ประวัติ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ
วันนี้วินนิวส์ จะพาทุกท่านไปรู้เบื้องลึก อันน่าอัศจรรย์ใจของวัดบางพลีใหญ่ ซึ่งมีประวัติมายาวนาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ความศักดิ์และอภินิหาร ที่มีปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์ มาสู่หน้าจอของท่านแล้ว http://winne.ws/n310
วันนี้วินนิวส์ จะพาทุกท่านไปรู้เบื้องลึก อันน่าอัศจรรย์ใจของวัดบางพลีใหญ่ ซึ่งมีประวัติมายาวนาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ความศักดิ์และอภินิหาร ที่มีปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์ มาสู่หน้าจอของท่านแล้ว หลังจากอ่านข้อความจากนี้แล้วท่านผู้อ่าน อาจจะต้องรีบหาเวลาไปนมัสการหลวงพ่อโต ให้ได้สักครั้งในชีวิต
ประวัติหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่
วัดบางพลีใหญ่ใน
เดิมชื่อว่า วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเรียกวัดนี้ว่า วัดใหญ่ หรือ วัด หลวงพ่อโต จากโบราณคดีจารึก สืบต่อกันแต่ครั้งโบราณกาลว่า วัดนี้สร้างขึ้นในสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช. ในปี พ.ศ.2310 ครั้งหนึ่งที่พระองค์ยกทัพขับไล่ข้าศึกมาทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยามาถึงยังตำบลหนึ่งซึ่งยังไม่ปรากฏนาม พระองค์ได้สั่งให้หยุดพักไพร่พล และได้ทรงทำพิธีกรรมบวงสรวงหาฤกษ์ยามอันเป็นนิมิตตามตำรับพิชัยสงครามการทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงนี้ ตามประเพณีมีการปลูกศาลเพียงตา พร้อมทั้งเครื่องเซ่นสังเวยมี ข้าวตอก ดอกไม้ สัตว์สี่เท้า สัตว์สองเท้า ขนมต้มขาว ขนมต้มดำ ขนมต้มแดง และอื่นๆพร้อมทั้งอัญเชิญพระแสงปืน พระแสงดาบ และสรรพวุธ
เพื่อเข้าพิธีพลีกรรมบวงสรวงนี้พร้อมทั้งตั้งสัจจะอธิษฐานต่อเทวาอารักษ์และสิ่ง-ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า "ถ้าหากพระองค์ยังมีบุญญธิการปกครองไพร่ฟ้า ประชาชน พร้อมทั้งบ้านเมือง ให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขแล้ว ขอให้พระองค์จงมีชัยชนะต่ออริราชศัตรูทั้งมวล"
ครั้งเมื่อพระองค์ได้รับชัยชนะแล้ว ก็ทรงยกทัพกลับสู่กรุงศรีอยุธยา ผ่านมาทางเดิมที่พระองค์ได้ทำพิธี ก็ทรงโปรดให้สร้างพลับพลาชัยขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ในชัยชนะของพระองค์ และทรงขนานนามว่า"พลับพลาชัยชนะสงคราม"ครั้นต่อมาชาวบ้านในละแวกนั้นได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นที่พลับพลาแห่งนี้ และเรียกวัดนี้ว่า "วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม” ส่วนชื่อของตำบลนั้นได้ชื่อว่า“บางพลี” เพราะเหตุที่สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงนั่นเอง
ดังนั้นประชาชนทั้งหลายจึงเรียกว่าบางพลี และวัดพลับพลาชัยชนะสงครามก็ถูกเรียกตามตำบลนั้นอีกว่า“วัดบางพลี”แต่เนื่องจากต่อมาได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกอยู่ทางด้านนอกเรียกกันว่า วัดบางพลีใหญ่กลางและวัดบางพลีได้พระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นมิ่งขวัญของวัดจึงเรียกว่า "วัดบางพลีใหญ่ใน"หรือ"วัดหลวงพ่อโต"มาจทนทุกวันนี้
หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) องค์พระเป็นทองสำริดทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ ลืมพระเนตร เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดบางพลีใหญ่ใน
ได้รับการกล่าวขวัญถึงความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวบางพลีและพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ตามตำนาน เล่าสืบต่อกันมา ว่าประมาณกาล 200 กว่าปีล่วงมาแล้ว ได้มีพระพุทธรูป 3 องค์ ปาฏิหาริย์ลงมาจากทางเหนือ ลอยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดมาพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ เข้าใจว่าปวงชนในกรุงศรีอยุธยาคงอาราธนาท่านลงสู่แม่น้ำ เพื่อหลบหนีข้าศึก ด้วยในสมัยนั้นบ้านเมืองได้เกิดสภาวะสงครามขึ้นกับพม่า
พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ได้แสดงอภินิหารลอยล่องมาตามลำแม่น้ำ และบางครั้งก็แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ผุดให้ผู้คนเห็นตามลำดับ จนเป็นที่โจษจันกันทั่ว ถึงอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน
ต่อมาภายหลังปรากฏว่า พระพุทธรูปองค์หนึ่งไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่ วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม
ในเวลาไล่เลี่ยกันพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธร จ.ฉะเชิงเทรา
ส่วนอีกองค์หนึ่งได้ล่องลอยเรื่อยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา ปาฏิหาริย์ลอยวกเข้ามาในลำคลองสำโรง ประชาชนพบเห็นต่างโจษจันกันไปทั่ว พร้อมกับได้อาราธนาขึ้นที่ปากคลองสำโรง แต่พระพุทธรูปไม่ยอมขึ้น (หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่)
ในที่นั้น มีผู้มีปัญญาดีคนหนึ่ง ได้ให้ความเห็นว่า คงเป็นเพราะบุญญาอภินิหารของท่าน แม้จะใช้จำนวนผู้คนสักเท่าไรอาราธนาฉุดท่านขึ้นบนฝั่งไม่สำเร็จเป็นแน่ ควรจะเสี่ยงทายต่อแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือพายฉุดท่าน ให้ลอยตามลำน้ำสำโรงและอธิษฐานว่า "หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใดก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด"
เมื่อประชาชนทั้งหลายได้เห็นพ้องดีกันดังนั้นแล้ว ก็พร้อมใจกันทำแพผูกชะลอกับองค์ท่านแล้วใช้เรือ ซึ่งสมัยนั้นเป็นเรือพายทั้งสิ้น ช่วยกันจ้ำพายจูงแพลอยเรื่อยมาตามลำคลองเรือที่ใช้ลากจูงแพมานั้นมีชื่อแปลกต่างๆ กัน เช่นชื่อ ม้าน้ำ เป็ดน้ำ ตุ๊กแก และอื่นๆ เป็นต้น และจัดให้มีการละเล่นต่างๆ มีละครเจ้ารำถวายมาตลอดทาง และการละเล่นอื่นๆ ครึกครื้นมาตลอดทั้งลำน้ำ
ครั้นแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม หรือวัดบางพลีใหญ่ใน แพที่ผูกชะลอองค์ท่านเกิดหยุดนิ่ง พยายามจ้ำและพายกันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง แพนั้นก็หาได้ขยับเขยื้อนไม่
ประชาชนที่มากับเรือและชาวบางพลี จึงได้พร้อมใจกันอาราธนาตั้งจิตอธิษฐานว่า "ถ้าหลวงพ่อจะโปรดคุ้มครองชาวบางพลีให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขแล้วก็ ขออาราธนาอัญเชิญองค์ท่านให้ขึ้นจากน้ำได้โดยง่ายเถิด"
และเป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างมาก เพียงใช้คนไม่มากนัก สามารถอาราธนาท่านขึ้นจากน้ำได้โดยง่าย ทำให้ประชาชนต่างแซ่ซ้องในอภินิหารของท่านเป็นอย่างยิ่ง และได้อาราธนาท่านขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในวิหารนั้นเรื่อยมา
ครั้นต่อมาได้รื้อวิหารนั้นอีกเพื่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่ถาวร จึงต้องชะลออาราธนาองค์ท่านมาพักไว้ยังศาลาชั่วคราว จนกระทั่งได้สร้างพระอุโบสถสำเร็จแล้ว จึงได้อาราธนาท่านไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ เพื่อเป็นพระประธานของวัดบางพลีใหญ่ใน
เล่ากันว่า เมื่อคราวสร้างพระอุโบสถเสร็จใหม่ๆ ได้วัดช่องประตูพระอุโบสถกับองค์ หลวงพ่อโต ปรากฏว่า ช่องประตูใหญ่กว่าองค์พระประมาณ 5 นิ้ว ซึ่งสามารถนำองค์หลวงพ่อโตผ่านเข้าไปได้
แต่พอถึงคราวอาราธนาจริง กลับปรากฏว่า องค์หลวงพ่อใหญ่กว่าประตูมาก คณะกรรมการจำนวนหนึ่งเห็นว่าควรทุบช่องประตูทิ้ง แต่อีกจำนวนหนึ่งเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต จึงได้พร้อมใจกันอธิษฐานขอให้หลวงพ่อโตสามารถผ่านเข้าประตูได้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญคุ้มครองชาวบางพลีสืบไป
เมื่ออธิษฐานเสร็จก็อาราธนาหลวงพ่อโตผ่านประตูได้โดยสะดวก
การที่ท่านได้พระนามว่า "หลวงพ่อโต" คงเป็นเพราะองค์ของท่านใหญ่โต คือ ใหญ่โตกว่าองค์ที่ลอยน้ำมาด้วยกันทั้ง 2 องค์ จึงถือเป็นนิมิตอันดีให้ประชาชนพากันถวายนามว่า "หลวงพ่อโต" เป็นสิ่งที่เคารพสักการะของชาวบางพลี ตราบเท่าทุกวันนี้ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน
ทั้งนี้ การลำดับว่าองค์ไหนองค์พี่ องค์กลาง องค์น้อง และลอยมาพร้อมกันตามตำนานที่สืบต่อกันมา เข้าใจว่าคงจะนับเอาองค์ที่อาราธนาขึ้นจากน้ำได้ก่อนเป็นองค์พี่ ขึ้นจากน้ำองค์ที่ 2 เป็นองค์กลาง ขึ้นจากน้ำองค์ที่ 3 เป็นองค์น้อง ตามลำดับ คือ
หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ 1
หลวงพ่อโสธร วัดโสธรฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ 2
หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ อาราธนาขึ้นจากน้ำ เป็นองค์ที่ 3 เรียงกันตามลำดับ
นอกจากนี้ หลวงพ่อโต ยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เจ็บป่วยทั้งหลายที่มาบอกเล่าบนบานกราบนมัสการท่าน บางท่านได้นำน้ำมนต์หลวงพ่อไป เพื่อความเป็นสิริมงคล ปรากฏว่าโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นนั้นหายวันหายคืน
แม้แต่กระทั่งรูปเหรียญหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน ชาวบ้านทั้งใกล้ไกลต่างพากันห้อยคอให้แก่บุตรหลานของตน เพราะเมื่อเด็กเผลอพลัดตกน้ำเด็กนั้นกลับลอยได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ ตลอดทั้งพระเครื่องรางที่ทำเป็นรูปขององค์หลวงพ่อ ก็มีอภินิหารป้องกันภยันตรายต่างๆ ได้
ทุกวันนี้ชาวบางพลีต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และบารมีของหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน ที่คุ้มครองชุมชนบางพลีให้ปลอดภัยจากอัคคีภัย ในขณะที่ชุมชนโดยรอบ อาทิ ตลาดบางบ่อ ตลาดจระเข้ ตลาดคลองด่าน ล้วนแต่ประสบกับอัคคีภัยมาแล้วทั้งนั้น
ทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะมีการอัญเชิญหลวงพ่อโตจำลอง ลงเรือแห่ไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสองฝั่งคลอง และที่มาร่วมพิธีได้ร่วมสักการบูชา ด้วยการโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ มีความเชื่อกันว่า หากสามารถโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่แล้ว อธิษฐานสิ่งใดไว้ก็จะประสบความสำเร็จดังหวัง
การเดินทาง
ใช้เส้นทางถนนบางนา-ตราด มุ่งหน้าไปทางจังหวัดชลบุรีถึงกิโลเมตรที่ 12 ให้กลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางถนนบางพลี-กิ่งแก้ว ประมาณ 3.5 กิโลเมตร จะพบสี่แยกเลี้ยวซ้ายไปประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุขาภิบาล 6 ทางเข้าเทศบาลตำบลบางพลี 200 เมตร จะถึงวัดบางพลีใหญ่ใน ส่วนอีกทางหนึ่งเข้าทางถนนเทพารักษ์ ประมาณ กิโลเมตรที่ 13 ก็ถึงจะวัด
อภินิหาร และ ความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อโต
อันอภินิหารตลอดทั้งความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโตนั้น มีมากมายสุดคณานับซึ่งนับแต่ท่านได้แสดงอภินิหารล่องลอยมาตามกระแสน้ำในทะเล หรือแม้กระทั่งในมหาสมุทร จนกระทั่งได้ขึ้นประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถของวัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งเราท่านต่างก็จงคิดดูเองเถิดว่า มีหรือไม่ว่าโลหะชนิดใดที่จะลอยน้ำมาได้ ซึ่งองค์หลวงพ่อโตเองนั้นก็เป็นทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์มีน้ำหนักมาก ถ้ามิใช่เพราะอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อ ทั้งท่านก็แสดงให้ประชาชนได้เห็นกันทั่วแถบตลอดทั้งลำน้ำเจ้าพระยา หรือแม้แต่ที่วัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งท่านประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญของชาวบางพลีท่านก็ยังได้แสดงอภินิหารให้ประชาชนเห็นกันอยู่บ่อย ๆ ดังเช่นครั้งท่านประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเก่า บางวันที่เป็นวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางคืนผู้คนจะได้ยินเสียงพึมพำอยู่ในวิหารคล้ายเสียงสวดมนต์ ครั้นเมื่อเข้าไปดูก็ไม่เห็นมีใครอยู่ในนั้นเลยนอกจากหลวงพ่อ จนผู้คนที่เข้าไปดูขนลุกซู่ด้วยความเลื่อมใส
บางคราวพระภิกษุและสามเณรในวัดจะเห็นพระภิกษุชราห่มจีวรสีคร่ำคร่า ถือไม้เท้าเดินออกมายืนสงบนิ่งอยู่หน้าวิหาร ผู้ที่พบเห็นต่างก็เรียกกันมาดู เมื่อทุกคนเห็นพร้อมกันดีแล้ว ภิกษุชรารูปนั้นก็เดินหายเข้าไปในวิหารตรงองค์ของหลวงพ่อ เป็นดังนี้หลายครั้งหลายหน
บางครั้งจะมีผู้เห็นเป็นชายชรารูปร่างสง่างามมีรัศมีเปล่งปลั่งนุ่งขาวห่มขาวเข้ามาหาหลวงพ่อแล้วก็หายไปตรงพระพักตร์ของท่าน ซึ่งยังความปลาบปลื้มปีติแก่ผู้ที่ได้พบเห็น และที่ข้างวิหารนั้นมีสระน้ำย่อม ๆ อยู่ ในบางคราวจะมีปลาเงินปลาทอง หรือปลาตะเพียนเงินปลาตะเพียนทองขนาดใหญ่ ๒ ตัว ปรากฏให้เห็นลอยเล่นน้ำคู่กันอยู่ในสระนั้น ซึ่งในสระนั้นไม่เคยมีปลาตะเพียนเงินตะเพียนทองมาก่อนเลย ด้วยนิมิตนี้ทางวัดจึงได้จัดให้มีปลาตะเพียนเงินตะเพียนทองไว้สมนาคุณสำหรับบูชาไว้กับร้านค้าและบ้านเรือน ปรากฏว่าผู้ที่นำไปสักการะบูชาประสบลาภผลอย่างดียิ่งในการทำมาหากินและด้านโชคลาภ จึงถือว่าปลาตะเพียนเงินตะเพียนทองนี้เป็นปลาคู่บารมีของหลวงพ่อโต
จึงมีผู้คนต่างนำไปสักการะบูชากันมากมาย เดิมแต่ก่อนนั้นหลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในวิหารเก่าของวัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งมีอายุเก่าแก่นานคร่ำคร่าและทรุดโทรมลงไปมาก ทางวัดจึงพร้อมกันสร้างพระอุโบสถถวายท่านใหม่ ขณะที่ก่อสร้างก็ได้รื้อวิหารหลังเก่าออกและอาราธนาชะลอองค์หลวงพ่อมาพักอยู่ที่ศาลาชั่วคราว และได้ตัดต้นพิกุลหน้าวิหารซึ่งมีขนาดใหญ่ประมาณ ๓ คนโอบออกเสีย เพราะเห็นว่าขึ้นใหญ่โตและเกะกะบริเวณที่จะสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ และในคืนวันหนึ่งตรงพื้นเบื้องหน้าห่างหลวงพ่อราว ๒ ศอกเศษ ได้ปรากฏว่ามีรอยมือรอยเท้าแสดงท่าคุกเข่ากราบหลวงพ่อรอยเท้าตอนเข้ามาไม่ปรากฏ ปรากฏแต่รอยเท้าตอนกลับเท่านั้น รุ่งขึ้นเช้าได้มีผู้คนแตกตื่นมาดูกันเป็นการใหญ่ ท่านผู้ใหญ่บางท่านบอกว่าเป็นรอยมือรอยเท้าของนางพิกุลที่มากราบลาหลวงพ่อ
ซึ่งผู้ที่เฝ้าองค์หลวงพ่อที่ศาลานั้นได้กล่าวว่าตนเองได้กลิ่นหอมของดอกพิกุลมาก จึงผงกศีรษะขึ้นดูอย่างงัวเงียจึงได้เห็นผู้หญิงสาวสวยผมยาวจรดบั้นเอว นุ่งผ้าและห่มสไบสีคล้ายกลีบดอกจำปามาร่ำไห้กราบลาหลวงพ่อ เมื่อกราบลาหลวงพ่อแล้วก็เดินร่ำไห้ลงบันไดไป และแสดงอภินิหารฝากรอยมือรอยเท้าให้ปรากฏไว้ให้เห็น ต้นพิกุลต้นนี้หลังจากที่ได้ตัดแล้ว ต่อมาภายหลังได้แกะสลักเป็นรูปพระสังกัจจายน์ ประดิษฐานไว้ที่ด้านหน้าวิหารหลังเล็กข้างพระอุโบสถ พระสังกัจจายน์นี้ซึ่งแกะด้วยต้นพิกุลนี้มีชื่อเสียงมากในทางโชคลาภ มีผู้มาขอโชคกันบ่อย ๆ จนเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไปอีกสิ่งหนึ่ง
และเมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จใหม่ ๆ ก่อนจะอาราธนาหลวงพ่อเข้าไปประดิษฐานภายในพระอุโบสถได้วัดองค์ท่านกับช่องประตูพระอุโบสถ ช่องประตูใหญ่กว่าองค์ท่านประมาณ ๕ นิ้ว ซึ่งสามารถนำท่านชะลอผ่านประตูเข้าไปได้สบายมาก ครั้นเวลาอาราธนาหลวงพ่อเข้าสู่พระอุโบสถจริง ๆ กลับปรากฏว่า องค์หลวงพ่อใหญ่กว่าช่องประตูมาก จะทำอย่างไรก็ไม่สามารถนำท่านผ่านประตูเข้าไปได้ คณะกรรมการและประชาชนทั้งหลายเห็นเช่นนั้นก็พากันตกใจ ให้ความเห็นว่าต้องทุบช่องประตูออกเสียให้กว้าง เมื่อนำหลวงพ่อเข้าไปแล้วค่อยทำประตูกันใหม่
แต่บางท่านให้ความเห็นว่าหลวงพ่อโตคงจะแสดงอภินิหารให้ทุกคนได้เห็นเป็นอัศจรรย์ก็ได้ จึงพร้อมใจกันทั่วทุกคนจุดธูปเทียนบูชาอธิษฐานขอให้หลวงพ่อผ่านเข้าประตูพระอุโบสถได้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญคุ้มครองชาวบางพลีสืบต่อไป เมื่อเสร็จจากอธิษฐานแล้ว ก็อาราธนาหลวงพ่อเข้าสู่ประตูพระอุโบสถใหม่ คราวนี้ทุกคนก็ต้องแปลกใจที่องค์หลวงพ่อผ่านเข้าประตูพระอุโบสถได้อย่างง่ายดาย โดยมีช่องว่างระหว่างองค์หลวงพ่อโตกับประตูพระอุโบสถเสียอีก นับว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ในอภินิหาร และความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อโตยิ่งนัก
นอกจากนั้น หลวงพ่อโตยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เจ็บป่วยทั้งหลายที่มาบอกเล่าบนบานกราบนมัสการท่าน บางท่านได้นำน้ำมนต์หลวงพ่อไปเพื่อเป็นสิริมงคล ปรากฏว่าโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นนั้นหายวันหายคืน แม้แต่กระทั่งรูปเหรียญหลวงพ่อโตชาวบ้านทั้งใกล้ไกลต่างพากันห้อยคอให้แก่บุตรหลานของตน เพราะเมื่อเด็กเผลอพลัดตกน้ำเด็กนั้นกลับลอยได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ ตลอดทั้งพระเครื่องรางที่ทำเป็นรูปขององค์หลวงพ่อ ก็มีอภินิหารป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ได้ และเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๐ หลวงพ่อได้กระทำให้เกิดปาฏิหาริย์ องค์ท่านซึ่งเป็นทองสัมฤทธิ์ เกิดนุ่มนิ่มไปหมดทั้งองค์ดังเนื้อของมนุษย์ หนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับพากันลงข่าวอันอัศจรรย์นี้ทั่วไป ประชาชนพากันมาชมบารมีและความปาฏิหาริย์นี้อย่างเนืองแน่น และในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ก็เกิดนิ่มขึ้นอีก ๑ ครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องแปลกและมหัศจรรย์มาก
เที่ยวปากน้ำ ต้องไปวัดบางพลีใหญ่
เครดิต จากเวปไซต์ http://www.itti-patihan.com ลิงค์ http://goo.gl/WRhU6O และ http://pr.prd.go.th/samutprakan/ewt_news.php?nid=77