เปิดบันทึกพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดิน ชื่อกระทรวงต่าง ๆ ยุคก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ถึง ปัจจุบัน

กระทรวงในประเทศไทย เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย จัดตั้งขึ้นโดยการตราพระราชบัญญัติ ปัจจุบันมีกระทรวงหรือเทียบเท่าจำนวนทั้งสิ้น 20 กระทรวง http://winne.ws/n14523

5.9 พัน ผู้เข้าชม

สัญลักษณ์ ของกระทรวงต่าง ๆ ทั้ง 19 กระทรวง 1 สำนักนายกรัฐมนตรี

เปิดบันทึกพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดิน ชื่อกระทรวงต่าง ๆ ยุคก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ถึง ปัจจุบัน

การบริหารแผ่นดินในต้นรัตนโกสินทร์นั้น คงดำเนินตามแบบที่ได้ทำมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ผิดแต่ว่ามีกรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นบ้าง แต่หลักของการบริหารนั้น คงมีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม ว่าการฝ่ายทหาร สมุหนายก ว่าการพลเรือน ซึ่งแบ่งออกเป็นกรมเมืองหรือกรมนครบาล กรมวัง กรมคลัง และกรมนา

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติด้วยพระองค์เองเมื่อ พ.ศ. 2416 นั้น เนื่องจากพระองค์ได้เสด็จต่างประเทศดูแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรป นำมาใช้ในสิงคโปร์ ชวา และอินเดียแล้ว ทรงพระราชปรารภว่า สมควรจะได้วางระเบียบราชการ บริหารส่วนกลางเสียใหม่ตามแบบอย่างอารยประเทศ โดยจัดจำแนกราชการเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่เป็นหมวดเหล่า ไม่ก้าวก่ายกัน ดังนั้นใน พ.ศ. 2418 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกกระทรวงพระคลังออกจากกรมท่า หรือต่างประเทศ และตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ทำหน้าที่เก็บรายได้ของแผ่นดินทุกแผนกขึ้นเป็นครั้งแรก

ต่อจากนั้น ได้ทรงปรับปรุงหน้าที่ของกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายเวลานั้นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรวมเข้าเป็นกระทรวง กระทรวงหนึ่ง ๆ ก็มีหน้าที่อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพอเหมาะสม กระทรวงซึ่งมีอยู่ในตอนแรก ๆ เมื่อเริ่มเถลิงราชสมบัตินั้นเพียง 6 กระทรวง[ต้องการอ้างอิง] คือ

กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ

กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ และการทหารบก ทหารเรือ

กระทรวงนครบาล มีหน้าที่บังคับบัญชาการรักษาพระนคร คือปกครองมณฑลกรุงเทพฯ

กระทรวงวัง มีหน้าที่บังคับบัญชาการในพระบรมมหาราชวัง

กระทรวงการคลัง มีหน้าที่จัดการอันเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ และการพระคลัง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่จัดการไร่นา

เพื่อให้เหมาะสมกับสมัย จึงได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ของกระทรวงบางกระทรวง และเพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง คือ

กระทรวงการต่างประเทศ แบ่งหน้าที่มาจากกระทรวงการคลังเก่า มีหน้าที่ตั้งราชทูตไปประจำสำนักต่างประเทศ เนื่องจากเวลานั้นชาวยุโรปได้ตั้งกงสุลเข้ามาประจำอยู่ในกรุงเทพฯ บ้างแล้ว สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นเสนาบดีกระทรวงนี้เป็นพระองค์แรก และใช้พระราชวังสราญรมย์เป็นสำนักงาน เริ่มระเบียบร่างเขียนและเก็บจดหมายราชการ ตลอดจนมีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยมาทำงานตามเวลา ซึ่งนับเป็นแบบแผนให้กระทรวงอื่น ๆ ทำตามต่อมา

กระทรวงยุติธรรม แต่ก่อนการพิจารณาพิพากษาคดีไม่ได้รวมอยู่ในกรมเดียวกัน และไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน เป็นเหตุให้วิธีพิจารณาพิพากษาไม่เหมือนกัน ต่างกระทรวงต่างตัดสิน จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมผู้พิพากษา ตั้งเป็นกระทรวงยุติธรรมขึ้น

กระทรวงโยธาธิการ รวบรวมการโยธาจากกระทรวงต่าง ๆ มาไว้ที่เดียวกัน และให้กรมไปรษณีย์โทรเลข และกรมรถไฟรวมอยู่ในกระทรวงนี้ด้วย 

กระทรวงศึกษาธิการ แยกกรมธรรมการและสังฆการีจากกระทรวงมหาดไทย เอามารวมกับกรมศึกษาธิการ ตั้งขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการมีหน้าที่ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝึกหัดบุคคลให้เป็นครู สอนวิชาตามวิธีของชาวยุโรป เรียบเรียงตำราเรียน และตั้งโรงเรียนขึ้นทั่วราชอาณาจักร

ทั้งนี้ได้ทรงเริ่มจัดการตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2431 จัดให้มีเสนาบดีสภา มีสมาชิกเป็นหัวหน้ากระทรวง 10 นาย และหัวหน้ากรมยุทธนาธิการ กับกรมราชเลขาธิการ ซึ่งมีฐานะเท่ากระทรวงก็ได้เข้านั่งในสภาด้วย รวมเป็น 12 นาย พระองค์ทรงเป็นประธานมา 3 ปีเศษ

แต่เดิมเสนาบดีมีฐานะต่าง ๆ กัน แบ่งเป็น 3 คือ เสนาบดีมหาดไทยกับกลาโหมมีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี เสนาบดีนครบาล พระคลัง และเกษตราธิการ มีฐานะเป็นจตุสดมภ์ เสนาบดีการต่างประเทศ ยุติธรรม ธรรมการและโยธาธิการ เรียกกันว่า เสนาบดีตำแหน่งใหม่ ครั้นเมื่อมีประกาศ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 จึงเรียกเสนาบดีเหมือนกันหมด ไม่เรียกอัครเสนาบดี

พ.ศ. 2476-2484[

สำนักนายกรัฐมนตรี มีจำนวน 9 กระทรวง (และหน่วยงานเทียบเท่า) [1]

กระทรวงกลาโหม

กระทรวงการคลัง

กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงธรรมการ

กระทรวงมหาดไทย

กระทรวงยุติธรรม

กระทรวงวัง

กระทรวงเศรษฐการ (กระทรวงพาณิชย์)

พ.ศ. 2484-2495

มีจำนวน 10 กระทรวง (และหน่วยงานเทียบเท่า) 

สำนักนายกรัฐมนตรี

กระทรวงกลาโหม

กระทรวงการคลัง

กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กระทรวงคมนาคม

กระทรวงพาณิชย์

กระทรวงมหาดไทย

กระทรวงยุติธรรม

กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2495-2496 

สำนักนายกรัฐมนตรี  มีจำนวน 14 กระทรวง (และหน่วยงานเทียบเท่า) 

กระทรวงกลาโหม

กระทรวงการคลัง

กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงการสหกรณ์

กระทรวงเกษตร

กระทรวงคมนาคม

กระทรวงมหาดไทย

กระทรวงยุติธรรม

กระทรวงวัฒนธรรม

กระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงเศรษฐการ

กระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2496-2506[

สำนักนายกรัฐมนตรี  มีจำนวน 14 กระทรวง ได้แก่

กระทรวงกลาโหม

กระทรวงการคลัง

กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงเกษตร

กระทรวงคมนาคม

กระทรวงมหาดไทย

กระทรวงยุติธรรม

กระทรวงวัฒนธรรม

กระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงเศรษฐการ

กระทรวงสหกรณ์

กระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2506-2534

สำนักนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2506 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2506 ดังนี้

กระทรวงกลาโหม

กระทรวงการคลัง

กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงเกษตร

กระทรวงคมนาคม

กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ

กระทรวงมหาดไทย

กระทรวงยุติธรรม

กระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงเศรษฐการ

กระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2534-2545

สำนักนายกรัฐมนตรีในช่วงที่นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ในมาตรา 4 ได้กำหนดให้มีกระทรวง ทบวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงดังต่อไปนี้

กระทรวงกลาโหม

กระทรวงการคลัง

กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กระทรวงคมนาคม

กระทรวงพาณิชย์

กระทรวงมหาดไทย

กระทรวงยุติธรรม

กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน 

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2535

กระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงอุตสาหกรรม

ทบวงมหาวิทยาลัย

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จัดตั้งขึ้นเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2536[8]

พ.ศ. 2545 - 2559[

สำนักนายกรัฐมนตรี  ในช่วงที่ ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการตาม พระราชบัญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยกำหนดในมาตรา 5 ให้มีกระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ดังต่อไปนี้

1. กระทรวงกลาโหม  

2. กระทรวงการคลัง  

3. กระทรวงการต่างประเทศ    

4. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  

5. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

6. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  

7. กระทรวงคมนาคม  

8. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  

9. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  

10. กระทรวงพลังงาน  

11. กระทรวงพาณิชย์  

12. กระทรวงมหาดไทย  

13. กระทรวงยุติธรรม  

14. กระทรวงแรงงาน 

15. กระทรวงวัฒนธรรมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  

16. กระทรวงศึกษาธิการ  

17. กระทรวงสาธารณสุข  

19. กระทรวงอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

สำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกระทรวงการคลังกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงคมนาคมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกระทรวงพลังงานกระทรวงพาณิชย์กระทรวงมหาดไทยกระทรวงยุติธรรมกระทรวงแรงงานกระทรวงวัฒนธรรมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงอุตสาหกรรมในช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการเปลี่ยนชื่อกระทรวง จากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

อ้างอิง

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476

ขึ้นพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2495

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2496

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ. 2506

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 (ยุบสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และจัดตั้ง กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ขึ้นแทน เปลี่ยนชื่อ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน เป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม)

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2536

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/กระทรวงในประเทศไทย

แชร์