สถาบันอิศรา องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยและองค์กรด้านเด็ก ชี้โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊ก เสี่ยงละเมิดสิทธิเด็ก

สถาบันอิศรา องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยและองค์กรด้านเด็ก เสวนา'บทบาทสื่อมวลชนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก' โดยชี้ว่าการนำเสนอทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อออนไลน์มีการละเมิดสิทธิเด็กมากขึ้น โดยยกตัวอย่างการโพสต์รูปลูกของพ่อแม่ที่อาจไม่ได้คำนึงผลกระทบต่อเด็ก http://winne.ws/n16411

642 ผู้เข้าชม
สถาบันอิศรา องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยและองค์กรด้านเด็ก ชี้โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊ก เสี่ยงละเมิดสิทธิเด็ก

             ภาพในโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ที่พ่อและแม่โพสต์ภาพลูกตัวเองในอิริยาบถต่างๆ แสดงถึงความขบขันถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งผ่านออนไลน์ นายคงเดช กี่สุขพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสารนิเทศ  องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า ภาพเสี่ยงละเมิดสิทธิเด็ก เช่น เปลือยร่างกาย การแสดงออกที่ตีความได้หลายแบบ เช่น ท่าเต้น  รวมทั้งการใส่ข้อมูลรายละเอียดบุคคล อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีแสวงหาผลประโยชน์กับเด็กได้  แต่รูปบรรยากาศหรือกิจกรรมครอบครัว สามารถโพสต์ได้ 

             ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เด็กจะได้รับคุ้มครองด้านสิทธิตั้งแต่แรกเกิด โดยผู้ปกครองเป็นผู้ดูแล แต่ปัจจุบันการละเมิดสิทธิเด็กผ่านออนไลน์เกิดขึ้นบ่อยจนกลายเป็นเรื่องปกติ ทั้งคนกระทำและคนที่ถูกกระทำ ส่วนการละเมิดสิทธิเด็กผ่านสื่อกระแสหลัก ยังพบเห็น เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ที่ละเมิดสิทธิเด็กมากที่สุด เช่นการแถลงข่าว ใช้วิธีคลุมโม่ง และการนำเสนอข่าวเด็กที่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่นำไปสู่การล่าแม่มดของสื่อออนไลน์

            กฎหมายใช้ในการคุ้มครองเด็ก มี 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก 2546 , พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว มาตรา 76 ซึ่งมีบทบัญญัติ ห้ามถ่ายหรือบันทึกภาพเด็กกระทำผิด แต่การบังคับใช้กฎหมายผู้ฝ่าฝืนยังไม่เข้มงวดพอ เพราะประชาชนยังขาดความตระหนัก ทั้งนี้ขอให้สื่อหลักทำหน้าที่กรั่นกรอง คุ้มครองและดูแลเด็ก 


ขอขอบคุณภาพจาก https://www.google.co.th

ขอขอบคุณแหล่งข่าวจาก http://news.voicetv.co.th

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ http://news.voicetv.co.th/thailand/498721.html

แชร์