้ยิน เสียงของคน มาเพื่อให้คนได้ยิน

                               ๓) สันติวิธีในฐานะเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต (Pacifism)  ประเด็นคือ บุคคลที่ทานเจ  คานธีใช้หลักใช้อหิงสา เป็นพื้นฐานของหลักศาสนาฮินดู   ถ้าตัดสินใจใช้สันติวิธี ต้องไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ   สันติวิธีเป็นวิธีการที่น่าจะมีการสูญเสียน้อยที่สุดทั้งระยะสั้นระยะยาว

                               ฉะนั้น ขอให้ทุกท่านมีสติและโยนิโสมนสิการในการรับข่าวสารทุกรูปแบบ  " อย่าใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ด้วยภูมิปัญญาขั้นต่ำ " ในการไปทำร้ายเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  ชีวิตเราสั้นนักไม่มีเวลาจะไปทะเลาะหรือเบียดเบียนใครแล้ว มีแต่เวลาจะสร้างความดีร่วมกันต่อไป 

สาราณียธรรม

โดย...พระอาจารย์ปราโมทย์   วาทโกวิโท

นิสิตปริญญาเอก   สาขาสันติศึกษา 

พระวิทยากรธรรมะโอดี พัฒนาองค์กร

๒๔   กุมภาพันธ์    ๒๕๖๐


#ทีมวินนิวส์

ขอบคุณ, https://www.facebook.com/people/Pramote-Od

พระปราโมทย์ย้ำ..!!  พุทธศาสนา:แห่งความนุ่มนวล: ระวังการใช้ Power Over อยุติธรรมถือว่าเป็นความรุนแรง
แชร์