มารู้จักอาหารแนวอายุรเวทกันเถอะ

อายุรเวท หมายถึง ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ชีวิตและจิตใจมนุษย์ การปฎิบัติตนตามแนวอายุรเวททำให้คนมีสุขภาวะที่ดี ป้องกันจากโรคภัยทั้งมวล อาหารแนวอายุรเวท จำแนกได้ 3 ประเภท http://winne.ws/n17318

2.3 พัน ผู้เข้าชม

อาหารสดใหม่ เป็นอาหารที่รับประทานแล้วส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น ผักสด เช่น ถั่วงอก กะหล่ำปลี แครอต ฯลฯ ผลไม้สด เช่น ผลไม้ท้องถิ่น เช่น กล้วย มะละกอ ธัญพืช เช่น ข้าว ถั่ว ข้าวโอ๊ต งา เมล็ดพืชต่างๆ

มารู้จักอาหารแนวอายุรเวทกันเถอะ

ประเภทของอาหารในแนวอายุรเวท

อายุรเวท หมายถึง ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ชีวิตและจิตใจมนุษย์ การปฎิบัติตนตามแนวอายุรเวททำให้คนมีสุขภาวะที่ดี ป้องกันจากโรคภัยทั้งมวล รู้ว่าจะทำอย่างไรกับร่างกายเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และ รับรู้ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เนื่องจากอายุรเวทจะเห็นการเจ็บป่วยทั้งหมด

อาหารแนวอายุรเวท จำแนกได้ ๓ ประเภท คือ

๑. สัตวิก (Satvik) : ได้แก่ อาหารสดใหม่ เป็นอาหารที่รับประทานแล้วส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น ผักสด เช่น ถั่วงอก กะหล่ำปลี แครอต ฯลฯ ผลไม้สด เช่น ผลไม้ท้องถิ่น เช่น กล้วย มะละกอ (ยกเว้นทุเรียนและลำไย) ธัญพืช เช่น ข้าว ถั่ว ข้าวโอ๊ต งา เมล็ดพืชต่างๆ นมและผลิตภัณฑ์จากนม สมุนไพร สาหร่าย ลูกพรุน ลูกเกด

๒. ระชัต (Rajas): อาหารที่กระตุ้นร่างกาย ทำให้เกิดความร้อน เช่นอาหารรสเผ็ดจัด ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรืออาหารเปรี้ยวหรือเค็มมากๆ

๓. ตมัส (Tamas): อาหารเย็นเกินหรือหนักเกิน ทำให้เกิดความเฉื่อยชา เช่น เนื้อสัตว์ อาหารกระป๋อง ไข่ เห็ด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารหมักดอง ไม่ควรรับประทานมากเกินความจำเป็น

- ควรรับประทานอาหารที่ปรุงใหม่ ไม่ควรเก็บไว้เกินสามชั่วโมง เพราะจะทำให้อาหารเสื่อมคุณค่าไปตามเวลาที่เพิ่มขึ้น

มารู้จักอาหารแนวอายุรเวทกันเถอะ

- ควรรับประทานอาหารที่ปรุงใหม่ ไม่ควรเก็บไว้เกินสามชั่วโมง เพราะจะทำให้อาหารเสื่อมคุณค่าไปตามเวลาที่เพิ่มขึ้น

มารู้จักอาหารแนวอายุรเวทกันเถอะ

ลักษณะการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

- ควรรับประทานอาหารที่ปรุงใหม่ ไม่ควรเก็บไว้เกินสามชั่วโมง เพราะจะทำให้อาหารเสื่อมคุณค่าไปตามเวลาที่เพิ่มขึ้น ในรสของอาหารควรมีความหลากหลาย แต่ไม่ควรมีรสใดเด่นเกินไป เช่น หวาน เปรี้ยว เผ็ด ขม ฝาด เค็ม

- ปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ หากเปรียบเทียบกับปริมาณกระเพาะอาหาร ให้เป็นส่วนของอาหาร ๕๐% , ส่วนของน้ำ รวมทั้งน้ำซุป และน้ำแกง ๒๕%, ส่วนที่เหลืออีก ๒๕% เป็นที่ว่าง นั่นหมายความว่า เราควรรับประทานอาหารเพียง ๓ ใน๔ ของความจุของกระเพาะอาหาร หยุดรับประทานอาหารเมื่อเริ่มรู้สึกอิ่ม

- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และควรเป็นอาหารหนักในมื้อเช้าและมื้อกลางวัน หรือรับประทานอาหารแบบพระ คือ ไม่รับประทานอาหารหนักในมื้อเย็น

พยายามรับประทานอาหารช้าๆ ค่อยๆเคี้ยวอาหารให้ละเอียดให้หมด ก่อนที่จะตักคำใหม่เข้าไป และมีสมาธิกับอาหารที่รับประทาน ไม่พูดคุย อ่านหนังสือ หรือดูทีวีระหว่างการรับประทานอาหาร 

อาหารเช้าควรเป็นข้าวหรือธัญพืชเป็นหลัก

มารู้จักอาหารแนวอายุรเวทกันเถอะ

อาหารเช้า

ดื่มนมและชาในช่วงเช้าเป็นสิ่งที่ดี เพราะสารแทนนินในชาจะช่วยกระตุ้นระบบประสาท อาหารเช้าควรเป็นข้าวหรือธัญพืชเป็นหลัก ควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกขนมปังและเบเกอรี่ เพราะผ่านการแปรรูปและมีเกลือมากเกินไป

อาหารกลางวัน

อาหารกลางวันควรอยู่ในช่วง ๑๑ โมงเช้า ถึง บ่ายโมง หรือก่อนหน้านี้ก็ได้ แต่ไม่ควรเกินบ่ายโมง หลังจากอาหารไม่ควรวิ่ง หรือทำงานหนัก เช่น ยกของหนัก ผู้ที่นั่งหลังจากมื้อกลางวันจะรู้สึกขี้เกียจ ควรเดินเบาๆ ๑๐๐ ก้าว

อาหารกลางวัน

มารู้จักอาหารแนวอายุรเวทกันเถอะ

อาหารมื้อค่ำ ควรเป็นของเหลว เช่น ซุปผัก ผักนึ่ง ไม่ควรเป็นอาหารหนัก

มารู้จักอาหารแนวอายุรเวทกันเถอะ

อาหารค่ำ

อาหารมื้อค่ำ ควรเป็นของเหลว เช่น ซุปผัก ผักนึ่ง ไม่ควรเป็นอาหารหนัก เช่นเนื้อสัตว์ แป้ง ควรอยู่ในช่วงพระอาทิตย์ตกดิน และห่างจากเวลานอนอย่างน้อย ๓ ชั่วโมง

เพียงแค่เราปฏิบัติตัวตามหลักการรัปประทานอาหารให้ถูกต้อง เราก็จะได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่ากับอาหารที่เรารับประทานเข้าไป


ขอบคุณข้อมูลจาก

เพจนานาสาระเพื่อสุขภาพ

ภาพจากwww.google.co.th

แชร์