3 นักวิจัยสตรีไทย ผู้คิดเปลี่ยนโลก

3 นักวิจัยสตรีไทย กับผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติและนำมาซึ่งชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต http://winne.ws/n8401

748 ผู้เข้าชม
3 นักวิจัยสตรีไทย ผู้คิดเปลี่ยนโลก

องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์วิศวกรรม เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า “สเต็ม” Stemกำลังเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกเป็นอย่างมากเพราะเป็นศาสตร์ที่จะช่วยคิดค้นพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนให้ดีขึ้นได้ แต่การจะคิดค้นวิจัยและพัฒนาสิ่งใหม่ขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายซึ่งกำลังใจและแรงสนับสนุนถือเป็นสิ่งสำคัญ

 บริษัทลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด จึงร่วมมือกับยูเนสโก Unesco คัดเลือก 3 นักวิจัยสตรีจาก 3 ด้านเป็นปีที่ 14 ในประเทศไทย ในโครงการ “ เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ”เพื่อเชิดชูเกียรติของสตรีและสนับสนุนงานวิจัย โดยจัดงานเปิดตัว ณ ห้องบอลรูมโรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์

ดร.ภญ.สุดจิตล้วนพิชญ์พงศ์ จากศูนย์ความเป็นเลิศทางงานวิจัยสเต็มเซลล์ของศิริราชสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นักวิจัยที่ได้รับรางวัลสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพนำผลงานวิจัยเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมาคว้ารางวัลได้สำเร็จ เผยว่าแรงบันดาลใจจากงานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นเนื่องจากคนรอบตัวเป็นมะเร็งกันมากและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นสิ่งที่รักษายากและมีการดื้อยาบ่อย จึงคิดว่าหากศึกษาตั้งแต่พื้นฐานดูการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ย่อมไปยับยั้งต้นกำเนิด คิดค้นยาขึ้นมาเพื่อป้องกันการกลายตัวของเซลล์เหล่านี้ได้และยังนำไปประยุกต์กับเซลล์มะเร็งชนิดอื่นได้ด้วย

ดร.ภญ.สุดจิตล้วนพิชญ์พงศ์

3 นักวิจัยสตรีไทย ผู้คิดเปลี่ยนโลก matichon.co.th

เช่นเดียวกับความต้องการช่วยเหลือคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในการตรวจโรคต่างๆของ ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ ผู้ได้รับทุนวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เห็นว่าการวินิจฉัยโรคและการตรวจสอบสารพิษต่างๆในสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน จำเป็นต้องนำเข้าอุปกรณ์ราคาแพงจากต่างชาติ ทำให้ ดร.นาฎนัดดาเลือกจะนำเอาวัสดุใหม่อย่างกราฟีน ที่มีต้นกำเนิดคล้ายถ่านทำให้ราคาถูกมาประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นพกพาใช้งานง่าย และมีราคาต่ำ อย่างเช่นเครื่องตรวจภาวะไตวายที่จากเดิมใช้เวลา 1ชั่วโมง ซึ่งอาจช่วยเหลือผู้ป่วยไม่ทัน ก็สามารถลดเวลาเหลือเพียง 20 นาทีนอกจากนี้ยังประดิษฐ์วัสดุตรวจสารพิษในน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือสารตกค้างในกุ้งและอาหารอื่นๆ ได้ด้วย

 “การได้รับทุนวิจัยเหมือนเป็นการบอกว่าสิ่งที่เราทำมีคนเห็นและมาถูกทาง ซึ่งการทำงานวิจัยเหมือนเราได้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลาได้คิดออกแบบอะไรที่แปลกใหม่ และเป็นกำลังใจให้กับคนร่วมทีมวิจัยของเราด้วย”

ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ

3 นักวิจัยสตรีไทย ผู้คิดเปลี่ยนโลก matichon.co.th

 และสำหรับงานวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้แบบจำลองโมเลกุลสามมิติเพื่อการออกแบบพัฒนาวัสดุนาโนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของ ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์ เป็นอีกหนึ่งผลงานที่คว้าทุนวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์เคมีมาได้ด้วยสิ่งใกล้ตัวจากธรรมชาติ เนื่องจากในกระบวนการเผาไหม้ของสิ่งต่างๆจะเปลี่ยนสารชีวมวล ให้เป็นสารเคมีชีวภาพซึ่งหากออกแบบให้ดีจะนำมาซึ่งพลังงานทดแทนได้นอกจากนี้ยังออกแบบโมเดลเพื่อกรองมลภาวะจากโรงไฟฟ้าก่อนออกสู่พื้นที่โดยรอบได้ด้วย

ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์

3 นักวิจัยสตรีไทย ผู้คิดเปลี่ยนโลก matichon.co.th

“การทำวิจัยชิ้นหนึ่งอาจใช้เวลาถึง10 ปีในการทำงาน ซึ่งต้องใช้ความละเอียดและอดทน ค่อยๆ ทดลองไปเรื่อยๆซึ่งความเป็นผู้หญิงได้เปรียบมากในเรื่องนี้นอกจากนั้นแล้วความเป็นผู้หญิงไม่ได้เป็นอุปสรรคในการจะช่วยเหลือคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี”ดร.สุภาวดีย้ำ

ขอบคุณที่มาและภาพ  matichon.co.th/news  วันที่ 29 กันยายน 2559

แชร์