ทำไม ? คิวโรงพยาบาลรัฐบาลต้องไปรอตั้งแต่ตี 4 ตี 5

เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ หลังมีสมาชิกเว็บไซต์พันทิปท่านหนึ่งได้ตั้งกระทู้สอบถามถึงข้อสงสัยในทำนองว่า ‘ทำไม ?? ผู้ไปใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐ ต้องไปรอตั้งแต่ตี 4 ตี 5’ อีกทั้งยังได้มีคำถามต่าง ๆ ตาม http://winne.ws/n11681

3.0 พัน ผู้เข้าชม
ทำไม ? คิวโรงพยาบาลรัฐบาลต้องไปรอตั้งแต่ตี 4 ตี 5

หายสงสัย หลังแพทย์โพสต์ข้อความชี้แจงละเอียดยิบ หลังมีคนตั้งคำถามในเว็บบอร์ดชื่อดัง ทำไมคิวโรงพยาบาลรัฐบาลต้องไปรอตั้งแต่ตี 4 ตี 5

        จากกรณีที่เกิดเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์  หลังมีสมาชิกเว็บไซต์พันทิปท่านหนึ่งได้ตั้งกระทู้สอบถามถึงข้อสงสัยในทำนองว่า ‘ทำไม ?? ผู้ไปใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐ ต้องไปรอตั้งแต่ตี 4 ตี 5’ อีกทั้งยังได้มีคำถามต่าง ๆ ตาม อาทิ ทำไม ? ต้องปิดรับคิวตอน 11.00 โมง รวมถึงเสนอแนะเพิ่มเติมให้กับการศึกษาแพทย์นั้น

ทำไม ?? ต้องมารอคิว ตีสี่ ตีห้า

       อันนี้ก็ไม่ได้บังคับนะ “ตามศรัทธา” ปกติใบนัดก็แปดโมงอยู่แล้ว แล้วแต่เหตุผลส่วนตัว แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคนมั้ย บางคนต้องงดน้ำ งดอาหารมาเจาะเลือด เขาก็อยากรีบมา รีบเจาะ รีบกินข้าว บางคนมาเช้าอาการก็เย็นกว่า เดินทางมาก็ไม่ร้อนไม่เหนื่อย บางคนลูกหลานเขาก็สะดวกมาส่งไว้เช้า สายๆ ก็มารับกลับ บางคนเขาก็เห็นว่าหมอนัดก็อยากรีบมาเจอหมอตามนัด มากี่โมงก็มาเถอะ แค่มาตามนัด มาเจาะเลือดให้ทัน มาในเวลาก็ขอบคุณมากแล้ว

ไปสายก็ไม่ทันตรวจ ปิดรับคนไข้ห้าโมงเช้า

       ก่อนจะว่าเดินมาดู OPD สักหน่อย มีหมอกี่คน มีคนไข้กี่คน แต่ละคนมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง มีผล Lab กี่ตัวที่ต้องแปล ลำพังแค่ถามว่ากินยาถูกไหม ก็จะแย่แล้ว บางคนต้องซักถึงปัญหาที่แท้จริงอีกว่า ทำไมควบคุมโรคไม่ได้ แล้วไม่ใช่ว่าคนหนึ่งจะป่วยโรคเดียวนะ รู้จักมั้ย เอาแค่ Package อย่าง basic นะ “เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง” พี่ก็หน้ามืดแล้ว

       ยานี้ตีกับโรคนี้ โรคนั้น ยานั้นตีกับโรคนี้ คุณพระน้ำตาจะไหล ตรวจโรคเสร็จ ไหนยังจะสารพัดอาการจิปาถะอื่นๆ อีก หมอนอนไม่หลับ หมอแน่นท้อง หมอปวดหัว หมออึไม่ออก หมอปวดเข่า คนไข้บ่นมาอย่างหนึ่งมันไม่ได้มีแค่ว่าจ่ายยาอะไรนะ มันต้องคิดสาเหตุ โรคที่ซ่อนเร้น รวมถึงคำแนะนำต่างๆ จะให้ยาก็ต้องดูว่าแพ้ไหม ไตเสื่อมไหม ตีกับยาประจำตัวไหม แล้วถามจริงๆ มีหมอกี่คน 2 คน ที่ตรวจหลักๆ จะยกตัวอย่างสถานการณ์ที่อยู๋ปัจจุบันนะ

โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง มีหมอ 3 คน แพทย์ใช้ทุนปี 2 สองคน

       ผอ.ต้องทำงานบริหารทั้งหมดในโรงพยาบาล
Intern (แพทย์ใช้ทุน)
       -คนที่ 1 ดูแลผู้ป่วยใน เริ่มราวน์วอร์ดใน 08.30 น. คนไข้ 10-30 คน แล้วแต่ช่วง ไม่แน่นอน ราวน์เสร็จเฉลี่ย 10.00 น.

       -คนที่ 2 ดูแลผู้ป่วยนอกตั้งแต่ 08.30 น. มีคนไข้ตามนั้นเฉลี่ยตอนเช้า วันละ 60-80 คน มีคนไข้ทั่วไป Walk In ประมาณ 30 คน ความสามารถสูงสุด 20 คนต่อชั่วโมงเฉลี่ยคนละ 3 นาที (ไม่รวมเวลาเดินเข้า-ออก,เข็นรถเข้า-ออก) แล้วย้อนไปดูนะว่าแต่ละคนเป็นโรคอะไรต้องตรวจอะไรบ้าง

        โดย Intern คนที่ 2 ที่ต้องเฝ้าผู้ป่วยนอกแต่เช้า ก็ต้องเฝ้าห้องฉุกเฉินด้วย วันไหนโชคดีหน่อยก็มีแค่เคสมุ้งมิ้ง วันไหนราหูอมก้อุบัติเหตุหมู่ ก็ชิวๆ 30 เคส บวกกับแบกรับความกดดันจากญาติอีกเป็น 100 คน แล้วโรงพยาบาลชุมชนชีวิตก็ไม่ได้สวยหรู ลำพังแค่ถ่ายภาพ X-ray ที่จะมีคุณภาพก็ยากแล้ว ใช่เรากำลังก้าวเข้าสู่ปี 2017 ด้วยการยังดูแผ่น X-ray อยู่ ลำพังแค่ X-ray ใน Computer ยังไม่มี Program เลย ขอบเขตตามนุษย์ก็มีขีดจำกัดนะ

       กลับ ๆ มา ที่หน้า Int. คนที่ต้องเฝ้าผู้ป่วยนอกต่อ ก็อยากบอกที่บอกวันไหนห้องฉุกเฉินยุ่ง ผู้ป่วยนอกก็ร้างหมอเลยค่ะ เพราะอีกคนดูผู้ป่วยในอยู่ แล้วนึกภาพออกไหม Moment ที่เดินทิ้งผู้ป่วยนอกมา เพื่อไปห้องฉุกเฉิน (OPD) แล้วไม่เหลือใครเฝ้า POD มันโคตร Peak กับสายตาคนไข้เกิน 50 คนที่มองตามหลัง พร้อมเสียงบ่นตามหลังว่า ‘หมอไปอีกละ ??’ โอ้โหเป็นกำลังที่ประเสริฐมาก

       แค่นี้พอเป็นเหตุผลที่ดีพอหรือไม่ ที่จำเป็นต้องปิดรับบัตรตั้งแต่ 11.00 น. หรือ ห้าโมงเช้า ขอโทษนะ บางครั้งคนไข้มันเยอะจริงๆ สิบโมงเช้าก็ปิดมาแล้ว แล้วถามจริงการปิดบัตร คุณไม่คิดว่ามันดีกว่าเหรอ ?? ส่วนใหญ่โรงพยาบาลชุมชนคนไข้ก็อยู่บ้านใกล้ เราบอกปิดบัตรถ้าไม่หนักมากเป็นไข้หวัด ปวดแข้ง ปวดขา ถ้าไม่ลำบากเกินไป สะดวกไปรอที่บ้านก่อนมั้ย บ่ายหนึ่ง บ่ายสองค่อยมาใหม่ ไม่ดีกว่าเหรอ กลับไปอาบน้ำปะแป้งนอนพักกินข้าวแล้วค่อยมาใหม่ดีกว่าไหม

       จะมานั่งรอให้เสียเวลาเพื่ออะไร ลองนึกภาพนะถ้าไม่ปิดบัตรก็นั่งรอวนไปค่ะ ลูกเด็กเล็กแดงร้องไห้กันระงม ร้อนก็ร้อน เบื่อก็เบื่อ ตรวจก็ไม่รู้จะได้ตรวจไหม จะทันเที่ยงหรือเปล่าก็ไม่รู้ แล้วอยากถามว่าทำไมเที่ยงแล้วคนไข้ยังไม่หมด ทำไมไม่ตรวจต่อ

       บอกสั้นคำเดียวว่า ‘หิว’ มือสั่นไปหมดแล้ว สงสมองไปหมดละ จะเอาคุณภาพมาจากไหน ถามจริงคิดไม่ออก เอาจริงถ้าเหลือสองสามคนก็ตรวจให้ เที่ยงครึ่งก็ตรวจอยู่ นึกภาพถ้าเหลือ 10 คน ตรวจคน 1-3 คิดว่า คนที่ 4-10 จะไม่พูดอะไรเหรอ ว่า ตรวจผมอีกสักคนหมอแป๊บเดียวเอง ตรวจอย่างนี้ก็บ่ายพอดี คนไข้รอบ่ายมาต่อจ้า

        แล้วนึกภาพอีกทีตรวจเสร็จบ่ายเราเดินออก แต่คนไข้มานั่งรอ ไม่ต้องคิดนะว่าจะได้คำสรรเสริญอะไรอีก ลำพังวันราชการ 5 วัน ก็แทบจะไม่มีวันไหนที่ตรวจเสร็จก่อนเที่ยงแล้วไปกินข้าวกลางวัน กลับมาบ่ายครึ่ง ไม่ต้องถามทำไมไปนาน

       โรงพยาบาลอยู่ไกลค่ะ ไม่ต้องถามทำไมไม่กินข้าวที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลไม่มีโรงอาหาร ไม่ต้องถามทำไมไม่ทำกินเอง ทำแล้วกินไม่ลงค่ะ ไม่อร่อย ทำไมไม่กินข้าวเซเว่นละ พอเหอะกินมาตั้งแต่ปีหนึ่งละ เรียนจบ เงินเดือนก็พอ จะมีกินขอกินดีกว่านี้เหอะ “คือเบื่อ”

       กลับมาบ่ายวันไหนตอนเช้าตรวจหมด ก็ถือว่ากรรมเก่าดี นั่งตรวจบ่ายไปมุ้งมิ้ง วันไหนตัดบ่ายสักสิบเคสก็ตรวจบ่ายกันหน้ามืด เสร็จทันสี่โมงเย็นก็ขอบคุณชีวิตมาก ไม่ทันก็ถึงสี่ครึ่ง ไม่ทันกว่านั้นก็โน่นเลย ตกเวรบ่าย “เวรบ่าย, เวรดึก คือเวรนอกเวลาราชการ”

       เวรบ่าย 16.30 – 24.00 น. เวรดึก 24.01-08.30 น. แล้วใครอยู่เวรบ่ายดึก แพทย์คนไหนที่ต้องอยู่ เลือกเอาค่ะไม่เบอร์ 1 ก็เบอร์ 2 ไม่เบอร์ 2 ก็เบอร์ 1 คนนี้คนเดิม คนเดียวกับที่อยู่ตั้งแต่ 08.30 น.ไง จะใครละ เฉลี่ย 1 เดือนมี 30 วัน แพทย์ปริมาณมากอีก 2 คนถ้วนหารกันได้เลขประถมค่ะ 30 หาร 2 เท่ากับ 15 15 วันต่อเดือนค่ะใสๆ ไร้มลภาวะ ส่วนใหญ่วันธรรมดาก็อยู่กัน 2 วันค่ะ

ตัวอย่างนะ
อยู่เวร จันทร์-อังคาร
เริ่มทำงานวันจันทร์เวลาราชการ 08.30-16.30 น.
อยู่เวรวันจันทร์ต่อ
16.30 น. – 08.30 น.
ต่อด้วยเวลางานวันอังคาร
08.30 น. -16.30 น.
อยู่เวรวันอังคารต่อ
16.30 น. – 08.30 น.
ต่อด้วยทำงานในเวลาวันพุธต่อ
08.30 -16.30 น.       

ทำไม ? คิวโรงพยาบาลรัฐบาลต้องไปรอตั้งแต่ตี 4 ตี 5แหล่งภาพจาก Manager Online

รวมเวลาทำงานนับไม่ถูกค่ะเกินนิ้วนับไม่ไหว อ่ะนับให้ 56 ชั่วโมง 56 ชั่วโมงลงเวรไปนี่ก็มึนหนักละ กรมแรงงานทางไหนไปไม่ถูก ไหนกฎหมายคุ้มครองแพทย์ เห็นมีแต่กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (ไอ้เราก็มองคนไข้เป็นคนไข้ ต้องการให้รักษา เขาอยากลดค่าตัวเองเป็นผู้บริโภคกัน) แต่เดี๋ยวก่อน ชีวิตไม่ได้เศร้าขนาดนั้น คำว่าอยู่เวรไม่ได้หมายความว่า ต้องนั่งถ่างตาอยู่ห้องฉุกเฉินตลอดเวรนะ

        ด้วยความที่แพทย์ไม่พอจริงๆ คุณพยาบาลตามโรงพยาบาลชุมชนก็จะช่วยตรวจเคสทั่วไป เช่น ไข้หวัดทั่วไป ปวดหลัง ปวดเอว หมา-แมวกัด กระเบื้องบาด จักรยานล้ม แต่ถ้ามีเคสไหนที่เกินขอบเขตที่คุณพยาบาลจะทำได้ก็ต้องโทรไปปรึกษาหมอ ถ้าประเมินแล้วไม่เป็นไร สั่งจะสั่งการรักษา คนไหนไม่แน่ใจ แพทย์ก็จะขึ้นไปดู ไปรักษาให้เอง คนไหนหนักต้องไปในเมือง ก็ต้องปรึกษาอาจารย์ในเมืองขอส่งเคส

       เคสไหนพอดูได้เองก็ Admit เข้าไป ใครดูก็แพทย์เวรคนเดิมไง จะใครละ วันไหนเยินทั้งห้องฉุกเฉิน ทั้งผู้ป่วยใน เหมือนข้าส฿กตีหัวเมืองท้ายเมืองเลย แล้วบอกเลยโรงพยาบาลเล็กไม่ใช่ว่าเคสจะง่ายนะ “ยากเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือขาดยา”

       ขาดยานี่เป็นอะไรที่ที่สุดแล้วของที่สุด คือนึกออกไหม เช่น เป็นความดัน หมอให้กินเม็ดสองเม็ด สถานการณ์มันจะคล้ายๆ กัน 2Year PTA (2 ปีก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมาด้วยปวดศีรษะท้ายทอยมากมีความดันโลหิตสูง 180/100 mmHg) ให้ยาแล้วความดันลดลงอาการดีขึ้น แพทย์จ่ายยาให้ผู้ป่วยกลับไปกินประมาณ 2 สัปดาห์นัดตรวจติดตามผลเพื่อตรวจโรคเพิ่มเติม เช่น เบาหวาน ไขมัน ค่าไต

       5 Hr PTA (5 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล) ผู้ป่วยพูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรงซีกหนึ่ง ปากเบี้ยวความดันแรกรับ 220/110 mmHg ซักประวัติ ตรวจร่างกายคนไข้ มีโรคประจำตัวอะไรไหม
คนไข้&ญาติ (ที่ไม่เคยดูแลเลย) : ไม่มีนะคะ โรคประจำตัวอะไร เปิดประวัติประวัติผุ้ป่วยวานไปค่ะ กลับไปที่หน้าเมื่อ 2 ปีก่อนโน้น

        แพทย์: อ้าวนี่ไง เคยเป็นความดันนี่คุณ ไม่ได้รักษาต่อเหรอ แพทย์ไม่ได้นัดมารักษาต่อเนื่องเหรอ หรือคุณไปรักษาที่อื่น หมอไม่เคยบอกคุณเหรอว่าต้องรักษาต่อเนื่อง

       คนไข้ & ญาติ (คนเดิมเพิ่มเติมคือสู้เต็มที่) : ไม่นะ “หมอไม่เคยบอกอะไร ??”
หมอไม่เคยบอกอะไร นี่โคตรเป็นวลีกระชากสติแพทย์ให้หลุดจากร่าง คือการรักษาคนไข้ยิ่งกว่าหัตการก็คือให้คำแนะนำคนไข้นี่แหละ คือ ขอร้องเหอะ อย่าทำร้ายกันด้วยคำพูดนี้ ตอนจบมาใหม่นะไฟแรงให้คำแนะนำคนไข้อย่างเดียวก็จะ 5 นาที ไม่รวมสั่งยา (ตัดกลับไปที่จำนวนคนไข้ตอนแรกค่ะ)

        คืออยากอัดเทปมากอ่ะ คนไข้เป็นความดันโลหิตสูงช่วยกินยาให้ครบหน่อย ควบคุมอาหารหน่อย อะไรเค็มๆ ก็อย่าไปกินนะ กินก๋วยเตี๋ยวก็ไม่ต้องปรุง พอตรวจมาหลายเดือนก็จะรู้ละคำว่าไม่กินเค็มของคนไข้คือ เค็ม เท่ากับน้ำปลาเท่านั้น ปลาดงปลาแดกนี่ไม่นับว่าเค็ม ซอสอย่างอื่นที่ไม่ใช่น้ำปลาไม่จัดว่าเค็ม ก้อุตสาห์ขยายความให้ละเอียด ลองนึกคลินิกความดันคนไข้เฉลี่ย 40 คน พูดหมด คือบางอย่างไม่ต้องไปสังเคราะห์เอาเองบางก็ได้

       เคยเจอคนไข้เบาหวานน้ำตาล 200-300 ตลอด คือคำถามแรกเลย ยายไปกินไรมาเนี้ย น้ำตาลขึ้น คำตอบ Basic คิดว่าทุกโรงพยาบาลต้องเจอ “ไม่ได้กินอะไรเลยหมอ” (ขึ้นประโยคด้วยโอ้ยทุกคำ) เฮ้ย!! ยายเอาจริงไม่กินไรเลยเหรอ เชื่อไหมที่บอกว่าไม่กินอะไรเลยถามมานี่คือกินหมด กินทุกอย่าง บางครั้งสงสัยว่าไม่เคยมีใครบอกเลยเหรอ ก็เลยถามไปว่า “ไม่มีใครสอนอะไรยายเลยเหรอว่าเป็นเบาหวานอะไรกินได้หรือไม่ได้” คำตอบที่ได้กลับมาคือ “ไม่หมอ ไม่เคยมีใครบอกอะไรเลย” คือแบบ WTF??

       กลับมาที่อยู่เวรต่อ คือเวรบ่ายก็พยาบาลสามคน นึกภาพออกไหม กำลังปัีมหัวใจอยู่นะ คือ แบบหมอ 1 พยาบาล 3 ต้องปั๊ม (เหนื่อยมาก) ใส่ท่อ เปิดเส้นที่แฟบๆ ให้ยา ติด Monitor ต่างๆ ต้องคุยกับญาติ ต้องช็อตไฟฟ้า ต้องหาสาเหตุ ประตูห้องฉุกเฉินเปิดเข้ามาแล้วพูดว่า “ข่อยก่อนได้ไหมลูกง่วงแล้ว” เป็นใครไม่อึ้ง คนหนึ่งจะตาย คนหนึ่งง่วงบ้าแล้ว !

        สถานการณ์แบบนี้ถ้าไม่มีขึ้นเสียงก็แปลกละแบบเฮ้ย!! คือมานอกเวลา คือมีคนจะตาย จัดลำดับความสำคัญนิดหนึ่ง พอแพทย์เสียงดังใส่จะเกิดอะไรขึ้น แพทย์จะกลายเป็นคนมีชื่อเสียงในชั่วข้ามคืน “คลิปก็มา กระทู้ก็ด่า” Comment โจมตีมาเพียบ คือ Social นี่เป็นอะไรที่โคตรหลอนประสาทมาก แค่เห็นคนไข้หยิบมือถือก็ใจสั่นละ คือ เฮ้ย ตั้งสติค่ะ พอละเหนื่อย บาย !!!

ขอบคุณข้อมูลจาก  ‘Bew Nualla-Ong’

ที่มา: http://news.mthai.com/social-news/540051.html

แชร์