สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ของประชาชนคนไทยที่ควรรู้

ประเทศชาติจะมีความมั่นคงก้าวหน้าเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับการที่ประชาชนในชาติรู้จักสิทธิ เสรีภาพ กระทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบและมีคุณธรรม ความ สำคัญของสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ เหมือนนักเรียนรู้หน้าที่ต่อพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ต่อผู้ใหญ่ http://winne.ws/n11219

4.9 พัน ผู้เข้าชม
สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ของประชาชนคนไทยที่ควรรู้แหล่งภาพจาก Click-Kid

สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ของประชาชน

        ประเทศชาติจะมีความมั่นคงก้าวหน้าเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับการที่ประชาชนในชาติรู้จักสิทธิ เสรีภาพ กระทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบและมีคุณธรรม  ความ  สำคัญของสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่   มีดังนี้คือ

สิทธิ ของประชาชนคนไทย         

1. สิทธิ  หมายถึง  อำนาจหรือผลประโยชน์ที่ได้รับการคุ้มครองและรับรองตามกฎหมาย            

2. สิทธิที่เป็นสิทธิเฉพาะบุคคล   ได้แก่                  

2.1 สิทธิในชีวิตและร่างกาย               

2.2 สิทธิในเคหะสถาน               

2.3 สิทธิในครอบครัว               

2.4 สิทธิในการประกอบอาชีพ               

2.5 สิทธิในชื่อเสียงและเกียรติยศ            

3. สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน  หมายถึง  สิทธิที่มีเจ้าของมีอยู่ในทรัพย์สินนั้นโดยการถือกรรมสิทธิ์และสามารถใช้ประโยชน์ใดๆได้  ตามที่เจ้าของทรัพย์สินต้องการ  เช่น มีสิทธิในการให้ผู้อื่นเช่าบ้าน  มีสิทธิในการขายที่ดินของตน  ฯลฯ            

4. การใช้สิทธิของบุคคล  มีข้อจำกัดดังนี้คือ                  

4.1 การใช้สิทธิต้องเป็นไปตามขอบเขตและหลักการที่กฎหมายกำหนดไว้  จะละเมิดมิได้               

4.2 สิทธิบางอย่างเป็นสิทธิเฉพาะตน  ผู้มีสิทธิจะต้องใช้ด้วยตนเองเท่านั้น  จะมอบให้ผู้อื่นไม่ได้  เช่น  สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง  เป็นต้น               

4.3 สิทธิบางอย่างอาจใช้โดยการมอบอำนาจหรือแต่งตั้งผู้แทนได้  เช่น  การเบิกถอนเงินจากธนาคาร  เป็นต้น  

สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ของประชาชนคนไทยที่ควรรู้แหล่งภาพจาก www.wskr.ac.th

เสรีภาพของประชาชนคนไทย           

1. เสรีภาพ  หมายถึง  ความเป็นอิสระของบุคคลที่จะกระทำการต่างๆได้ตามความต้องการของตน  โดยไม่ละเมิดต่อผู้อื่นและไม่ผิดกฎหมาย            

2. เสรีภาพของประชาชนไทยตามรัฐธรรมนูญ  มีดังนี้                  

2.1 เสรีภาพในการนับถือศาสนา               

2.2 เสรีภาพในการประกอบอาชีพ               

2.3 เสรีภาพในร่างกาย               

2.4 เสรีภาพในเคหะสถาน               

2.5 เสรีภาพในการศึกษาอบรม               

2.6 เสรีภาพในการเดินทาง               

2.7 เสรีภาพในการพูด  การเขียน  การพิมพ์  การโฆษณา               

2.8 เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม  สหภาพ  สหกรณ์  และพรรคการเมือง              

2.9 เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ               

2.10 เสรีภาพในการส่งข่าวสารโดยทางไปรษณีย์หรือทางอื่นที่ชอบโดยกฎหมาย  ขอบเขตจำกัดแห่งสิทธิเสรีภาพ              

สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ของประชาชนคนไทยที่ควรรู้แหล่งภาพจาก Sites - Google

หน้าที่ ของประชาชนคนไทย        

1. หน้าที่  หมายถึง  ภาวะที่บุคคลต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้            

2. หน้าที่มีความสัมพันธ์กับสิทธิโดยตรง  ทั้งนี้ต้องคำนึงว่า  เมื่อเรามีสิทธิแล้วเราต้องมีหน้าที่ด้วย            

3. หน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ  มีดังนี้คือ                

3.1 ธำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข             

3.2 หน้าที่ในการป้องกันชาติบ้านเมือง             

3.3 หน้าที่ในการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง              

3.4 หน้าที่ในการช่วยเหลือราชการตามกฎหมาย              

3.5 หน้าที่ในการรับราชการทหาร              

3.6 หน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามกฎหมาย              

3.7 หน้าที่ในการเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ              

3.8 หน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริต            

4. หน้าที่ของพลเมืองตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่นๆ มีดังนี้คือ               

4.1 หน้าที่ของบิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร             

4.2 หน้าที่ในการปฏิบัติตามอาชีพที่ตนรับผิดชอบ             

4.3 หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาที่กระทำไว้            

5. หน้าที่ของพลเมืองในระดับท้องถิ่น  มีดังนี้               

5.1 หน้าที่ทางการเมือง  เช่น  การลงสมัครรับเลือกตั้ง  การช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนในท้องถิ่นของตน            

5.2 หน้าที่ทางเศรษฐกิจ  เช่น                    

ก. การประกอบอาชีพที่สุจริต                    

ข. การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์                    

ค. การร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น             

5.3 หน้าที่ทางสังคม  ได้แก่  การประพฤติดี  การพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าคุณธรรมของพลเมืองในระบบประชาธิปไตย            

อ้างอิงจาก https://sites.google.com/site/groupsocial55/home/7-siththi-seriphaph-hnathi-laea-khunthrrm-khxng-prachachn-ni-rabxb-prachathiptiy

แชร์