พัฒนาการ "สิทธิมนุษยชน" จากอารยธรรมโบราณสู่โลกปัจจุบัน

"สิทธิมนุษยชน" ถูกสร้างให้เป็นกฎของสังคมมนุษย์ที่ได้รับการจารึกเป็นหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อ “ความเป็นมนุษย์” มาตั้งแต่ในโลกสมัยบรรพกาล มีอยู่ในทุกอารยธรรม และได้รับการสืบทอดพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมมาจนถึงปัจจุบัน http://winne.ws/n24040

1.3 หมื่น ผู้เข้าชม

สิทธิมนุษยชน ได้รับการประกาศและรับรองจากชุมชนนานาชาติอย่างจริงจัง เมื่อมนุษย์ได้ประจักษ์ถึงการสูญเสียจากการทำลายล้างกันของมนุษยชาติอันโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่2

แต่โดยประวัติศาสตร์แล้วความพยายามที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขโดยเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของมนุษย์ได้มีมาตั้งแต่โลกยุคโบราณ 

โดยถูกสร้างให้เป็นกฎของสังคมมนุษย์ที่ได้รับการจารึกเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อ “ความเป็นมนุษย์”  มาตั้งแต่ในโลกสมัยบรรพกาล  มีอยู่ในทุกอารยธรรมและได้รับการสืบทอดพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมมาจนถึงปัจจุบัน

บทบัญญัติสิทธิมนุษยชนต่างๆล้วนมีความรู้ หลักการ เหตุผล คำสอนของศาสนา ปรัชญา ลัทธิต่างๆ เป็นพื้นฐานสำคัญ  เช่น คัมภีร์ของฮินดู, คัมภีร์ของพุทธศาสนา,คัมภีร์อัล-กูรอาน, ลัทธิขงจื้อ เป็นต้น ซึ่งในคัมภีร์ทางศาสนาและคำสอนเหล่านั้นมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับหน้าที่ สิทธิต่างๆ และความรับผิดชอบของมนุษย์  

นอกจากจะเป็นฐานสำคัญของหลักสิทธิมนุษยชนแล้วศาสนา ปรัชญา ลัทธิความเชื่อต่างๆ ยังเป็นพื้นฐานของ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ทำให้มนุษยชาติได้ชื่อว่าเป็นผู้มีอารยธรรม มีความฉลาด มีเหตุผล มีสติปัญญาและจิตใจสูงกว่าสัตว์อื่น และด้วยสิ่งเหล่านี้มนุษย์จึงสามารถอยู่ร่วมกันเป็นสังคมอย่างสันติได้

พัฒนาการ "สิทธิมนุษยชน" จากอารยธรรมโบราณสู่โลกปัจจุบัน

“สิทธิมนุษยชน”  ในยุคเมโสโปเตเมีย  ( 24 ศตวรรษก่อนคริสตกาล) 

มีหลักฐานทางประมวลกฎหมายที่คัดขึ้นด้วยลายมือที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดที่มีอยู่คือ TheNeo-Sumerian Code of Ur-Nammu  และกฎหมายอื่นๆ ที่ได้รับการบัญญัติขึ้นในเมโสโปเตเมียรวมถึงประมวลกฎหมายของฮัมมูราบีได้กล่าวถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ การลงโทษ ถ้าหากมีการละเมิดกฎเกณฑ์เหล่านั้นนอกจากนี้ยังมีสาระอื่นๆ อาทิเช่น สิทธิของผู้หญิง, สิทธิเด็ก, และรวมถึงสิทธิของทาสด้วย 
(ขอบคุณภาพจาก กำเนิดเมโสโปเตเมีย https://mesopota.wordpress.com


“สิทธิมนุษยชน”  ในจักรวรรดิเปอร์เชียโบราณ (PersianEmpire)

จารึกทรงกระบอก The Cyrus cylinder ของพระเจ้าไซรัสมหาราช (424-401 BC) ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียได้ชื่อว่า เป็นจารึกสิทธิมนุษยชนชิ้นแรก ได้มีการสถาปนาหลักการต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนภายใต้การปกครองของพระองค์  
จารึกดังกล่าวมีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ

1.พลเมืองของจักรวรรดิAchaemenidได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติกิจทางศาสนาตามความเชื่ออย่างอิสระ
2.มีการเลิกทาส

ดังนั้นพระราชวังทุกหลังของกษัตริย์เปอร์เชียจึงได้รับการสร้างขึ้น โดยการจ่ายค่าจ้างในยุคที่บรรดาทาสทั้งหลายเป็นผู้ลงแรงทำงาน.

การปฏิรูปทั้ง 2 สิ่งนี้มีปรากฎในพระคัมภีร์ศาสนาอย่างเช่น Chronicles, Nehemiah, และ Ezra, ว่า พระเจ้าไซรัสได้ทรงปลดปล่อยบรรดาสาวกของ Judaism จากความเป็นทาสและยินยอมให้พวกเขาอพยพกลับไปยังดินแดนของตน.

ในยุคนั้น พลเมืองจักรวรรดิเปอร์เซีย ทุกศาสนาและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ล้วนได้รับสิทธิอย่างเดียวกัน  ผู้หญิงก็มิสิทธิเช่นเดียวกับผู้ชาย.จารึกทรงกระบอกไซรัสยังได้บัญญัติถึงการปกป้องสิทธิต่างๆ ทางด้านเสรีภาพ ความปลอดภัยอิสรภาพที่จะเดินทางสัญจรไปในที่ต่างๆ สิทธิในทรัพย์สินและสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ

ปัจจุบัน จารึกทรงระบอกถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ theBritish Museum, และจารึกจำลองได้รับการเก็บรักษาเอาไว้ที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ 

(ขอบคุณภาพจาก http://www.jenthemusicmaven.com

พัฒนาการ "สิทธิมนุษยชน" จากอารยธรรมโบราณสู่โลกปัจจุบัน

“สิทธิมนุษยชน” ในจักรวรรดิเมาริยะ (Maurya Empire)

พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์เมาริยะที่โลกรู้จักดี  หลังจากชัยชนะเหนือกาลิงคะและพระองค์รู้สึกสำนึกผิดต่อสงครามอันโหดร้ายที่พระองค์ได้ทำลงไป ด้วยเหตุดังกล่าวพระองค์ได้ศึกษาและทรงรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นหลักการสำคัญในการแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดและพัฒนาบ้านเมืองด้วยหลักธรรมของพระพุทธเจ้า 

พระองค์ได้สถาปนาหลักการต่างๆเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองขึ้นมาอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล

การปกครองบริหารบ้านเมืองโดยพุทธธรรมดังกล่าว จากชื่อเสียงในฐานะอโศกผู้โหดร้าย(TheCruel Ashoka)  พระองค์กลายเป็นที่รู้จักในฐานะ"พระเจ้าอโศกผู้ศรัทธา( The Pious Ashoka)

ระหว่างที่พระองค์ทรงครองอำนาจพระองค์ทรงดำเนินรอยตามแนวคิด “อหิงสธรรม” ( Ahimsa - nonviolence - การไม่ใช้ความรุนแรง) อย่างเป็นทางการ และทรงปกป้องสิทธิมนุษยชนต่างๆ

ด้วยความเอาพระทัยใส่อย่างแรงกล้าของพระองค์เกี่ยวกับความผาสุกของราษฎร

พระองค์โปรดให้ประชาชนได้รับการศึกษาฟรีในสถาบันการศึกษาชั้นสูงต่างๆ พระองค์ทรงปฏิบัติกับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอย่างเท่าเทียมโดยไม่คำนึงถึงเรื่องศาสนาการเมือง หรือชนชั้นวรรณะ และได้สร้างโรงพยาบาลฟรีทั้งแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย.

พระองค์ทรงบัญญัติหลักการสำคัญๆ เกี่ยวกับ

- การไม่ใช้ความรุนแรง
-ความอดทนอดกลั้นต่อนิกายศาสนาและความคิดเห็นทั้งมวล 
-การเชื่อฟังพ่อแม่
-การให้ความเคารพต่อครูบาอาจารย์และพระภิกษุสงฆ์
-มีความโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนฝูง
-มีการปฏิบัติที่มีมนุษยธรรมต่อทาสทั้งหลายและใจกว้างต่อทุกสิ่งทุกอย่าง

พลเมืองไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด กลุ่มชาติพันธ์ใด  ต่างมีอิสรภาพ เสรีภาพ เสมอภาค มีขันติธรรมซึ่งเป็นนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการปกครองอันสำคัญ การฆ่าสัตว์หรือการทำให้สัตว์พิการโดยไม่จำเป็นได้ถูกยกเลิกโดยทันที  เช่น การล่าสัตว์เพื่อการกีฬา และการตีตราสัตว์เป็นต้น  หรือการจับกุมคุมขังนักโทษในสงครามจะได้รับการประณามโดยพระเจ้าอโศก  การปฏิรูปเหล่านี้ได้รับการอธิบายไว้ในพระบรมราชโองการของพระองค์ทั้งสิ้น 

( ขอบคุณภาพจาก https://www.ancient.eu )

พัฒนาการ "สิทธิมนุษยชน" จากอารยธรรมโบราณสู่โลกปัจจุบัน

“สิทธิมนุษยชน”  ในยุคแคลิเฟท หรือ อิสลามยุคต้น (EarlyIslamic Caliphate)

ช่วงระหว่างปี 610 และ 661 สังคมอาหรับยุคนั้นเกิดการปฏิรูปสิทธิมนุษยชนมากมายภายใต้แนวคิดอิสลามมีการปฏิรูปสังคมในพื้นที่ต่างๆ เช่น ความปลอดภัยทางสังคม,โครงสร้างครอบครัว,ระบบทาส, ตลอดทั้งสิทธิของผู้หญิงและชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยทั้งหลายได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น

พระศาสดามูฮัมหมัด ทรงประณามพฤติกรรมต่างๆของชาวอาหรับที่ป่าเถื่อน พวกนอกศาสนา การเข่นฆ่าทารกหญิง  การตักตวงผลประโยชน์จากคนจน,การคิดอัตราดอกเบี้ยสูง, การฆาตกรรม, คำมั่นสัญญาที่หลอกลวง, และการลักขโมย 

การปฏิรูปสิทธิมนุษย์ของอิสลามที่สำคัญในยุคนั้น คือ

1.สิทธิสตรียุคเริ่มต้นของอิสลามฐานะผู้หญิงตกอยู่ในภาวะที่น่ากลัวมาก แต่การปฏิรูปสิทธิของผู้หญิงในเรื่องการแต่งงาน การหย่าร้าง การศึกษา และการสืบทอดมรดก. การยอมรับความมีสถานะเป็นบุคคลอย่างสมบูรณ์ของผู้หญิง  ที่ไม่ใช่เป็นสมบัติของผู้ชายเธอสามารถมีสิทธิในทรัพย์สินและมรดกได้สามารถจัดการบริหารทรัพย์สินที่เธอนำมาหรือหามาสู่ครอบครัวได้  สิทธิต่างๆ เหล่านี้ช่วยปรับปรุงสถานภาพของผู้หญิงในสังคมอิสลามให้ดีขึ้น

2.ระบบทาสที่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สมบัติที่เคลื่อนย้ายได้แต่เป็นมนุษย์ที่มีศาสนาและสถานภาพทางสังคมมีสิทธิทางกฎหมายบางประการ  นอกจากนี้ ยังมีการห้ามในเรื่องการกดขี่หรือการทำให้ผู้คนที่มีอิสระต้องตกเป็นทาสเว้นแต่ในสถานการณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น

และถ้านักโทษทั้งหลายอยู่ในการควบคุมของคนๆหนึ่ง ความรับผิดชอบจะตกแก่คนผู้นั้นในฐานะปัจเจก

อิสลามในช่วงเริ่มต้น ศตวรรษที่ 7  นับว่า "เป็นสมัยใหม่มากอย่างน่าทึ่ง…ในระดับที่สูงของข้อผูกมัด, ความเกี่ยวพัน, และการมีส่วนร่วมซึ่งได้รับการคาดหวังจากสมาชิกทั้งหลายของชุมชน".

อันนี้เป็นเพราะว่า อิสลามเน้นในเรื่องความเสมอภาคของมุสลิมทั้งมวลซึ่งรวมถือตำแหน่งต่างๆ ของความเป็นผู้นำต่างเปิดโอกาสให้กับทุกคน. 

( ขอบคุณภาพจาก http://www.middleeasteye.net

พัฒนาการ "สิทธิมนุษยชน" จากอารยธรรมโบราณสู่โลกปัจจุบัน

แม็กนา คาร์ตา - (Magna Carta)

คือ ธรรมนูญของอังกฤษ ที่พระเจ้าจอห์นลงพระปรมาภิไธยพระราชทานสิทธิแก่พลเมือง เมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ.1215

ซึ่งต่อมา กลายเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญต่อกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่นำมาสู่กฎหมายรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน ซึ่งมีสาระครอบคลุมอย่างกว้างขวาง ถือว่าเป็นหนึ่งในกฎหมายที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของระบอบประชาธิปไตย

“แม็กนา คาร์ต้า”  เดิมทีเดียวได้ถูกเขียนขึ้นเนื่องจากการไม่เห็นพ้องต้องกันของพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่3,พระเจ้าจอห์น และ บรรดาบารอนแห่งอังกฤษเกี่ยวกับสิทธิต่างๆของกษัตริย์.

โดย “แม็กนา คาร์ต้า” ต้องการให้กษัตริย์ทรงสละสิทธิบางอย่าง,ให้ความเคารพต่อกระบวนการทางกฎหมาย, และให้การยอมรับว่าเจตจำนงหรือพระราชประสงค์ของกษัตริย์จะต้องผูกพันกับกฎหมาย.อันนี้เป็นการปกป้องสิทธิบางอย่างเกี่ยวกับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของกษัตริย์อย่างชัดแจ้งไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอิสรภาพหรือการถูกบังคับ - ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการขึ้นศาลการยินยอมให้มีการอุทธรณ์ในการจับกุมคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

มรดกตกทอดที่ยาวนานที่สุดและสำคัญของแม็กนา คาร์ต้า  คือ --เรื่องของสิทธิเกี่ยวกับเรื่องทางศาล โดยมีสาระว่า...

"ไม่มีอิสรชนคนใดจะถูกจับกุมคุมขังหรือถูกยึดสังหาริมทรัพย์ของเขา หรือเสรีภาพต่างๆ หรือขนบจารีตอิสระหรือถูกทำให้อยู่นอกกฎหมาย หรือถูกเนรเทศ หรือถูกทำลายใดๆและเราจะไม่มีการตัดสินเขา หรือประณามเขาโดยปราศจากขั้นตอนการตัดสินตามกระบวนการกฎหมายกับเขา หรือโดยปราศจากกฎหมายที่ดิน.เราจะไม่มีการขายผู้ใด เราจะไม่มีการปฏิเสธผู้ใด หรือหน่วงเหนี่ยวผู้ใด ทั้งในเรื่องของความยุติธรรมและสิทธิต่างๆ"

(ขอบคุณภาพจาก https://en.wikipedia.org

พัฒนาการ "สิทธิมนุษยชน" จากอารยธรรมโบราณสู่โลกปัจจุบัน

สิทธิมนุษยชนในช่วงต้นยุคสมัยใหม่ (Humanrights in early modern era)

ค.ศ.1550-51 เป็นไปได้ว่าถือเป็นครั้งแรกของการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสิทธิมนุษยชนต่างๆในประวัติศาสตร์ยุโรป ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 และ 18  John Locke,นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งได้พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ตามธรรมชาติขึ้นมา โดยระบุว่า “ผู้คนครอบครองสิทธิบางประการโดยคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์”. แนวคิดของเขาถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเกี่ยวกับความคิดสมัยใหม่ในเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ

และเมื่อการปฏิวัติครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นในศตวรรษนั้นคือ ที่สหรัฐฯ (1776)
และที่ฝรั่งเศส(1789) ผลของการปฏิวัติได้นำไปสู่การประกาศสิทธิมนุษย์อย่างสำคัญคือ 

- สหรัฐฯ ในประกาศเวอร์จีเนีย เกี่ยวกับเรื่องสิทธิต่างๆปี ค.ศ.1776 ได้ก่อให้เกิดสิทธิขั้นพื้นฐานจำนวนมากและอิสรภาพ.การประกาศอิสรภาพต่อมาของสหรัฐฯ รวมถึง แนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์และถ้อยความอันมีชื่อเสียงที่ว่า

"มนุษย์ทุกคนต่างได้รับการสรรค์สร้างขึ้นมาเสมอภาคกันซึ่งพวกเขาได้รับการมอบให้โดยพระผู้สร้างของพวกเขาด้วยสิทธิบางอย่างที่ไม่อาจขายหรือโอนย้ายแก่กันได้ซึ่งท่ามกลางสิ่งเหล่านี้คือชีวิต, เสรีภาพและการมีความสุข"

- ในทำนองเดียวกัน หลังการปฏิวัติของประชาชนที่ฝรั่งเศส ได้มีคำประกาศเกี่ยวกับสิทธิต่างๆของผู้คนและพลเมือง ซ่ำกำหนดนิยามสิทธิปัจเจกชนและสิทธิของกลุ่มชนขึ้นมาชุดหนึ่ง. และต่อมาคำประกาศเหล่านี้ถูกถือว่าเป็นสากลมิใช่เพียงกับพลเมืองฝรั่งเศสเท่านั้น แต่มันกลายเป็นสิทธิสำหรับมนุษย์ทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น

“สิทธิมนุษยชน” จาก ค.ศ.1800 ถึง สงรามโลกครั้งที่ 1(1800 ADto World War I)

กลุ่มคนจำนวนมากและขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆในคริสตศตวรรษที่ 20 ได้ก่อให้เกิดความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างลึกซึ้งบนเส้นทางของสิทธิมนุษยชนต่างๆยกตัวอย่างเช่น

- ในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ สหภาพแรงงานจำนวนมากได้ทำให้เกิดกฎหมายหลายฉบับที่ยินยอมให้บรรดาคนงานทั้งหลายมีสิทธิ์ที่จะประท้วงหรือสไตร์ค,สร้างเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคการทำงานน้อยที่สุด, และห้ามหรือมีการกำหนดกะเกณฑ์เกี่ยวกับแรงงานเด็ก

-ขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิสตรีประสบความสำเร็จในการได้มาซึ่งสิทธิต่างๆของผู้หญิงจำนวนมากในการออกเสียง

- ขบวนการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับอิสรภาพเสรีภาพระดับชาติในประเทศต่างๆ ประสบความสำเร็จในการขับไล่อำนาจของอาณานิคมออกไปหนึ่งขบวนการดังกล่าวซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดคือ ความเคลื่อนไหวของมหาตมะ คานธีเพื่อปลดปล่อยชนพื้นเมืองอินเดียให้เป็นอิสระจากการปกครองของอังกฤษ

- ขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆเกี่ยวกับการกดขี่ทางเชื้อชาติและชนกลุ่มน้อยทางศาสนา ได้ประสบความสำเร็จในหลายๆส่วนของโลก

- ขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองขบวนการเคลื่อนไหวด้านอัตลักษณ์ทางการเมืองอย่างหลากหลายในนามของผู้หญิงและชนกลุ่มน้อยในสหรัฐอเมริกา

- การก่อตั้งเกี่ยวกับคณะกรรมการกาชาดสากลในปี ค.ศ.1864,และการประชุมเจนีวา ครั้งแรกในปี ค.ศ.1864 นำไปสู่รากฐานต่างๆเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมสากล และได้รับการพัฒนาต่อมาในช่วงสงรามโลกครั้งที่ 2

( ขอบคุณภาพจาก https://ro.wikipedia.org

พัฒนาการ "สิทธิมนุษยชน" จากอารยธรรมโบราณสู่โลกปัจจุบัน

“สิทธิมนุษยชน” ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 (BetweenWorld War I and World War II)

หลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 1 สันนิบาตแห่งชาติ(TheLeague of Nations)ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ.1919  โดยสนธิสัญญา The Treaty of Versailles. มีเป้าหมายเกี่ยวกับ

การลดกำลังอาวุธและกำลังทหาร  การป้องกันสงครามผ่านเครือข่ายความปลอดภัย

มีการวางรากฐานข้อถกเถียงต่างๆ ระหว่างประเทศผ่านการเจรจาต่อรอง, วิธีทางการทูต,

การปรับปรุงด้านสวัสดิการของโลก, มีการให้ความเคารพต่อกฎบัตรของสนธิสัญญาซึ่งคือข้อบัญญัติที่ให้การส่งเสริมสิทธิต่างๆ จำนวนมาก *** และต่อมาได้รวมถึงคำประกาศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสากลเอาไว้ด้วย

สันนิบาตแห่งชาติมีบทบัญญัติต่างๆซึ่งให้การสนับสนุนประเทศภายใต้อาณานิคมของมหาอำนาจยุโรปตะวันตกโดยการเปลี่ยนผ่านจากความเป็นอาณานิคมไปสู่อิสรภาพหรือรัฐเอกราช

ส่วนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (theInternational Labour Organization - ILO) มีบทบัญญัติให้การส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิต่างๆบางอย่างด้านแรงงาน ซึ่งต่อมาภายหลังถูกรวมอยู่ในคำประกาศ UDHR: UniversalDeclaration of Human Rights:

รายงานโดยผู้อำนวยการทั่วไปของการประชุมแรงงานสากล ได้รายงานในสมัยประชุมครั้ง87 ว่า

"เป้าหมายอย่างแรกของ ILOทุกวันนี้ก็คือ การส่งเสริมผู้หญิงและผู้ชายให้เข้าถึงงานที่มีเกียรติและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในเงื่อนไขต่างๆ ของอิสรภาพ, ความเสมอภาค, ความปลอดภัย, และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์"

( ขอบคุณภาพจาก https://th.wikipedia.org

พัฒนาการ "สิทธิมนุษยชน" จากอารยธรรมโบราณสู่โลกปัจจุบัน

“สิทธิมนุษยชน” ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (AfterWorld War II)

สิทธิต่างๆ ในสงคราม และการประชุมเจนีวาต่างๆ (Rightsin War and the Geneva Conventions) ระหว่างปี 1864-1949  ได้ให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบรรดาปัจเจกชนทั้งหลายที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้ง    และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2ในฐานะของผลลัพธ์ของสงคราม กรอบการประชุมเหล่านั้นได้ถูกนำมาปรับปรุงอีกครั้งในปีค.ศ.1949  ดังนี้

-เพื่อปรับปรุงเงื่อนไขเกี่ยวกับกำลังทหารที่ได้รับบาดเจ็บและป่วยไข้ในสนามรบ
-เพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับสภาพเงื่อนไขของสมาชิกต่างๆ ของกำลังรบในท้องทะเลที่ได้รับบาดเจ็บ,ล้มป่วย และการสูญเสียทางเรือ
-เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อเชลยศึกสงครามต่างๆ
-เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองพลเรือนในภาวะสงคราม 

นอกจากนี้ ยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาต่างๆเกี่ยวกับการประชุมเจนีวาอีก 3 ข้อ เกี่ยวข้องกับ

-การปกป้องบรรดาเหยื่อของความขัดแย้งทางการทหารระหว่าง ได้รับการให้สัตยาบันจาก167 ประเทศ
- การปกป้องคุ้มครองเหยื่อต่างๆของความขัดแย้งด้านการทหาร แต่ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างประเทศได้รับการให้สัตยาบันจาก 163 ประเทศ
- การยอมรับเกี่ยวกับตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆได้รับการให้สัตยาบันจาก 17 ประเทศและลงนาม แต่ไม่ให้สัตยาบันจาก 68 ประเทศ

(ขอบคุณภาพจาก http://www.un.org/

พัฒนาการ "สิทธิมนุษยชน" จากอารยธรรมโบราณสู่โลกปัจจุบัน

คำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล (UniversalDeclaration of Human Rights)

สภาพอันน่ากลัวของสงครามโลกครั้งที่ 2ที่เกิดขึ้นทั่วโลก  ทำให้สมัชชาสหประชาชาติได้ให้การยอมรับคำประกาศสิทธิมนุษยชนสากลในปี1948.  หรือ TheUniversal Declaration of Human Rights (อักษรย่อ UDHR) เป็นคำประกาศที่ไม่มีข้อผูกมัด 

The UDHR ผลักดันชาติสมาชิกให้การส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชน,สิทธิพลเมือง, สิทธิทางการเมือง, สิทธิทางเศรษฐกิจและสิทธิทางวัฒนธรรมและสังคม,  ทั้งหมดได้รับการยืนยันอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้สิทธิทั้งหมดได้รับการเชื่อมโยงเข้าหากันอย่างแนบแน่น การยืนยันในสิทธิต่างๆเหล่านี้ คือส่วนหนึ่งของรากฐานเกี่ยวกับอิสรภาพ, ความยุติธรรม,และสันติภาพในโลก

คำประกาศดังกล่าวถือเป็นความพยายามทางกฎหมายระหว่างประเทศครั้งแรกที่จะจำจัดพฤติกรรมของรัฐต่างๆและกดดันรัฐทั้งหลายให้ทำหน้าที่ต่อพลเมืองของตนตามแบบจำลองของสิทธิในด้านต่างๆ

คำประกาศ UDHR ได้รับการค้นคว้าวิจัยและเขียนขึ้นโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนต่างๆ,รวมถึงบรรดาตัวแทนจากประเทศทั้งหลายและศาสนาหลักๆ ทั้งหมดและได้รับการร่างขึ้นในการประชุมหารือกับผู้นำทั้งมวล ในยุคนั้น

จากนั้นไม่นาน, เมื่อเริ่มต้นยุคสงครามเย็น  คำประกาศ UDHR ได้ถูกคิดทำความเข้าใจและนำไปสู่การแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย

- สิทธิทางเศรษฐกิจ,

- สิทธิทางสังคม,

- สิทธิพลเมือง, และ

- สิทธิทางการเมือง

และแม้คำประกาศสิทธิมนุษยชนสากลจะเป็นการลงมติแบบไม่มีข้อผูกมัดแต่ปัจจุบันมันได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจารีตประเพณีสากล  ซึ่งอาจถูกนำขึ้นมาใช้ภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสมโดยการพิจารณาคดีระดับชาติหรืออื่นๆ

ตัวบทและอนุสัญญาต่างๆ ทางด้านสิทธิมนุษยชน

ในปี ค.ศ.1966กติกาสากลในเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง - theInternational Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) และกติกาสากลในเรื่องสิทธิทางเศรษฐกิจ, สังคม และวัฒนธรรม - theInternational Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR) ได้ถูกยอมรับโดยองค์การสหประชาชาติ มีการทำให้สิทธิต่างๆเหล่านี้บรรจุอยู่ในคำประกาศ UDHR โดยการผูกมัดกับรัฐทั้งมวล(ยกเว้นนครวาติกัน). อย่างไรก็ตาม กติกาเหล่านี้ มามีผลบังคับใช้ในปี 1976  เมื่อได้รับการลงสัตยาบันโดยเสียงของประเทศต่างๆจำนวนมากพอ

 

มาตราต่างๆ ของ คำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล ได้แบ่งออกเป็นข้อๆ เพื่อความชัดเจนใน 3 ประเด็นประกอบด้วย

- หลักการทั่วไป - General Principles

- สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง - Civiland Political Rights.

- สิทธิทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ - Social,Cultural and Economic Rights.

 

1. หลักการทั่วไป (General Principles)

มาตราที่ 1:ความสัมพันธ์-การพึ่งพากันทางชาติพันธุ์และมนุษยธรรม,

มาตราที่ 2: สิทธิต่างๆ ที่เป็นสากล,

มาตราที่ 28: ระเบียบทางสังคม,

มาตราที่ 29: ความรับผิดชอบทางสังคม,

มาตราที่ 29.2: ข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน,

มาตราที่ 29.3:วัตถุประสงค์และหลักการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ,

มาตราที่ 30:คำประกาศนี้จะไม่ถูกตีความโดยนัยยะสำหรับรัฐใด กลุ่มใด หรือบุคคลใดให้มีสิทธิในกิจกรรมใด หรือการปฏิบัติที่จะกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายในการทำลายสิทธิและอิสรภาพต่างๆ ที่ได้มีการบัญญัติไว้ในที่นี้

 

2. สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civiland Political Rights)

ตัวบท:กติการะหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

มาตราที่ 3: สิทธิเกี่ยวกับชีวิต เสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล,

มาตราที่ 4: อิสรภาพจากความเป็นทาส,

มาตราที่ 5: อิสรภาพจากการทรมาน และการกระทำทารุณการลงโทษที่ผิดปกติ,

มาตราที่ 6: สิทธิความเป็นบุคคล,

มาตราที่ 7: ความเสมอภาคที่ดำรงอยู่ก่อนกฎหมาย,

มาตราที่ 8:สิทธิการได้รับการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพจากกฎหมาย,

มาตราที่ 9: อิสรภาพจากการจับกุมโดยมิชอบ การกักกันและการเนรเทศ,

มาตราที่ 10: สิทธิในการได้รับการไต่สวนอย่างยุติธรรม,

มาตราที่ 11.1:สิทธิในการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์,

มาตราที่ 11.2: ห้ามมีการใช้กฎหมายย้อนหลัง,

มาตราที่ 12: สิทธิความเป็นส่วนตัว,

มาตราที่ 13: อิสรภาพในการเคลื่อนไหว,

มาตราที่ 14: สิทธิในการลี้ภัย,

มาตราที่ 15: สิทธิการมีสัญชาติ,

มาตราที่ 16: สิทธิในการแต่งงานและการมีครอบครัว,

มาตราที่ 17: สิทธิในทรัพย์สิน,

มาตราที่ 18: เสรีภาพทางความคิด ความรู้สึกในมโนธรรมและการนับถือศาสนา,

มาตราที่ 19: เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก,

มาตราที่ 20.1: เสรีภาพในการชุมนุม,

มาตราที่ 20.2: อิสรภาพในการสมาคม,

มาตราที่ 21.1: สิทธิการมีส่วนร่วมในรัฐบาล,

มาตราที่ 21.2:สิทธิเสมอภาคในการเข้าถึงหน่วยงานสาธารณะ,

มาตราที่ 21.3: สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป

 

3. สิทธิทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ (Social,Cultural and Economic Rights)

มาตราที่ 22: สิทธิด้านความปลอดภัยทางสังคม,

มาตราที่ 23.1: สิทธิในการทำงาน,

มาตราที่ 23.2:สิทธิในการได้รับค่าจ้างเท่ากันในงานอย่างเดียวกัน,

มาตราที่ 23.3: สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนอย่างยุติธรรม,

มาตราที่ 23.4:สิทธิในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน,

มาตราที่ 24:  สิทธิในการพักผ่อนและมีเวลาว่าง,

มาตราที่ 25.1: สิทธิในมาตรฐานความเป็นอยู่ที่เหมาะสม,

มาตราที่ 25.2:สิทธิดูแลเป็นพิเศษและให้การช่วยเหลือแม่และเด็ก,

มาตราที่ 26.1: สิทธิในการศึกษา,

มาตราที่ 26.2: การสนับสนุนเสรีภาพทางการศึกษา,

มาตราที่ 26.3: สิทธิในการเลือกการศึกษา,

มาตราที่ 27.1: สิทธิในการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม,

มาตราที่ 27.2: สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

( ขอบคุณภาพจาก https://www.awarenessdays.comป 

พัฒนาการ "สิทธิมนุษยชน" จากอารยธรรมโบราณสู่โลกปัจจุบัน

โฆษิกา : เรียบเรียง 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 30 ข้อ
https://www.winnews.tv/news/5064

ขอบคุณข้อมูลจาก 
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน 
http://oknation.nationtv.tv/blog/humanrights/2008/03/09/entry-1

แชร์