ศาสนาของประชาชนในประชาคมอาเซียน

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้แถบประเทศสาธารณรัฐอินเดียและปากีสถาน มีอายุมากกว่า ๕,๐๐๐ ปี ลองลงมาคือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ตามลำดับ http://winne.ws/n11246

2.0 หมื่น ผู้เข้าชม
ศาสนาของประชาชนในประชาคมอาเซียนแหล่งภาพจาก www.cpc.ac.th

ศาสนาของประชาชนในประชาคมอาเซียน

         ศาสนานอกจากจะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชนและประเทศนั้นๆ แล้ว ยังเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งและควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดำเนินไปตามครรลองหรือบรรทัดฐานของสังคม โดยปราศจากการพันธนาการ ดังนั้น ศาสนา จึงเป็นประดิษฐกรรมทางความคิดอันสูงส่ง และมีคุณูปการต่อโลกและมนุษยชาติทั้งมวล บทความนี ้ให้ความสำคัญศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน 

        ก่อนที่จะกล่าวถึงศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ควรจะทำความเข้าใจภาพรวม เพื่อเป็นพื้นฐานการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นเสรีภาพและหลักการพื้นฐานที่ประชาชนและรัฐสมาชิกอาเซียนจะต้องเคารพในวัฒนธรรม ภาษาและศาสนาที่แตกต่างกัน และสร้างความเป็นเอกภาพในความหลากหลาย

       เพื่อความมั่นคงของประชาคมอาเซียนโดยทั่วไป ศาสนา แปลว่า “คำสอน” และหมายความถึง “คำสั่ง” ด้วย จึงเรียกรวมกันว่า “คำสั่งสอน” อย่างไรก็ตามมีการให้ความหมายและความสำคัญของศาสนาไว้โดยปราชญ์ทางศาสนามากมายดังนี้ 

        ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้แถบประเทศสาธารณรัฐอินเดียและปากีสถาน มีอายุมากกว่า ๕,๐๐๐ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่ นับถือ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินเดียและเนปาล

        ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเก่าแก่เป็นอันดับที่ ๒ เกิดหลังศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒,๐๐๐ ปี มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดียและเนปาล เกิดก่อนศาสนาคริสต์ประมาณ ๕๔๓ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือ ได้แก่ ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐศรีลังกา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐกัมพูชา สาธารณรัฐสิงคโปร์ และภูฏาน เป็นต้น 

       สำหรับศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ ๓ มีแหล่งกำเนิดแถบประเทศปาเลสไตน์และอิสราเอล หลังพุทธศาสนา ๕๔๓ ปี ประเทศที่มีประชากรนับถือเป็นศาสนาประจำชาติหลายประเทศทั่วโลก 

       สำหรับศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาเก่าแก่เป็นอันดับที่ ๔ มีแหล่งกำเนิดในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หลังศาสนาพุทธ ๑,๑๑๓ ปี และหลังศาสนาคริสต์ ๖๐๐ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐปากีสถาน และสาธารณรัฐบังคลาเทศ

แผนภูมิแสดงการนับถือศาสนาของคนไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2559)

ศาสนาของประชาชนในประชาคมอาเซียน

ศาสนาหลักของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน

        รัฐสมาชิกอาเซียนที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา ๙๕% ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ๗๕% ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ๙๐% ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๔๒.๕% ราชอาณาจักไทย ๙๕% และประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๗๐% 

       นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบด้วยประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๖๗% ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๘๗% และประเทศมาเลเซีย ๖๐.๔% 

       นับถือศาสนาคริสต์ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๙๒% นอกจากนี้ยังนับถือศาสนาพุทธ ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงในประเทศมาเลเซีย ๑๙.๒% และประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๑๓% ศาสนาคริสต์ ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๑๕% ประเทสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๔.๕% ประเทศมาเลเซีย ๑๑.๖% และประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๑๐% อิสลาม ๑๐% ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๔.๕% 

        การทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเข้าไปสู่หัวใจของประชาชาตินั้น และเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา ภายใต้เสาหลักของประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ซึ่งเกื้อกูลและเกื้อหนุนต่อประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-APSV) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC)

อ้างอิงข้อมูลจาก https://aseanasean.wordpress.com/ศาสนาของประชาชนในประชา/       

แชร์